คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑๐

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

 

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๑๐ ชื่อ ปริณามนา

2014210_33669

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑๐ ชื่อ ปริณามนา

ในปริเฉทที่ ๑๐ ท่านศานติเทวะ กล่าวโดยสรุป หลักการดำเนินชีวิตหรือขั้นตอนการเป็นพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์โพธิจรรยาวตารนั้น ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 4 ขั้นตอนคือ
1. อนุตตรบูชา 2. โพธิจิต 3. การตั้งปณิธาน 4. การบําเพ็ญบารมี

ต้นฉบับจากโครงการ DSBC ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ เสียงจากโครงการ Bodhisvara ในส่วนคำแปลได้รับอนุญาตจากผู้แปลให้เผยแพร่โดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ

[คลิกเพื่อเปิดเสียง]

ปริวรรตเป็นไทยคงรูป

๑๐ ปริณามนาปริจฺเฉโท ทศมะฯ

โพธิจรฺยาวตารํ เม ยทฺวิจินฺตยตะ ศุภมฺฯ

เตน สรฺเว ชนาะ สนฺตุ โพธิจรฺยาวิภูษณาะ๚๑๚

สรฺวาสุ ทิกฺษุ ยาวนฺตะ กายจิตฺตวฺยถาตุราะฯ

เต ปฺราปฺนุวนฺตุ มตฺปุณฺไยะ สุขปฺราโมทฺยสาครานฺ๚๒๚

อาสํสารํ สุขชฺยานิรฺมา ภูตฺเตษํา กทาจนฯ

โพธิสตฺตฺวสุขํ ปฺราปฺตํ ภวตฺววิรตํ ชคตฺ๚๓๚

ยาวนฺโต นรกาะ เกจิทฺวิทฺยนฺเต โลกธาตุษุฯ

สุขาวตีสุขาโมทฺไยรฺโมทนฺตํา เตษุ เทหินะ๚๔๚

ศีตารฺตาะ ปฺราปฺนุวนฺตูษฺณมุษฺณารฺตาะ สนฺตุ ศีตลาะฯ

โพธิสตฺตฺวมหาเมฆสํภไวรฺชลสาคไระ๚๕๚

อสิปตฺรวนํ เตษํา สฺยานฺนนฺทนวนทฺยุติฯ

กูฏศาลฺมลิวฤกฺษาศฺจ ชายนฺตํา กลฺปปาทปาะ๚๖๚

กาทมฺพการณฺฑวจกฺรวาก-

หํสาทิโกลาหลรมฺยโศไภะฯ

สโรภิรุทฺทามสโรชคนฺไธ-

รฺภวนฺตุ หฤทฺยา นรกปฺรเทศาะ๚๗๚

โส’งฺคารราศิรฺมณิราศิรสฺตุ

ตปฺตา จ ภูะ สฺผาฏิกกุฏฺฏิมํ สฺยาตฺฯ

ภวนฺตุ สํฆาตมหีธราศฺจ

ปูชาวิมานาะ สุคตปฺรปูรฺณาะ๚๘๚

องฺคารตปฺโตปลศสฺตฺรวฤษฺฏิ-

รทฺยปฺรภฤตฺยสฺตุ จ ปุษฺปวฤษฺฏิะฯ

ตจฺฉสฺตฺรยุทฺธํ จ ปรสฺปเรณ

กฺรีฑารฺถมทฺยาสฺตุ จ ปุษฺปยุทฺธมฺ๚๙๚

ปติตสกลมําสาะ กุนฺทวรฺณาสฺถิเทหา

ทหนสมชลายํา ไวตรณฺยํา นิมคฺนาะฯ

มม กุศลพเลน ปฺราปฺตทิวฺยาตฺมภาวาะ

สห สุรวนิตาภิะ สนฺตุ มนฺทากินีสฺถาะ๚๑๐๚

ตฺรสฺตาะ ปศฺยนฺตฺวกสฺมาทิห ยมปุรุษาะ กากคฤธฺราศฺจ โฆรา

ธฺวานฺตํ ธฺวสฺตํ สมนฺตาตฺสุขรติชนนี กสฺย เสามฺยา ปฺรเภยมฺฯ

อิตฺยูรฺธฺวํ เปฺรกฺษมาณา คคนตลคตํ วชฺรปาณิํ ชฺวลนฺตํ

ทฤษฺฏฺวา ปฺราโมทฺยเวคาทฺวฺยปคตทุริตา ยานฺตุ เตไนว สารฺธมฺ๚๑๑๚

ปตติ กมลวฤษฺฏิรฺคนฺธปานียมิศฺรา-

จฺฉมิติ (?)นรกวหฺนิํ ทฤศฺยเต นาศยนฺตีฯ

กิมิทมิติ สุเขนาหฺลาทิตานามกสฺมา-

ทฺภวตุ กมลปาเณรฺทรฺศนํ นารกาณามฺ๚๑๒๚

อายาตายาต ศีฆฺรํ ภยมปนยต ภฺราตโร ชีวิตาะ สฺมะ

สํปฺราปฺโต’สฺมากเมษ ชฺวลทภยกระ โก’ปิ จีรีกุมาระฯ

สรฺวํ ยสฺยานุภาวาทฺวฺยสนมปคตํ ปฺรีติเวคาะ ปฺรวฤตฺตาะ

ชาตํ สํโพธิจิตฺตํ สกลชนปริตฺราณมาตา ทยา จ๚๑๓๚

ปศฺยนฺตฺเวนํ ภวนฺตะ สุรศตมุกุไฏรรฺจฺยมานางฺฆฺริปทฺมํ

การูณฺยาทารฺทฺรทฤษฺฏิํ ศิรสิ นิปติตาเนกปุษฺเปาฆวฤษฺฏิมฺฯ

กูฏาคาไรรฺมโนชฺไญะ สฺตุติมุขรสุรสฺตฺรีสหโสฺรปคีไต-

รฺทฤษฺฏฺวาเคฺร มญฺชุโฆษํ ภวตุ กลกละ สําปฺรตํ นารกาณามฺ๚๑๔๚

อิติ มตฺกุศไละ สมนฺตภทฺร-

ปฺรมุขานาวฤตโพธิสตฺตฺวเมฆานฺฯ

สุขศีตสุคนฺธวาตวฤษฺฏี-

นภินนฺทนฺตุ วิโลกฺย นารกาสฺเต๚๑๕๚

ศามฺยนฺตุ เวทนาสฺตีวฺรา นารกาณํา ภยานิ จฯ

ทุรฺคติภฺโย วิมุจฺยนฺตํา สรฺวทุรฺคติวาสินะ๚๑๖๚

อนฺโยนฺยภกฺษณภยํ ติรศฺจามปคจฺฉตุฯ

ภวนฺตุ สุขินะ เปฺรตา ยโถตฺตรกุเรา นราะ๚๑๗๚

สํตรฺปฺยนฺตํา เปฺรตาะ สฺนาปฺยนฺตํา ศีตลา ภวนฺตุ สทาฯ

อารฺยาวโลกิเตศฺวรกรคลิตกฺษีรธาราภิะ๚๑๘๚

อนฺธาะ ปศฺยนฺตุ รูปาณิ ศฤณฺวนฺตุ พธิราะ สทาฯ

ครฺภิณฺยศฺจ ปฺรสูยนฺตํา มายาเทวีว นิรฺวฺยถาะ๚๑๙๚

วสฺตฺรโภชนปานียํ สฺรกฺจนฺทนวิภูษณมฺฯ

มโนภิลษิตํ สรฺวํ ลภนฺตํา หิตสํหิตมฺ๚๒๐๚

ภีตาศฺจ นิรฺภยาะ สนฺตุ โศการฺตาะ ปฺรีติลาภินะฯ

อุทฺวิคฺนาศฺจ นิรุทฺเวคา ธฤติมนฺโต ภวนฺตุ จ๚๒๑๚

อาโรคฺยํ โรคิณามสฺตุ มุจฺยนฺตํา สรฺวพนฺธนาตฺฯ

ทุรฺพลา พลินะ สนฺตุ สฺนิคฺธจิตฺตาะ ปรสฺปรมฺ๚๒๒๚

สรฺวา ทิศะ ศิวาะ สนฺตุ สรฺเวษํา ปถิวรฺตินามฺฯ

เยน การฺเยณ คจฺฉนฺติ ตทุปาเยน สิธฺยตุ๚๒๓๚

เนายานยาตฺรารูฒาศฺจ สนฺตุ สิทฺธมโนรถาะฯ

เกฺษเมณ กูลมาสาทฺย รมนฺตํา สห พนฺธุภิะ๚๒๔๚

กานฺตาโรนฺมารฺคปติตา ลภนฺตํา สารฺถสํคติมฺฯ

อศฺรเมณ จ คจฺฉนฺตุ เจารวฺยาฆฺราทินิรฺภยาะ๚๒๕๚

สุปฺตมตฺตปฺรมตฺตานํา วฺยาธฺยารณฺยาทิสํกเฏฯ

อนาถาพาลวฤทฺธานํา รกฺษํา กุรฺวนฺตุ เทวตาะ๚๒๖๚

สรฺวากฺษณวินิรฺมุกฺตาะ ศฺรทฺธาปฺรชฺญากฤปานฺวิตาะฯ

อาการาจารสํปนฺนาะ สนฺตุ ชาติสฺมราะ สทา๚๒๗๚

ภวนฺตฺวกฺษยโกศาศฺจ ยาวทฺคคนคญฺชวตฺฯ

นิรฺทฺวนฺทฺวา นิรุปายาสาะ สนฺตุ สฺวาธีนวฤตฺตยะ๚๒๘๚

อลฺเปาชสศฺจ เย สตฺตฺวาสฺเต ภวนฺตุ มเหาชสะฯ

ภวนฺตุ รูปสํปนฺนา เย วิรูปาสฺตปสฺวินะ๚๒๙๚

ยาะ กาศฺจน สฺตฺริโย โลเก ปุรุษตฺวํ วฺรชนฺตุ ตาะฯ

ปฺราปฺนุวนฺตูจฺจตํา นีจา หตมานา ภวนฺตุ จ๚๓๐๚

อเนน มม ปุณฺเยน สรฺวสตฺตฺวา อเศษตะฯ

วิรมฺย สรฺวปาเปภฺยะ กุรฺวนฺตุ กุศลํ สทา๚๓๑๚

โพธิจิตฺตาวิรหิตา โพธิจรฺยาปรายณาะฯ

พุทฺไธะ ปริคฤหีตาศฺจ มารกรฺมวิวรฺชิตาะ๚๓๒๚

อปฺรเมยายุษศฺไจว สรฺวสตฺตฺวา ภวนฺตุ เตฯ

นิตฺยํ ชีวนฺตุ สุขิตา มฤตฺยุศพฺโท’ปิ นศฺยตุ๚๓๓๚

รมฺยาะ กลฺปทฺรุโมทฺยาไนรฺทิศะ สรฺวา ภวนฺตุ จฯ

พุทฺธพุทฺธาตฺมชากีรฺณา ธรฺมธฺวนิมโนหไระ๚๓๔๚

ศรฺกราทิวฺยเปตา จ สมา ปาณิตโลปมาฯ

มฤทฺวี จ ไวฑูรฺยมยี ภูมิะ สรฺวตฺร ติษฺฐตุ๚๓๕๚

โพธิสตฺตฺวมหาปรฺษนฺมณฺฑลานิ สมนฺตตะฯ

นิษีทนฺตุ สฺวโศภาภิรฺมณฺฑยนฺตุ มหีตลมฺ๚๓๖๚

ปกฺษิภฺยะ สรฺววฤเกฺษภฺโย รศฺมิภฺโย คคนาทปิฯ

ธรฺมธฺวนิรวิศฺรามํ ศฺรูยตํา สรฺวเทหิภิะ๚๓๗๚

พุทฺธพุทฺธสุไตรฺนิตฺยํ ลภนฺตํา เต สมาคมมฺฯ

ปูชาเมไฆรนนฺไตศฺจ ปูชยนฺตุ ชคทฺคุรุมฺ๚๓๘๚

เทโว วรฺษตุ กาเลน สสฺยสํปตฺติรสฺตุ จฯ

สฺผีโต ภวตุ โลกศฺจ ราชา ภวตุ ธารฺมิกะ๚๓๙๚

ศกฺตา ภวนฺตุ เจาษธฺโย มนฺตฺราะ สิธฺยนฺตุ ชาปินามฺฯ

ภวนฺตุ กรุณาวิษฺฏา ฑากินีรากฺษสาทยะ๚๔๐๚

มา กศฺจิทฺทุะขิตะ สตฺตฺโว มา ปาปี มา จ โรคิตะฯ

มา หีนะ ปริภูโต วา มา ภูตฺกศฺจิจฺจ ทุรฺมนาะ๚๔๑๚

ปาฐสฺวาธฺยายกลิลา วิหาราะ สนฺตุ สุสฺถิตาะฯ

นิตฺยํ สฺยาตฺสํฆสามคฺรี สํฆการฺยํ จ สิธฺยตุ๚๔๒๚

วิเวกลาภินะ สนฺตุะ ศิกฺษากามาศฺจ ภิกฺษวะฯ

กรฺมณฺยจิตฺตา ธฺยายนฺตุ สรฺววิเกฺษปวรฺชิตาะ๚๔๓๚

ลาภินฺยะ สนฺตุ ภิกฺษุณฺยะ กลหายาสวรฺชิตาะฯ

ภวนฺตฺวขณฺฑศีลาศฺจ สรฺเว ปฺรวฺรชิตาสฺตถา๚๔๔๚

ทุะศีลาะ สนฺตุ สํวิคฺนาะ ปาปกฺษยรตาะ สทาฯ

สุคเตรฺลาภินะ สนฺตุ ตตฺร จาขณฺฑิตวฺรตาะ๚๔๕๚

ปณฺฑิตาะ สํสฺกฤตาะ สนฺตุ ลาภินะ ไปณฺฑปาติกาะฯ

ภวนฺตุ ศุทฺธสํตานาะ สรฺวทิกฺขฺยาตกีรฺตยะ๚๔๖๚

อภุกฺตฺวาปายิกํ ทุะขํ วินา ทุษฺกรจรฺยยาฯ

ทิวฺเยไนเกน กาเยน ชคทฺพุทฺธตฺวมาปฺนุยาตฺ๚๔๗๚

ปูชฺยนฺตํา สรฺวสํพุทฺธาะ สรฺวสตฺตฺไวรเนกธาฯ

อจินฺตฺยเพาทฺธเสาขฺเยน สุขินะ สนฺตุ ภูยสา๚๔๘๚

สิธฺยนฺตุ โพธิสตฺตฺวานํา ชคทรฺถํ มโนรถาะฯ

ยจฺจินฺตยนฺติ เต นาถาสฺตตฺสตฺตฺวานํา สมฤธฺยตุ๚๔๙๚

ปฺรตฺเยกพุทฺธาะ สุขิโน ภวนฺตุ ศฺราวกาสฺตถาฯ

เทวาสุรนไรรฺนิตฺยํ ปูชฺยมานาะ สเคารไวะ๚๕๐๚

ชาติสฺมรตฺวํ ปฺรวฺรชฺยามหํ จ ปฺราปฺนุยํา สทาฯ

ยาวตฺปฺรมุทิตาภูมิํ มญฺชุโฆษปริคฺรหาตฺ๚๕๑๚

เยน เตนาสเนนาหํ ยาปเยยํ พลานฺวิตะฯ

วิเวกวาสสามคฺรีํ ปฺราปฺนุยํา สรฺวชาติษุ๚๕๒๚

ยทา จ ทฺรษฺฏุกามะ สฺยํา ปฺรษฺฏุกามศฺจ กิํจนฯ

ตเมว นาถํ ปศฺเยยํ มญฺชุนาถมวิฆฺนตะ๚๕๓๚

ทศทิคฺวฺโยมปรฺยนฺตสรฺวสตฺตฺวารฺถสาธเนฯ

ยถา จรติ มญฺชุศฺรีะ ไสว จรฺยา ภเวนฺมม๚๕๔๚

อากาศสฺย สฺถิติรฺยาวทฺยาวจฺจ ชคตะ สฺถิติะฯ

ตาวนฺมม สฺถิติรฺภูยาชฺชคทฺทุะขานิ นิฆฺนตะ๚๕๕๚

ยตฺกิํจิชฺชคโต ทุะขํ ตตฺสรฺวํ มยิ ปจฺยตามฺฯ

โพธิสตฺตฺวศุไภะ สรฺไวรฺชคตฺสุขิตมสฺตุ จ๚๕๖๚

ชคทฺทุะไขกไภษชฺยํ สรฺวสํปตฺสุขากรมฺฯ

ลาภสตฺการสหิตํ จิรํ ติษฺฐตุ ศาสนมฺ๚๕๗๚

มญฺชุโฆษํ นมสฺยามิ ยตฺปฺรสาทานฺมติะ ศุเภฯ

กลฺยาณมิตฺรํ วนฺเท’หํ ยตฺปฺรสาทาจฺจ วรฺธเต๚๕๘๚

๚โพธิจรฺยาวตาเร ปริณามนาปริจฺเฉโท ทศมะ๚

๚สมาปฺโต’ยํ โพธิจรฺยาวตาระฯ กฤติราจารฺยศานฺติเทวสฺย๚

ปริวรรตเป็นไทยปรับรูป(สำหรับบุคคลทั่วไป)

๑๐ ปะริณามะนาปะริจเฉโท ทะศะมะห์ฯ

โพธิจรรยาวะตารัม เม ยัทวิจินตะยะตะห์ ศุภัมฯ

เตนะ สรรเว ชะนาห์ สันตุ โพธิจรรยาวิภูษะณาห์๚๑๚

สรรวาสุ ทิกษุ ยาวันตะห์ กายะจิตตะวยะถาตุราห์ฯ

เต ปราปนุวันตุ มัตปุณไยห์ สุขะปราโมทยะสาคะราน๚๒๚

อาสัมสารัม สุขัชยานิรมา ภูตเตษาม กะทาจะนะฯ

โพธิสัตตวะสุขัม ปราปตัม ภะวัตวะวิระตัม ชะคัต๚๓๚

ยาวันโต นะระกาห์ เกจิทวิทยันเต โลกะธาตุษุฯ

สุขาวะตีสุขาโมทไยรโมทันตาม เตษุ เทหินะห์๚๔๚

ศีตารตาห์ ปราปนุวันตูษณะมุษณารตาห์ สันตุ ศีตะลาห์ฯ

โพธิสัตตวะมะหาเมฆะสัมภะไวรชะละสาคะไรห์๚๕๚

อะสิปะตระวะนัม เตษาม สยานนันทะนะวะนัทยุติฯ

กูฏะศาลมะลิวฤกษาศจะ ชายันตาม กัลปะปาทะปาห์๚๖๚

กาทัมพะการัณฑะวะจะกระวากะ-

หัมสาทิโกลาหะละรัมยะโศไภห์ฯ

สะโรภิรุททามะสะโรชะคันไธ-

รภะวันตุ หฤทยา นะระกะประเทศาห์๚๗๚

โสงคาระราศิรมะณิราศิรัสตุ

ตัปตา จะ ภูห์ สผาฏิกะกุฏฏิมัม สยาตฯ

ภะวันตุ สังฆาตะมะหีธะราศจะ

ปูชาวิมานาห์ สุคะตะประปูรณาห์๚๘๚

อังคาระตัปโตปะละศัสตระวฤษฏิ-

รัทยะประภฤตยัสตุ จะ ปุษปะวฤษฏิห์ฯ

ตัจฉัสตระยุทธัม จะ ปะรัสปะเรณะ

กรีฑารถะมัทยาสตุ จะ ปุษปะยุทธัม๚๙๚

ปะติตะสะกะละมามสาห์ กุนทะวรรณาสถิเทหา

ทะหะนะสะมะชะลายาม ไวตะรัณยาม นิมัคนาห์ฯ

มะมะ กุศะละพะเลนะ ปราปตะทิวยาตมะภาวาห์

สะหะ สุระวะนิตาภิห์ สันตุ มันทากินีสถาห์๚๑๐๚

ตรัสตาห์ ปัศยันตวะกัสมาทิหะ ยะมะปุรุษาห์ กากะคฤธราศจะ โฆรา

ธวานตัม ธวัสตัม สะมันตาตสุขะระติชะนะนี กัสยะ เสามยา ประเภยัมฯ

อิตยูรธวัม เปรกษะมาณา คะคะนะตะละคะตัม วะชระปาณิม ชวะลันตัม

ทฤษฏวา ปราโมทยะเวคาทวยะปะคะตะทุริตา ยานตุ เตไนวะ สารธัม๚๑๑๚

ปะตะติ กะมะละวฤษฏิรคันธะปานียะมิศรา-

จฉะมิติ (?)นะระกะวหนิม ทฤศยะเต นาศะยันตีฯ

กิมิทะมิติ สุเขนาหลาทิตานามะกัสมา-

ทภะวะตุ กะมะละปาเณรทรรศะนัม นาระกาณาม๚๑๒๚

อายาตายาตะ ศีฆรัม ภะยะมะปะนะยะตะ ภราตะโร ชีวิตาห์ สมะห์

สัมปราปโตสมากะเมษะ ชวะละทะภะยะกะระห์ โกปิ จีรีกุมาระห์ฯ

สรรวัม ยัสยานุภาวาทวยะสะนะมะปะคะตัม ปรีติเวคาห์ ประวฤตตาห์

ชาตัม สัมโพธิจิตตัม สะกะละชะนะปะริตราณะมาตา ทะยา จะ๚๑๓๚

ปัศยันตเวนัม ภะวันตะห์ สุระศะตะมุกุไฏรรรจยะมานางฆริปัทมัม

การูณยาทารทระทฤษฏิม ศิระสิ นิปะติตาเนกะปุษเปาฆะวฤษฏิมฯ

กูฏาคาไรรมะโนชไญห์ สตุติมุขะระสุรัสตรีสะหะโสรปะคีไต-

รทฤษฏวาเคร มัญชุโฆษัม ภะวะตุ กะละกะละห์ สามประตัม นาระกาณาม๚๑๔๚

อิติ มัตกุศะไลห์ สะมันตะภะทระ-

ประมุขานาวฤตะโพธิสัตตวะเมฆานฯ

สุขะศีตะสุคันธะวาตะวฤษฏี-

นะภินันทันตุ วิโลกยะ นาระกาสเต๚๑๕๚

ศามยันตุ เวทะนาสตีวรา นาระกาณาม ภะยานิ จะฯ

ทุรคะติภโย วิมุจยันตาม สรรวะทุรคะติวาสินะห์๚๑๖๚

อันโยนยะภักษะณะภะยัม ติรัศจามะปะคัจฉะตุฯ

ภะวันตุ สุขินะห์ เปรตา ยะโถตตะระกุเรา นะราห์๚๑๗๚

สันตรรปยันตาม เปรตาห์ สนาปยันตาม ศีตะลา ภะวันตุ สะทาฯ

อารยาวะโลกิเตศวะระกะระคะลิตักษีระธาราภิห์๚๑๘๚

อันธาห์ ปัศยันตุ รูปาณิ ศฤณวันตุ พะธิราห์ สะทาฯ

ครรภิณยัศจะ ประสูยันตาม มายาเทวีวะ นิรวยะถาห์๚๑๙๚

วัสตระโภชะนะปานียัม สรักจันทะนะวิภูษะณัมฯ

มะโนภิละษิตัม สรรวัม ละภันตาม หิตะสัมหิตัม๚๒๐๚

ภีตาศจะ นิรภะยาห์ สันตุ โศการตาห์ ปรีติลาภินะห์ฯ

อุทวิคนาศจะ นิรุทเวคา ธฤติมันโต ภะวันตุ จะ๚๒๑๚

อาโรคยัม โรคิณามัสตุ มุจยันตาม สรรวะพันธะนาตฯ

ทุรพะลา พะลินะห์ สันตุ สนิคธะจิตตาห์ ปะรัสปะรัม๚๒๒๚

สรรวา ทิศะห์ ศิวาห์ สันตุ สรรเวษาม ปะถิวรรตินามฯ

เยนะ การเยณะ คัจฉันติ ตะทุปาเยนะ สิธยะตุ๚๒๓๚

เนายานะยาตรารูฒาศจะ สันตุ สิทธะมะโนระถาห์ฯ

กเษเมณะ กูละมาสาทยะ ระมันตาม สะหะ พันธุภิห์๚๒๔๚

กานตาโรนมารคะปะติตา ละภันตาม สารถะสังคะติมฯ

อะศระเมณะ จะ คัจฉันตุ เจาระวยาฆราทินิรภะยาห์๚๒๕๚

สุปตะมัตตะประมัตตานาม วยาธยารัณยาทิสังกะเฏฯ

อะนาถาพาละวฤทธานาม รักษาม กุรวันตุ เทวะตาห์๚๒๖๚

สรรวากษะณะวินิรมุกตาห์ ศรัทธาปรัชญากฤปานวิตาห์ฯ

อาการาจาระสัมปันนาห์ สันตุ ชาติสมะราห์ สะทา๚๒๗๚

ภะวันตวักษะยะโกศาศจะ ยาวัทคะคะนะคัญชะวัตฯ

นิรทวันทวา นิรุปายาสาห์ สันตุ สวาธีนะวฤตตะยะห์๚๒๘๚

อัลเปาชะสัศจะ เย สัตตวาสเต ภะวันตุ มะเหาชะสะห์ฯ

ภะวันตุ รูปะสัมปันนา เย วิรูปาสตะปัสวินะห์๚๒๙๚

ยาห์ กาศจะนะ สตริโย โลเก ปุรุษัตวัม วระชันตุ ตาห์ฯ

ปราปนุวันตูจจะตาม นีจา หะตะมานา ภะวันตุ จะ๚๓๐๚

อะเนนะ มะมะ ปุณเยนะ สรรวะสัตตวา อะเศษะตะห์ฯ

วิรัมยะ สรรวะปาเปภยะห์ กุรวันตุ กุศะลัม สะทา๚๓๑๚

โพธิจิตตาวิระหิตา โพธิจรรยาปะรายะณาห์ฯ

พุทไธห์ ปะริคฤหีตาศจะ มาระกรรมะวิวรรชิตาห์๚๓๒๚

อะประเมยายุษัศไจวะ สรรวะสัตตวา ภะวันตุ เตฯ

นิตยัม ชีวันตุ สุขิตา มฤตยุศัพโทปิ นัศยะตุ๚๓๓๚

รัมยาห์ กัลปะทรุโมทยาไนรทิศะห์ สรรวา ภะวันตุ จะฯ

พุทธะพุทธาตมะชากีรณา ธรรมัธวะนิมะโนหะไรห์๚๓๔๚

ศรรกะราทิวยะเปตา จะ สะมา ปาณิตะโลปะมาฯ

มฤทวี จะ ไวฑูรยะมะยี ภูมิห์ สรรวะตระ ติษฐะตุ๚๓๕๚

โพธิสัตตวะมะหาปรรษันมัณฑะลานิ สะมันตะตะห์ฯ

นิษีทันตุ สวะโศภาภิรมัณฑะยันตุ มะหีตะลัม๚๓๖๚

ปักษิภยะห์ สรรวะวฤกเษภโย รัศมิภโย คะคะนาทะปิฯ

ธรรมัธวะนิระวิศรามัม ศรูยะตาม สรรวะเทหิภิห์๚๓๗๚

พุทธะพุทธะสุไตรนิตยัม ละภันตาม เต สะมาคะมัมฯ

ปูชาเมไฆระนันไตศจะ ปูชะยันตุ ชะคัทคุรุม๚๓๘๚

เทโว วรรษะตุ กาเลนะ สัสยะสัมปัตติรัสตุ จะฯ

สผีโต ภะวะตุ โลกัศจะ ราชา ภะวะตุ ธารมิกะห์๚๓๙๚

ศักตา ภะวันตุ เจาษัธโย มันตราห์ สิธยันตุ ชาปินามฯ

ภะวันตุ กะรุณาวิษฏา ฑากินีรากษะสาทะยะห์๚๔๐๚

มา กัศจิททุห์ขิตะห์ สัตตโว มา ปาปี มา จะ โรคิตะห์ฯ

มา หีนะห์ ปะริภูโต วา มา ภูตกัศจิจจะ ทุรมะนาห์๚๔๑๚

ปาฐัสวาธยายะกะลิลา วิหาราห์ สันตุ สุสถิตาห์ฯ

นิตยัม สยาตสังฆะสามะครี สังฆะการยัม จะ สิธยะตุ๚๔๒๚

วิเวกะลาภินะห์ สันตุห์ ศิกษากามาศจะ ภิกษะวะห์ฯ

กรรมัณยะจิตตา ธยายันตุ สรรวะวิกเษปะวรรชิตาห์๚๔๓๚

ลาภินยะห์ สันตุ ภิกษุณยะห์ กะละหายาสะวรรชิตาห์ฯ

ภะวันตวะขัณฑะศีลาศจะ สรรเว ประวระชิตาสตะถา๚๔๔๚

ทุห์ศีลาห์ สันตุ สัมวิคนาห์ ปาปักษะยะระตาห์ สะทาฯ

สุคะเตรลาภินะห์ สันตุ ตะตระ จาขัณฑิตะวระตาห์๚๔๕๚

ปัณฑิตาห์ สัมสกฤตาห์ สันตุ ลาภินะห์ ไปณฑะปาติกาห์ฯ

ภะวันตุ ศุทธะสันตานาห์ สรรวะทิกขยาตะกีรตะยะห์๚๔๖๚

อะภุกตวาปายิกัม ทุห์ขัม วินา ทุษกะระจรรยะยาฯ

ทิวเยไนเกนะ กาเยนะ ชะคัทพุทธัตวะมาปนุยาต๚๔๗๚

ปูชยันตาม สรรวะสัมพุทธาห์ สรรวะสัตตไวระเนกะธาฯ

อะจินตยะเพาทธะเสาขเยนะ สุขินะห์ สันตุ ภูยะสา๚๔๘๚

สิธยันตุ โพธิสัตตวานาม ชะคะทรรถัม มะโนระถาห์ฯ

ยัจจินตะยันติ เต นาถาสตัตสัตตวานาม สะมฤธยะตุ๚๔๙๚

ปรัตเยกะพุทธาห์ สุขิโน ภะวันตุ ศราวะกาสตะถาฯ

เทวาสุระนะไรรนิตยัม ปูชยะมานาห์ สะเคาระไวห์๚๕๐๚

ชาติสมะรัตวัม ประวรัชยามะหัม จะ ปราปนุยาม สะทาฯ

ยาวัตประมุทิตาภูมิม มัญชุโฆษะปะริคระหาต๚๕๑๚

เยนะ เตนาสะเนนาหัม ยาปะเยยัม พะลานวิตะห์ฯ

วิเวกะวาสะสามะครีม ปราปนุยาม สรรวะชาติษุ๚๕๒๚

ยะทา จะ ทรัษฏุกามะห์ สยาม ปรัษฏุกามัศจะ กิญจะนะฯ

ตะเมวะ นาถัม ปัศเยยัม มัญชุนาถะมะวิฆนะตะห์๚๕๓๚

ทะศะทิควโยมะปรรยันตะสรรวะสัตตวารถะสาธะเนฯ

ยะถา จะระติ มัญชุศรีห์ ไสวะ จรรยา ภะเวนมะมะ๚๕๔๚

อากาศัสยะ สถิติรยาวัทยาวัจจะ ชะคะตะห์ สถิติห์ฯ

ตาวันมะมะ สถิติรภูยาชชะคัททุห์ขานิ นิฆนะตะห์๚๕๕๚

ยัตกิญจิชชะคะโต ทุห์ขัม ตัตสรรวัม มะยิ ปัจยะตามฯ

โพธิสัตตวะศุไภห์ สรรไวรชะคัตสุขิตะมัสตุ จะ๚๕๖๚

ชะคัททุห์ไขกะไภษัชยัม สรรวะสัมปัตสุขากะรัมฯ

ลาภะสัตการะสะหิตัม จิรัม ติษฐะตุ ศาสะนัม๚๕๗๚

มัญชุโฆษัม นะมัสยามิ ยัตประสาทานมะติห์ ศุเภฯ

กัลยาณะมิตรัม วันเทหัม ยัตประสาทาจจะ วรรธะเต๚๕๘๚

๚โพธิจรรยาวะตาเร ปะริณามะนาปะริจเฉโท ทะศะมะห์๚

๚สะมาปโตยัม โพธิจรรยาวะตาระห์ฯ กฤติราจารยะศานติเทวัสยะ๚

บทแปล โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑๐ ปริณามนา(บทสรุป )

 

  1. บุญกุศลใด ๆ ของข้าพเจ้าย่อมมีจากการคิด(สร้างสรรค์) คัมภีร์โพธิจรรยาวตารนี้ด้วยบุญกุศลนั้น ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงใช้เป็นเครื่องประดับในหลักปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ด้วยเถิด
  2. สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีชีวิตอยู่แล้ว เจ็บปวดทรมานด้วยความทุกข์ยากทั้งทางกายและทางใจ ในทิศทั้งปวง ด้วยบุญกุศลของข้าพเจ้านั้น ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงได้รับซึ่งสาครแห่งความสุขและความปราโมทย์ยินดีด้วยเถิด
  3. ขอการอันตรธานสูญหายไปแห่งความสุข อย่าพึงมีแก่สัตว์เหล่านั้นตลอดสังสารวัฏในทุก ๆ กาลเถิด ขอสัตว์โลกจงได้รับซึ่งความสุขจากพระโพธิสัตว์โดยไม่มีที่สิ้นสุดเถิด
  4. สัตว์นรกทั้งหลายผู้มีชีวิตอยู่บางพวก ซึ่งถูกพบอยู่ในโลกธาตุทั้งหลาย ขอสัตว์นรกผู้มีร่างกายอยู่ในโลกธาตุเหล่านั้น จงยินดีปรีดาด้วยความสุขและความเบิกบานใจในแดนสุขาวดีทั้งหลายเถิด
  5. ขอสัตว์ทั้งหลายผู้เจ็บปวดอยู่ด้วยความหนาว จงได้รับซึ่งความร้อน ผู้เจ็บปวดอยู่ด้วยความร้อนจงมีความหนาวเย็นด้วยสาครแห่งสายฝนทั้งหลาย อันเกิดขึ้นจากมหาเมฆของพระโพธิสัตว์เถิด
  6. ขอป่าไม้อันมีใบประดุจคมมีดของสัตว์เหล่านั้น พึงเป็นป่าอันงดงามดั่งป่านันทนา (1) และขอต้นไม้แห่งความทุกข์ทรมาน (2) พึงเกิดเป็นต้นกัลปพฤกษ์เถิด

(1) เป็นชื่อสวนป่าไม้ของพระอินทร์

(2) กูฏศาลมลิหมายถึง ป่าไม้งิ้ว กล่าวกันว่าครุฑเมื่อจับนาคได้จะบินไปจับกินที่นี่

 

  1. ขอดินแดนแห่งนรกทั้งหลาย จงเป็นสถานที่อันน่าอภิรมย์ชวนเสน่ห์ด้วยสระน้ำทั้งหลายอันน่าเบิกบากใจและงดงามด้วยเสียงร้องแห่งห่านป่าเป็ด นกน้ำและหงส์เป็นต้น และสระอันเต็มไปด้วยกลิ่นของดอกบัวจำนวนมากมาย
  2. ขอกองแห่งถ่านเพลิงนั้นจงเป็นกองแห่งแก้วมณีเถิด ขอภาคพื้นอันเร่าร้อนพึงเป็นแผ่นพื้นอันราบเรียบด้วยแก้วผลึก(อันชุ่มเย็น) เถิด และขอภูเขาแห่งการเข่นฆ่ากัน(ในนรก)จงเป็นวิมานสำหรับการสักกระบูชาเต็มพร้อมไปด้วยพระสุคตเจ้าเถิด
  3. นับจากนี้ไป ขอสายธารแห่งถ่านเพลิง ก้อนหินและศัสตราจงเป็นสายฝนแห่งดอกไม้เถิดและขอสงครามแห่งศัสตรานั้นจงเป็นสงครามแห่งดอกไม้เพื่อประโยชน์แห่งการละเล่น(อันรื่นเริงใน) ในกาลภายหลังเถิด
  4. ด้วยพลังแห่งกุศลของข้าพเจ้าขอสัตว์ทั้งหลายผู้จมลงอยู่ในสายน้ำอันร้อนรุ่มแห่งแม่น้ำในนรก อันมีเนื้อหนังทั้งปวงเสื่อมสลายแล้ว มีร่างกระดูกเป็นสีเหลืองอ่อน จงดำรงอยู่ในแม่น้ำสวรรค์พร้อมด้วยนางเทพธิดาทั้งหลายเถิด
  5. ขอบุรุษแห่งพระยมผู้หวาดกลัวทั้งหลาย ตลอดถึงฝูงกาและอีแร้งตัวดุร้ายทั้งหลายในนรกนี้จงเห็นซึ่งความมืดมิดอันถูกขจัดทำลายไปแล้ว โดยฉับพลันเถิด ขอสัตว์เหล่านี้ผู้พิจารณาอย ู่ในเบื้องบนด้วยคิดว่าแสงสว่างที่ยังความสุขและความเบิกบานใจให้เกิดขึ้นอยู่โดยรอบนี้เป็นความกรุณาของใครเล่า(แต่) เมื่อได้เห็นซึ่งพระวัชรปาณี (1) ผู้บริสุทธิ์สดใสมาจากภาคพื้นแห่งท้องฟ้าแล้ว ได้เป็นผู้มีความทุกข์ถูกขจัดไปแล้ว ด้วยพลังอำนาจแห่งความสุขเบิกบานใจ จงดำเนินไปกับด้วยพระวัชรปาณีนั้นเถิด

(1)  ชื่อของพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งซึ่งทรงสายฟ้า

 

  1. สัตว์ผู้ยังไฟในนรกให้ฉิบหายอยู่(อย่างนี้เพราะ) ได้พิจารณาอยู่(ด้วยความหวัง) ว่าสายฝนแห่งดอกบัวจักตกไปผสมรวมกับด้วยน้ำหอม ดังนี้ขอการเห็นซึ่งพระกมลปาณี (2) จงมีแก่สัตว์นรกทั้งหลาย ผู้สดใสเบิกบานอยู่ด้วยความสุข(โดยสงสัยงงงวยอยู่) ว่านี้คืออะไรโดยเร็วพลันเถิด

(2)  ชื่อของพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง

 

  1. พวกท่านทั้งหลายจงมาๆ โดยเร็วเถิด พวกท่านจงกำจัดซึ่งความกลัวเสียเถิด ขอมิตรสหายทั้งหลายจงเป็นอยู่(ด้วยดี) เถิด พระโพธิสัตว์องค์ใดผู้ทรงมีความประพฤติอ่อนโยน ทรงกระทำภัยอันเร่าร้อน(ให้สงบแล้ว) พระโพธิสัตว์องค์นั้นได้ปรากฏแล้วแก่เราทั้งหลาย กิเลสทั้งปวงได้อันตรธานไปแล้วด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์องค์ใดพลังแห่งความสุขชื่นบาน(ถูกอานุภาพของพระโพธิสัตว์องค์นั้น) ทำให้เกิดขึ้นแล้วโพธิจิตอันสมบูรณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว และความเมตตากรุณาก็ได้เป็น(ใหญ่ประดุจ) มารดาแห่งเครื่องป่องกันแก่สัตว์ทั้งปวง
  2. ในปัจจุบัน ขอสัตว์ทั้งหลายจงเห็นซึ่งพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทรงมีดอกบัวบนพระบาท อันมงกุฎแห่งเทวดาร้อยองค์ส่องประกายแวววาวอยู่มีพระเนตรอันชุ่มฉ่ำไปด้วยความกรุณามีสายธารแห่งห้วงน้ำคือดอกไม้จำนวนมากตกลงแล้วบนพระเศียร จากวิมานในอากาศอันน่าเพลิดเพลินใจ(พร้อมกับ) มีเสียงเพลงขับอันนางเทพธิดาจำนวนพันองค์เปล่งเสียงสรรเสริญด้วยคำสดุดีในบัดนี้เพราะได้เห็นซึ่งพระมัญชุโฆษโพธิสัตว์ก่อนกว่า(สัตว์อื่น ๆ) ขอการร้องเรียก(ด้วยความยินดี) จงมีแด่สัตว์นรกทั้งหลายเถิด
  3. เพราะฉะนั้น ด้วยกุศลทั้งหลายของข้าพเจ้าเมื่อได้เห็นซึ่งเมฆคือพระโพธิสัตว์ทั้งหลายโดยไม่ถูกขัดขวางจากพระสมันตภัทรผู้เป็นใหญ่แล้ว ขอสัตว์นรกทั้งหลายเหล่านั้นจงยินดีเพลิดเพลินด้วยสายฝนแห่งความสุข ความเย็นฉ่ำและด้วยสายฝนอันมีกลิ่นหอมเถิด
  4. ขอให้สัตว์เหล่านั้นจงสงบระงับซึ่งเวทนาอันรุนแรง และซึ่งความกลัวจากนรกทั้งหลายขอให้สัตว์ผ ู้อาศัยอยู่ในทุคติทั้งปวงจงหลุดพ้นจากทุคติทั้งหลายเถิด
  5. ขอให้ภัยจากการเป็นอาหารของกันและกัน จงสูญสิ้นไปจากสัตว์ทั้งหลาย ขอเปรตทั้งหลายจงมีความสุข เหมือนหมู่ชนในอุตตรกุรุทวีป (1) ฉะนั้น

 (1)  อุตตรกุรุทวีป เป็นหนึ่งในบรรดาทวีปทั้ง 4 อยู่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป

 

  1. ขอให้เปรตทั้งหลายจงร่าเริงสดใส จงอาบชำระ(ร่างกาย ) และจงเป็นผู้ฉ่ำเย็นด้วยสายธารแห่งน้ำนมทั้งหลายอันไหลรินมาจากพระหัตถ์ของพระอวโลกิเตศวรผู้ประเสริฐ ในกาลทุกเมื่อเถิด
  2. ขอให้คนตาบอดทั้งหลายจงเห็นซึ่งรูปทั้งหลาย ขอให้คนหูหนวกทั้งหลายจงได้ยินเสียงในกาลทุกเมื่อ และขอให้หญิงมีครรภ์ทั้งหลาย ผู้ไร้ซึ่งความเจ็บปวด จงคลอดบุตรเหมือนพระนางเจ้ามายาเทวีประสูติอยู่ฉะนั้น เถิด
  3. ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงได้รับซึ่งเสื้อผ้าอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องประดับอันสำเร็จจากไม้จันทน์หอมทั้งปวง อันเป็นที่ปรารถนาแห่งใจและประกอบไปด้วยประโยชน์เกื้อกูลเถิด
  4. ขอให้สัตว์ทั้งหลายผู้มีความกลัว จงปราศจากความหวาดกลัว ผู้เจ็บปวดด้วยความโศกเศร้าจงได้รับซึ่งความสุขเบิกบานใจ และขอให้สัตว์ทั้งหลายผู้มีความทุกข์ทรมาน จงเป็นผู้สงบสุขและมีจิตใจตั้งมั่งเถิด
  5. ขอความเป็นผู้ไม่มีโรค จงหลุดพ้นจากการพันธนาการแห่งโรคทั้งปวงของสัตว์ผู้เจ็บป่วยทั้งหลายเถิด ขอให้ผู้ทุพพลภาพทั้งหลายจงมีพลานามัยแข็งแรง ขอให้จิตใจอันประกอบด้วยเมตตากรุณาจงมีแก่กันและกันเถิด
  6. ขอให้ทิศทั้งปวงจงเป็นสถานที่งดงามแด่นักเดินทางตามถนนทั้งหลายทั้งปวงเถิด บุคคลย่อมดำเนินไปอยู่โดยจุดมุ่งหมายใด ขอจุดมุ่งหมายนั้นจงสำเร็จผลด้วยอุบายวิธีอันเหมาะสมเถิด
  7. ขอให้นักเดินทางโดยทางเรือทั้งหลายจงเป็นผู้บรรลุผลสำเร็จตามความปรารถนาแห่งใจเมื่อได้บรรลุถึงฝั งด้วยความอดทนแล้ว ขอให้พวกเขาจงปลื้มยินดีกับด้วยมิตรสหายทั้งหลายเถิด
  8. ขอให้บุคคลผู้เดินตกไปสู่การหลงทางอันกันดารทั้งหลาย จงได้ร่วมทางกับนักเดินทางเถิดและขอให้พวกเขาจงเดินทางไปโดยไม่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไม่มีภัยจากอันตรายแห่งหมู่โจรและเสือ เป็นต้น
  9. ขอให้หมู่เทวดาจงกระทำการคุ้มครองซึ่งคนหลับ คนบ้าและคนประมาททั้งหลาย(ผู้ตั้งอยู่) ในความทุกข์ยากจากป่าอันเจ็บปวดทรมานเป็นต้น(และจงคุ้มครอง) คนไร้ที่พึ่ง เด็กและคนชราทั้งหลายด้วยเถิด
  10. ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงหลุดพ้นจากโอกาสอันไม่เหมาะสมทั้งปวง จงเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธาปัญญาและเมตตากรุณาถึงพร้อมด้วยกิริยามารยาทอันงดงาม และเป็นผู้ระลึกถึงชาติ(ก่อน ๆ ได้) ในกาลทุกเมื่อเถิด
  11. ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติไม่เสื่อมหาย เหมือนสมบัติในท้องฟ้าขอให้พวกเขาจงไร้ซึ่งอุปสรรคขัดขวาง(จากความหนาวร้อนเป็นต้น) เว้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย และจงเป็นผู้เจริญอยู่ในความเชื่อมั่นในตนเองเถิด
  12. สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดเป็นผู้มีพละกำลังน้อย ขอให้สัตว์เหล่านั้นจงมีพละกำลังมากเถิดสัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีรูปร่างอัปลักษณ์น่าเวทนาขอให้สัตว์เหล่านั้นจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยรูปอันงดงามเถิด
  13. สตรีเหล่าหนึ่งเหล่าใดมีอยู่ในโลก ขอสตรีเหล่านั้นจงบรรลุถึงซึ่งความเป็นบุรุษเถิดขอชนผู้ต่ำต้อยทั้งหลายจงได้รับซึ่งความสูงศักดิ์และจงเป็นผู้กำจัดซึ่งความถือตัวเสียเถิด
  14. ด้วยบุญของข้าพเจ้านี้เมื่อได้ระงับจากบาปกรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือแล้วขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงบำเพ็ญซึ่งกุศลในกาลทุกเมื่อเถิด
  15. ขอให้สัตว์เหล่านั้นจงอย่าเป็นผู้ละเว้นจากโพธิจิต จงเป็นผู้มีใจมุ่งมั่นเพื่อประพฤติซึ่งการตรัสรู้จงเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงห้อมล้อมอยู่โดยรอบ และจงเป็นผู้เว้นขาดจากการกระทำของหมู่มารเถิด
  16. ขอให้สัตว์เหล่านั้นทั้งปวงจงเป็นผู้มีอายุยืนยาวนับประมาณมิได้จงเป็นผู้มีความสุขดำรงอยู่ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้คำว่าความตาย ก็จงฉิบหายเสียเถิด
  17. ขอให้ทิศทั้งปวงจงเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ด้วยสวนแห่งต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย และจงเป็นสถานที่แพร่กระจายอยู่ด้วยพระพุทธเจ้าและพุทธบุตรทั้งหลาย(และ) ด้วยความตราตรึกใจในเสียงแห่งพระธรรมทั้งหลายเถิด
  18. ขอให้ภาคพื้นทั้งหลายในที่ทั้งปวง จงตั้งมั่นเป็นสถานที่ราบเรียบ ปราศจากก้อนกรวดเป็นต้น อุปมาเหมือนพื้นแห่งฝ่ามือ ฉะนั้น และจงเป็นสถานที่เต็มไปด้วยช่อองุ่นและแก้วไพฑูรย์เถิด
  19. ขอให้มณฑลแห่งการชุมนุมอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จงประทับอยู่ในที่โดยรอบ ขอให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้นจงประดับตกแต่งซึ่งพื้นแห่งแผ่นดิน ด้วยความงดงามทั้งหลายของตนเถิด
  20. ขอให้เสียงแห่งพระธรรมจงถูกมนุษย์ทั้งปวงได้รับฟังโดยไม่ขาดสาย จากฝูงนกจากต้นไม้ทั้งปวง จากรัศมีทั้งหลายและแม้จากท้องฟ้าด้วยเถิด
  21. ขอให้พวกเขาเหล่านั้นจงได้ซึ่งการสมาคมกับด้วยพระพุทธเจ้าและเหล่าพุทธบุตรทั้งหลายตลอดกาลเนืองนิตย์และขอให้พวกเขาพึงบูชาซึ่งครูของโลก ด้วยหมู่เมฆแห่งเครื่องบูชาทั้งหลาย อันหาที่สิ้นสุดมิได้เถิด
  22. ขอให้เทวดาจงยังฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ขอให้ความอุดมสมบูรณ์แห่งข้าวกล้าจงมีเถิดขอให้ชาวโลกจงมีความมั่งคั่งรุ่งเรือง และขอให้พระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรมด้วยเถิด
  23. และขอให้ยาสมุนไพรทั้งหลาย จงเป็นยามีคุณภาพสูง ขอให้มนุษย์ทั้งหลายจงสำเร็จผลแก่ผู้สวดสาธยายอยู่ขอให้นางยักษิณีและรากษสเป็นต้นจงเป็นผู้ประพฤติมั่นอยู่ในความกรุณาเถิด
  24. ขอให้สัตว์ทุกหมู่เหล่าจงอย่ามีความทุกข์อย่ามีบาปกรรม อย่ามีโรคภัยไข้เจ็บ อย่าถูกทอดทิ้งหรืออย่าถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม และขอให้สัตว์ทั้งปวงจงอย่าเป็นผู้มีจิตใจเศร้าหมองเถิด
  25. ขอให้วิหารทั้งหลาย จงเป็นสถานที่ตั้งมั่นแล้วด้วยดีเต็มไปด้วยการท่องบ่นและการศึกษาเล่าเรียนอย่างดีขอความพร้อมเพียงกันแห่งหมู่สงฆ์พึงมีอยู่ตลอดกาลเนืองนิตย์และขอการงานแห่งหมู่สงฆ์จงสำเร็จผลเถิด
  26. ขอให้พระภิกษุทั้งหลายจงเป็นผู้บรรลุถึงความวิเวก และเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาขอให้ท่านเหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้เว้นขาดจากความฟุ่งซ่านทั้งปวง จงเพ่งพิจารณาซึ่งจิตด้วยความคล่องแคล่วชำนาญเถิด
  27. ขอให้ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีลาภ เว้นขาดจากการทะเลาะวิวาทและความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเป็นผู้มีศีลไม่ด่างพร้อย และขอให้บรรพชิตทั้งปวงจงเป็นเช่นเดียวกันนี้
  28. ขอให้คนทุศีลทั้งหลายซึ่งมีความฟุ่งซ่านรำคาญใจ จงเป็นผู้มีใจจดจ่อยู่ในการทำบาปให้หมดสิ้น ในกาลทุกเมื่อเถิด และขอให้พวกเขาจงได้ประสบกับสุคติภพ จงเป็นผู้มีคำอธิษฐานไม่เสื่อมคลายไปในสุคติภพนั้นด้วยเถิด
  29. ขอให้บัณฑิตทั้งหลายจงเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด(จากกิเลสทั้งหลาย) สมบูรณ์ไปด้วยลาภดำรงชีพอยู่ด้วยบิณฑบาต ขอให้ท่านเหล่านั้นจงเป็นผู้มีเชื้อสายอันบริสุทธิ์มีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่รับรู้ไปในทิศทั้งปวงเถิด
  30. ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงอย่าพอใจเสวยซึ่งความทุกข์อันมีอยู่ในอบายภูมิจงเป็นผู้เว้นเสียจากการปฏิบัติที่กระทำได้โดยยาก ขอให้สัตว์โลกพึงได้รับซึ่งพุทธภาวะ ด้วยกายทิพย์อย่างหนึ่งเถิด
  31. ขอให้พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง พึงถูกบูชาอยู่ด้วยสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ จงเป็นผู้มีความสุขมากยิ่งกว่าความสุขของพระพุทธเจ้าอันใคร ๆ ไม่ควรคิดเถิด
  32. ขอความปรารถนาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายจงสำเร็จผลเพื่อประโยชน์ของสัตว์โลกเถิดพระผู้ทรงเป็นที่พึ่งเหล่านั้นคิดอยู่ซึ่งสิ่งใด ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จผลแด่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเถิด
  33. ขอให้พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความสุขเช่นนั้นเถิด ขอให้ท่านเหล่านั้นพึงถูกเทวดาอสูรและมนุษย์ทั้งหลายบูชาอยู่ด้วยความเคารพนับถือตลอดกาลเป็นนิตย์เถิด
  34. ขอให้ข้าพเจ้าจงบรรลุถึงซึ่งการระลึกชาติได้และขอให้ข้าพเจ้าจงได้รับซึ่งประมุทิตาภูมิ (1) โดยความอนุเคราะห์ของพระมัญชุโฆษโพธิสัตว์ในกาลทุกเมื่อเถิด

1 ชื่อภูมิ 1 ใน10 ภูมิตามคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ถือว่าเมื่อพระโพธิสัตว์บรรลุถึงทศภูมินี้แล้ว ย่อมไม่ทำอกุศลกรรมเลย ประมุทิตาภูมิเป็นภูมิที่ 1 พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักไปในทานบารมีเพื่อยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม มีความยินดีในความปราศจากทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย

 

  1. ขอให้ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มีพลานามัยสมบูรณ์ยังชีวิตให้เป็นไปได้โดยฐานะใดฐานะหนึ่งขอข้าพเจ้าพึงได้รับซึ่งความสามัคคีในที่อยู่อันสงบเงียบด้วยเถิด
  2. เมื่อใด ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้ใคร่เพื่อจะเห็น และใคร่เพื่อจะถามซึ่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อนั้นขอให้ข้าพเจ้าพึงเห็นซึ่งพระมัญชุนาถเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่งนั่นแล โดยไม่มีอุปสรรคขัดขวางเถิด
  3. พระมัญชุศรีย่อมท่องเที่ยวไปเพื่อให้สำเร็จประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง อันไม่มีที่สิ้นสุด ในท้องฟ้าทั่วทั้ง10 ทิศ โดยประการใด ขอให้การประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นนั่นแลพึงมีแก่ข้าพเจ้าโดยประการนั้นด้วยเถิด
  4. การดำรงมั่นอยู่แห่งอากาศ มีอยู่ตราบใด และการดำรงมั่นอยู่ยังมีอยู่ตราบใด ขอให้การดำรงมั่นอยู่ของข้าพเจ้าพึงเป็นสิ่งทำลายซึ่งความทุกข์ในโลกทั้งหลาย(มีอยู่)ตราบนั้นเถิด
  5. ความทุกข์ใด ๆ มีอยู่แก่โลก ขอให้ความทุกข์ทั้งปวงนั้นพึงเผาไหม้ในข้าพเจ้าเถิดและขอให้สัตว์โลกจงเป็นผู้มีความสุข ด้วยคุณความดีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเถิด
  6. ขอให้คำสอน(ของพระพุทธเจ้า) อันเป็นเภสัชขนานเอกแห่งความทุกข์ในโลก เป็นบ่อเกิดแห่งความเจริญและความสุขทั้งปวง ประกอบไปด้วยลาภและการเคารพบูชาจงดำรงมั่นอยู่ตลอดกาลนานเถิด
  7. ความรู้แจ้งในคุณงามความดีมีอยู่ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสใด ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการซึ่งพระมัญชุโฆษ ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสอันนั้น และ(ความรู้ของข้าพเจ้า) ย่อมเจริญขึ้นด้วยความศรัทธาเลื่อมใสใด ข้าพเจ้าจักสักการบูชาซึ่งกัลยามิตรด้วยความศรัทธาเลื่อมใสอันนั้น

อ้างอิง (Reference)

Audio Source: 
http://www.bodhisvara.com/

Text Source: 

http://www.dsbcproject.org/node/4816

Text Version: 

Devanāgarī

Input Personnel: 

DSBC Staff

Input Date: 

2005

Proof Reader: 

Miroj Shakya

Supplier: 

Nagarjuna Institute of Exact Methods

Sponsor: 

University of the West

อ้างอิง

1. Digital Sanskrit Buddhist Canon, 2013, Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.dsbcproject.org[2016, May 26].

2. BODHISVARA, 2013, Śāntideva’s Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.bodhisvara.com/[2016, May 26].

3.พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ, 2549, การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร , วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า ภาคผนวก ข คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร ฉบับแปล

อ่านเอกสารตัวเต็มจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/PhramahaVichan_Kamnerdklab/Fulltext.pdf

เพื่อการศึกษาภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
แสดงที่มาข้อมูลที่มาของแหล่งเอกสาร-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0  (CC BY-NC-ND 4.0)

Loading

Be the first to comment on "คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑๐"

Leave a comment