รู้จัก คุรุ และลฆุ ในบทกวีสันสกฤต

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

บทร้อยกรองภาษาสันสกฤต มีการกำหนดเสียงเอาไว้สองแบบ คือ แบบนับพยางค์ เรียกว่า อักษรฉันท์

และแบบนับจำนวนมาตราเรียกว่า มาตราฉันท์. แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบอักษรหรือแบบมาตรา ก็จะต้องอาศัยคุณสมบัติของพยางค์ คือ

เสียงหนัก เรียกว่าคุรุ (บาลีว่า ครุ) และเสียงเบา เรียกว่า ลฆุ (บาลีว่า ลหุ). [คุรุ ยาวโดยธรรมชาติหรือตำแหน่ง, ครียสฺ ยาวทั้งโดยธรรมชาติและตำแหน่ง]

๑. พยางค์ลฆุ ถ้าสระเสียงสั้น(หฺรสฺว) ตามด้วยพยัญชนะอย่างมากหนึ่งตัว ก่อนที่จะมีสระอื่นตามมา

๒.พยางค์คุรุ ถ้ามีอนุสวาระ (นฺฤคหิต) หรือ วิสรรคะ (วิสรรชนีย)

๓. พยางค์คุรุ ถ้ามีสระเสียงยาว (ทีรฺฆ), หรือสระเสียงสั้นตามด้วยพยัญชนะซ้อน (เรียกว่าเสียงยาวโดยตำแหน่ง)

๔.สระเสียงส้้น ได้แก่ อะ อิ อุ ฤ และ ฦ

๕. สระอื่นเป็นเสียงยาว อา อี อู ฤๅ เอ ไอ โอ เอา.

๖. พยางค์คุรุ ถ้าสระเสียงสั้นตามด้วยพยัญชนะหนึ่งตัวที่ท้ายบท

๗. พยางค์ท้ายบท ไม่ว่าเสียงแบบใด กวีอาจใช้เป็นคุรุหรือลฆุ ก็ได้.

 

การแยกพยางค์

จากนิยามข้างต้น การบอกเสียงหนักเบาจึงไม่ใช่เพียงเสียงสระเท่านั้น แต่ต้องดูพยัญชนะที่ตามมาด้วย และที่สำคัญ ต้องแยกพยางค์ให้ถูกต้อง โดยมีหลักดังนี้

๑. พยางค์หนึ่ง จะต้องมีสระหนึ่งตัว, อาจมีพยัญชนะหนึ่งตัว หรือพยัญชนะหลายตัว, กับสระก็ได้

๒. พยางค์หนึ่ง จะต้องสิ้นสุดด้วยสระ หรือวิสรรคะ หรือ อนุสวาระ, เว้นแต่ท้ายคำ

ตัวอย่าง “เกฺษเตฺรษุ สิกฺตาภิรฺเมฆานามภิรธานฺยํ ปฺรรูฒามฺ” แยกพยางค์ได้ดังนี้

เกฺษ / เตฺร/ ษุ/ สิ/ กฺตา/ ภิ/ รฺเม/ ฆา/ นา/ ม/ ภิ/ ร/ ธา/ นฺยํ/  ปฺร/ รู/ ฒามฺ/

 

สำหรับ “คณะ” หรือลักษณะเสียงของฉันท์นั้นคงต้องไว้เล่าในโอกาสหน้าครับรู้จัก คุรุ และ ลฆุ ในบทกวีสันสกฤต

Loading

Be the first to comment on "รู้จัก คุรุ และลฆุ ในบทกวีสันสกฤต"

Leave a comment