ลำนำมูลฐานทางสายกลาง ปกรณ์ที่ ๑

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

คัมภีร์มูลมัธยมกการิกา 
ลำนำมูลฐานทางสายกลางของนาคารชุน
ปกรณ์ที่ ๑ การวิเคราะห์ปัจจัย(ปรัตยยะ)


ต้นฉบับจากโครงการ DSBC เสียงจากโครงการ Bodhisvara
คำแปลเรียบเรียงจากหลายสำนวน โดยอิงสำนวนจาก ชยธมฺโม ภิกขุ เป็นหลัก
ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์

[คลิก เครืองหมายสามเหลี่ยม ฟังเสียงสาธยาย ภาษาสันสกฤต]

[หากเสียงยังไม่ขึ้น ให้รีเฟรชหน้าอีกครั้ง]

नागार्जुन कृत मध्यमकशास्त्रम् |
प्रत्ययपरीक्षा नाम प्रथमं प्रकरणम् |
นาคารฺชุน กฤต มธฺยมกศาสฺตฺรมฺ ฯ
ปฺรตฺยยปรีกฺษา นาม ปฺรถมํ ปฺรกรณมฺ ฯ
นาคารชุนะ กฤตะ มัธยะมะกะศาสตรัม ฯ
ปรัตยะยะปะรีกษา นามะ ประถะมัม ประกะระณัม ฯ

มัธยมกศาสตร์ของนาคารชุน
ปกรณ์ที่ ๑ การวิเคราะห์ปัจจัย(ปรัตยยะ)

 

ปณามคาถา

अनिरोधम् अनुत्पादम् अनुच्छेदम् अशाश्वतम् |
अनेकार्थम् अनानार्थम् अनागमम् अनिर्गमम् ||१||
यः प्रतीत्यसमुत्पादं प्रपञ्चोपशमं शिवम् |
देशयामास संबुद्धस्तं वन्दे वदतां वरम् ||२||

อนิโรธมฺ อนุตฺปาทมฺ อนุจฺเฉทมฺ อศาศฺวตมฺ ฯ
อเนการฺถมฺ อนานารฺถมฺ อนาคมมฺ อนิรฺคมมฺ ๚๑๚
ยะ ปฺรตีตฺยสมุตฺปาทํ ปฺรปญฺโจปศมํ ศิวมฺ ฯ
เทศยามาส สํพุทฺธสฺตํ วนฺเท วทตํา วรมฺ ๚๒๚

อะนิโรธัม อะนุตปาทัม อะนุจเฉทัม อะศาศวะตัม ฯ
อะเนการถัม อะนานารถัม อะนาคะมัม อะนิรคะมัม ๚๑๚
ยะห์ ประตีตยะสะมุตปาทัม ประปัญโจปะศะมัม ศิวัม ฯ
เทศะยามาสะ สัมพุทธัสตัม วันเท วะทะตาม วะรัม ๚๒๚


1.ธรรมอัน ไม่มีความดับ, ไม่มีความเกิดขึ้น,
ไม่มีความขาดสูญ, ไม่มีความเที่ยงแท้
ไม่มีความหมายเพียงอย่างเดียว ,
ไม่มีความหมายนานาประการ,
ไม่มีการมา, ไม่มีการไป

2.ธรรมอันชื่อว่า ประตีตยสมุตปาท [1] อันประเสริฐ
มี
ธรรมอันสงบปราศจาก ประปัญจธรรม[2]
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสอนธรรมเหล่านี้
ข้าพเจ้าขอน้อบนอมวันทาแด่
พระผู้มีวาทะเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย พระองค์นั้น

 



न स्वतो नापि परतो न द्वाभ्यां नाप्यहेतुतः |

उत्पन्ना जातु विद्यन्ते भावाः क्कचन केचन ||३||
น สฺวโต นาปิ ปรโต น ทฺวาภฺยํา นาปฺยเหตุตะ ฯ
อุตฺปนฺนา ชาตุ วิทฺยนฺเต ภาวาะ กฺกจน เกจน ๚๓๚
นะ สวะโต นาปิ ปะระโต นะ ทวาภยาม นาปยะเหตุตะห์ ฯ
อุตปันนา ชาตุ วิทยันเต ภาวาห์ กกะจะนะ เกจะนะ ๚๓๚

3.ไม่ว่า ณ ที่ไหน ณ เวลาใด ไม่มีสิ่งใดเลย
ที่เกิดขึ้นได้โดยตัวมันเอง หรือเกิดขึ้นจากสิ่งอื่น

หรือเกิดขึ้นจากตัวมันเองและสิ่งอื่นร่วมกันหรือ
เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุ

 

चत्वारः प्रत्यया हेतुश्चालम्बनमनन्तरम् |
तथैवाधिपतेयं च प्रत्ययो नास्ति पञ्चमः ||४||
จตฺวาระ ปฺรตฺยยา เหตุศฺจาลมฺพนมนนฺตรมฺ ฯ
ตไถวาธิปเตยํ จ ปฺรตฺยโย นาสฺติ ปญฺจมะ ๚๔๚
จัตวาระห์ ปรัตยะยา เหตุศจาลัมพะนะมะนันตะรัม ฯ
ตะไถวาธิปะเตยัม จะ ปรัตยะโย นาสติ ปัญจะมะห์ ๚๔๚

4.มีปัจจัย(ปรัตยยะ) เพียงปัจจัย ๔ [3] ที่เกี่ยวข้องใน-
การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งคือ ปัจจัยโดยเป็นเหตุ (เหตุปรัตยยะ) [4]  ,
ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์(อาลัมพนปรัตยยะ) [5] ,
ปัจจัยที่ไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง (อนันตรปรัตยยะ) [6]
และ ปัจจัยที่เป็นใหญ่(อธิปติปรัตยยะ) [7]
มิได้มีปัจจัยที่ ๕ อันใดอีก

 

न हि स्वभावो भावानां प्रत्ययादिषु विद्यते |
अविद्यमाने स्वभावे परभावो न विद्यते ||५||
น หิ สฺวภาโว ภาวานํา ปฺรตฺยยาทิษุ วิทฺยเต ฯ
อวิทฺยมาเน สฺวภาเว ปรภาโว น วิทฺยเต ๚๕๚
นะ หิ สวะภาโว ภาวานาม ปรัตยะยาทิษุ วิทยะเต ฯ
อะวิทยะมาเน สวะภาเว ปะระภาโว นะ วิทยะเต ๚๕๚

5.สิ่งที่มีอยู่ ในปัจจัยทั้งหลาย มิได้มี
สภาวะที่ดำรงอยู่ด้วยตนเองที่แท้จริง(สวภาวะ)[8] 

เมื่อสิ่งนั้น ๆ มิได้มี สภาวะที่ดำรงอยู่ด้วยตนเองที่แท้จริง
มันจึงไม่สามารถมี สภาวะที่ดำรงอยู่ด้วยสิ่งอื่นได้ (ปรภาวะ)

 

क्रिया न प्रत्ययवती नाप्रत्ययवती क्रिया |
प्रत्यया नाक्रियावन्तः क्रियावन्तश्च सन्त्युत ||६||
กฺริยา น ปฺรตฺยยวตี นาปฺรตฺยยวตี กฺริยา ฯ
ปฺรตฺยยา นากฺริยาวนฺตะ กฺริยาวนฺตศฺจ สนฺตฺยุต ๚๖๚
กริยา นะ ปรัตยะยะวะตี นาปรัตยะยะวะตี กริยา ฯ
ปรัตยะยา นากริยาวันตะห์ กริยาวันตัศจะ สันตยุตะ ๚๖๚

6.มันจึง มิได้มี การกระทำแห่งเหตุ(กริยา)[9]  ที่ประกอบด้วย ปัจจัย
มิได้มี การกระทำแห่งเหตุ ที่ไม่ประกอบด้วย ปัจจัย ในทางกลับกัน

มิได้มี ปัจจัย ที่ประกอบด้วย การกระทำแห่งเหตุ
มิได้มี ปัจจัย ที่ไม่ประกอบด้วย การกระทำแห่งเหตุ

 

उत्पद्यते प्रतीत्येमानितीमे प्रत्ययाः किल |
यावन्नोत्पद्यत इमे तावन्नाप्रत्ययाः कथम् ||७||
อุตฺปทฺยเต ปฺรตีตฺเยมานิตีเม ปฺรตฺยยาะ กิล ฯ
ยาวนฺโนตฺปทฺยต อิเม ตาวนฺนาปฺรตฺยยาะ กถมฺ ๚๗๚
อุตปัทยะเต ประตีตเยมานิตีเม ปรัตยะยาห์ กิละ ฯ
ยาวันโนตปัทยะตะ อิเม ตาวันนาปรัตยะยาห์ กะถัม ๚๗๚

7.เพราะการอิงอาศัยสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น จึงเรียกว่า ปัจจัย
ตราบใดที่สิ่งนี้ (ปัจจัย) ยังไม่เกิดขึ้น
ตราบนั้น สิ่งนั้น จะไม่เป็นสิ่งที่ ไม่ใช่ปัจจัย ได้อย่างไร?

 

नैवासतो नैव सतः प्रत्ययोऽर्थस्य युज्यते |
असतः प्रत्ययः कस्य सतश्च प्रत्ययेन किम् ||८||
ไนวาสโต ไนว สตะ ปฺรตฺยโย’รฺถสฺย ยุชฺยเต ฯ
อสตะ ปฺรตฺยยะ กสฺย สตศฺจ ปฺรตฺยเยน กิมฺ ๚๘๚
ไนวาสะโต ไนวะ สะตะห์ ปรัตยะโยรถัสยะ ยุชยะเต ฯ
อะสะตะห์ ปรัตยะยะห์ กัสยะ สะตัศจะ ปรัตยะเยนะ กิม ๚๘๚


8.เป็นไปไม่ได้ที่จะมี ปัจจัยของสิ่งที่มีอยู่และ ปัจจัยของสิ่งที่ไม่มีอยู่
หากสิ่งนั้นไม่มีอยู่ ปัจจัยจะเป็นปัจจัยของอะไร ?
หากสิ่งนั้นมีอยู่แล้ว ปัจจัยจะมีประโยชน์อะไร?

 

न सन्नासन्न सदसन् धर्मो निर्वर्तते यदा |
कथं निर्वर्तको हेतुरेवं सति हि युज्यते ||९||
น สนฺนาสนฺน สทสนฺ ธรฺโม นิรฺวรฺตเต ยทา ฯ
กถํ นิรฺวรฺตโก เหตุเรวํ สติ หิ ยุชฺยเต ๚๙๚
นะ สันนาสันนะ สะทะสัน ธรรโม นิรวรรตะเต ยะทา ฯ
กะถัม นิรวรรตะโก เหตุเรวัม สะติ หิ ยุชยะเต ๚๙๚

9. เมื่อธรรมที่ได้เกิดขึ้น “ไม่ได้มี”  สิ่งที่มีอยู่ สิ่งที่ไม่มีอยู่
และ สิ่งที่เป็นทั้งที่มีอยู่และไม่มีอยู่  

จะกล่าวว่า มีเหตุทําให้ ธรรมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

अनालम्बन एवायं सन् धर्म उपदिश्यते |
अथानालम्बने धर्मे कुत आलम्बनं पुनः ||१०||
อนาลมฺพน เอวายํ สนฺ ธรฺม อุปทิศฺยเต ฯ
อถานาลมฺพเน ธรฺเม กุต อาลมฺพนํ ปุนะ ๚๑๐๚
อะนาลัมพะนะ เอวายัม สัน ธรรมะ อุปะทิศยะเต ฯ
อะถานาลัมพะเน ธรรเม กุตะ อาลัมพะนัม ปุนะห์ ๚๑๐๚

10.ธรรมอันถูกกล่าวว่า มีอยู่จริง แต่มิได้อาศัย-
ปัจจัยอันสนับสนุนการรับรู้ในวัตถุวิสัย(อาลัมพนปรัตยยะ)
และถ้าธรรมนั้น ๆ มีอยู่จริง แต่ปราศจากปัจจัยนี้แล้ว(อาลัมพนปรัตยยะ)
แล้วปัยจัยดังกล่าว(อาลัมพนปรัตยยะ)จะมีมาจากไหน?

 

अनुत्पन्नेषु धर्मेषु निरोधो नोपपद्यते |
नानन्तरमतो युक्तं निरुद्धे प्रत्ययश्च कः ||११||
อนุตฺปนฺเนษุ ธรฺเมษุ นิโรโธ โนปปทฺยเต ฯ
นานนฺตรมโต ยุกฺตํ นิรุทฺเธ ปฺรตฺยยศฺจ กะ ๚๑๑๚
อะนุตปันเนษุ ธรรเมษุ นิโรโธ โนปะปัทยะเต ฯ
นานันตะระมะโต ยุกตัม นิรุทเธ ปรัตยะยัศจะ กะห์ ๚๑๑๚

11. หากธรรมนั้นยังไม่เกิดขึ้น ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการดับไปของธรรม
หากเป็นเช่นนั้น ปัจจัยก่อนหน้าที่ก่อให้เกิดผลต่อมา(อนันตรปรัตยยะ) จะมีได้อย่างไร?
 ถ้าหากธรรมดับไปแล้ว อะไรจะเป็นปัจจัย?

 

भावानां निःस्वभावानां न सत्ता विद्यते यतः |
सतीदमस्मिन् भवतीत्येतन्नैवोपपद्यते ||१२||
ภาวานํา นิะสฺวภาวานํา น สตฺตา วิทฺยเต ยตะ ฯ
สตีทมสฺมินฺ ภวตีตฺเยตนฺไนโวปปทฺยเต ๚๑๒๚
ภาวานาม นิห์สวะภาวานาม นะ สัตตา วิทยะเต ยะตะห์ ฯ
สะตีทะมัสมิน ภะวะตีตเยตันไนโวปะปัทยะเต ๚๑๒๚

12. เมื่อความมีอยู่ของสรรพสิ่งที่ไม่มี
ภาวะอันดำรงอยู่ด้วยตนเอง (สวภาวะ) ย่อมไม่มีอยู่
และหากจะกล่าวว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ” จึงเป็นไปไม่ได้

 

न च व्यस्तसमस्तेषु प्रत्ययेष्वस्ति तत्फलम् |
प्रत्ययेभ्यः कथं तच्च भवेन्न प्रत्ययेषु यत् ||१३||
น จ วฺยสฺตสมสฺเตษุ ปฺรตฺยเยษฺวสฺติ ตตฺผลมฺ ฯ
ปฺรตฺยเยภฺยะ กถํ ตจฺจ ภเวนฺน ปฺรตฺยเยษุ ยตฺ ๚๑๓๚
นะ จะ วยัสตะสะมัสเตษุ ปรัตยะเยษวัสติ ตัตผะลัม ฯ
ปรัตยะเยภยะห์ กะถัม ตัจจะ ภะเวนนะ ปรัตยะเยษุ ยัต ๚๑๓๚

13. ผลนั้นจะไม่มีอยู่ โดยแยกขาดจากปัจจัยอันใดอันหนึ่ง
หรือ ผลนั้นจะไม่มีอยู่ รวมเป็นอย่างเดียวกันกับปัจจัย
สิ่งใดไม่มีอยู่ในปัจจัย สิ่งนั้นมาจากปัจจัยได้อย่างไร?

 

अथासदपि तत्तेभ्यः प्रत्ययेभ्यः प्रवर्तते |
अप्रत्ययेभ्योऽपि कस्मात्फलं नाभिप्रवर्तते ||१४||
อถาสทปิ ตตฺเตภฺยะ ปฺรตฺยเยภฺยะ ปฺรวรฺตเต ฯ
อปฺรตฺยเยภฺโย’ปิ กสฺมาตฺผลํ นาภิปฺรวรฺตเต ๚๑๔๚
อะถาสะทะปิ ตัตเตภยะห์ ปรัตยะเยภยะห์ ประวรรตะเต ฯ
อะปรัตยะเยภโยปิ กัสมาตผะลัม นาภิประวรรตะเต ๚๑๔๚

14. ถ้าหาก ผลที่ไม่มีอยู่ก่อนนั้น เกิดขึ้นมาจากปัจจัย
เช่นนั้นแล้ว ผลจะไม่สามารถเกิดขึ้นโดย ไม่มีปัจจัย (อปรัตยยะ) ได้ฤา ?

 

फलं च प्रत्ययमयं प्रत्ययाश्चास्वयंमयाः |
फलमस्वमयेभ्यो यत्तत्प्रत्ययमयं कथम् ||१५||
ผลํ จ ปฺรตฺยยมยํ ปฺรตฺยยาศฺจาสฺวยํมยาะ ฯ
ผลมสฺวมเยภฺโย ยตฺตตฺปฺรตฺยยมยํ กถมฺ ๚๑๕๚
ผะลัม จะ ปรัตยะยะมะยัม ปรัตยะยาศจาสวะยัมมะยาห์ ฯ
ผะละมัสวะมะเยภโย ยัตตัตปรัตยะยะมะยัม กะถัม ๚๑๕๚

15. ถ้าหาก ผลถูกสร้างขึ้นมาโดยปัจจัย แต่ปัจจัยทั้งหลายไม่ได้สร้างตัวมันเอง
แล้ว ผลใดที่ไม่ได้สร้างตัวมันเองขึ้นมา ผลนั้นจะถูกสร้างขึ้นมาโดยปัจจัยได้อย่างไร?

 

तस्मान्न प्रत्ययमयं नाप्रत्ययमयं फलम् |
संविद्यते फलाभावात्प्रत्ययाप्रत्ययाः कुतः ||१६||
ตสฺมานฺน ปฺรตฺยยมยํ นาปฺรตฺยยมยํ ผลมฺ ฯ
สํวิทฺยเต ผลาภาวาตฺปฺรตฺยยาปฺรตฺยยาะ กุตะ ๚๑๖๚
ตัสมานนะ ปรัตยะยะมะยัม นาปรัตยะยะมะยัม ผะลัม ฯ
สัมวิทยะเต ผะลาภาวาตปรัตยะยาปรัตยะยาห์ กุตะห์ ๚๑๖๚

16. ดังนั้น ผลไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการมีปัจจัย (ปรัตยยะ)
และผลไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการไม่มีปัจจัย (อปรัตยยะ)
ถ้าหากปราศจากผลแล้ว การมีปัจจัย (ปรัตยยะ) และ
การไม่มีปัจจัย (อปรัตยยะ) จะมีอยู่ได้อย่างไร?

 


[1] ปฏิจจสมุปบาท (ปฏิจฺจสมุปฺปาท :บาลี) ,  (ปฺรตีตฺยสมุตฺปาท :สันสกฤต) คือ หลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น

[2] ปปัญจธรรม   (ปปญฺจ : บาลี) , (ปฺรปญฺจ : สันสกฤต) คือ กิเลสที่เป็นตัวการทำให้ จิตปรุงแต่งอย่างสลับซับซ้อน ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริง ทำให้มีความอยากได้ ถือตัว และเห็นผิดอยู่ ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง กิเลสดังกล่าวมี ตัณหา มานะ และทิฏฐิ   เรียกว่า ปปัญจธรรม

[3] ปัจจัย 4 นี้เป็นทรรศนะของฝ่ายมาธยมิกะและฝ่ายโยคาจาร โดยมีความเห็นว่ากล่าวว่า  ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดผลต่าง ๆ หรือ สังขตธรรมต่างๆ นั้นมี 4 ปัจจัยคือ เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อนันตรปัจจัย อธิปติปัจจัย
รูปธรรม บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย เหตุปัจจัยและอธิปติปัจจัย
ส่วนนามธรรม คือจิตและเจตสิก บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ปัจจัยทั้ง 4 อย่าง
ในอภิธรรมนิกายโยคาจาร เรียกสิ่งที่เกิดจากปัจจัย 4 เรียกว่า ปรตันตรสภาวะ ปรัชญามาธยมิกะนั้นถือว่า ปรตันตรสภาวะเป็นเพียงสมมุติสัจจะ หรือ ความจริงโดยสมมติ   และในอภิธรรมนิกายเถรวาทซึ่งจำแนกปัจจัย ได้ถึง  24 ปัจจัย

[4] เหตุปัจจัย(บ.), เหตุปรัตยยะ(ส.) ปัจจัยโดยเป็นเหตุ : ปัจจัยอันเป็นเหตุทำให้เกิดสิ่งอื่นเกิดขึ้นโดยตรง เช่น ไฟไหม้ทำให้เกิดควัน,  เมล็ดทำให้เกิดต้นกล้า, ต้นกล้าเป็นสาเหตุต้นไม้ เป็นต้น ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยของสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

[5] อารัมมณปัจจัย(บ.) ,อาลัมพนปรัตยยะ (ส.) ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ อารมณ์คือสิ่งที่จิตรับรู้ได้   กล่าวคือ ปัจจัยอันสนับสนุนการรับรู้ในวัตถุวิสัย หรือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการรับรู้ในผู้รับรู้ วัตถุ เช่น สีสัน รูปร่างเป็นสิ่งที่กำลังรับรู้ทางตา คือ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เป็นต้น ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยเฉพาะของสิ่งที่เป็นนามธรรม

[6] อนันตรปัจจัย(บ.) ,อนันตรปรัตยยะ (ส.) ปัจจัยที่เป็นของไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง เป็นปัจจัยก่อนหน้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบทันทีและให้ผลทันที่ติดต่อกันเรื่อยไป ได้แก่จิตต์ เจตสิก ย่อมเกิดดับสืบเนื่องเป็นขณะๆ เมื่อขณะหน้าดับขณะหลังเกิดติดต่อกันเรื่อยไปไม่มีระหว่าง ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยเฉพาะของสิ่งที่เป็นนามธรรม

[7] อธิปติปัจจัย(บ.) , อธิปติปรัตยยะ (ส.) ปัจจัยที่เป็นใหญ่ คือปัจจัยที่ส่งเสริมแก่กันและกันให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนสำเร็จ เช่น ต้นกล้าเป็นเหตุปัจจัยแก่ต้นไม้ ส่วนแสงแดด การรดน้ำ พรวนดิน และให้ปุ๋ย เป็นอธิปติปัจจัยแก่ต้นไม้นั้น ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยของสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

[8] สวภาวะ หรือ สวลักษณะ คือ สภาวะหรือลักษณะที่ดำรงอยู่ด้วยตนเอง เช่นสวภาวะในลัทธิพราหมณ์ ได้แก่ พรหมันและอาตมัน ในปรัชญาส่วนนี้ ฝ่ายมาธยมิกะนี้ขัดแย้งกับฝ่ายโยคาจาร อย่างรุนแรง มีการโจมตีกันไปมาว่าเป็นมิจฉาทิฐิในพุทธศาสนาทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายมาธยมิกะ กล่าวว่า โดยสมมติสัจจะ สิ่งทั้งปวงเป็นมายา โดยปรมัตถ์สัจจะสิ่งทั้งปวงเป็นศูนยตา
ฝ่ายโยคาจาร กล่าวว่า สมมติสัจจะ สิ่งทั้งปวงเป็นมายาหมดไม่ได้ เพราะแม้ภาพข้างนอกจะไม่ใช่ของจริง แต่พีชะอันเป็นบ่อเกิดของภาพเหล่านั้น มีสวลักษณะอยู่ โดยปรมัตถสัจจะ ก็ไม่ใช่สูญไปเสียหมด ต้องมีสวลักษณะเหลืออยู่

[9] กริยา คือ การกระทำหรือกิจกรรมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุและสภาวะดังกล่าว

(บ. บาลี , ส.สันสกฤต)

Loading

Be the first to comment on "ลำนำมูลฐานทางสายกลาง ปกรณ์ที่ ๑"

Leave a comment