คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๕

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๕  การรักษาซึ่งสัมปชัญญะ 

Shantideva

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๕ การรักษาซึ่งสัมปชัญญะ

ในปริเฉทที่ ๕ ท่านศานติเทวะอธิบายถึงการรักษาซึ่งสติสัมปชัญญะ
การปฏิบัติตนตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ หากมิอาจรักษาจิตให้มีสติสัมปชัญญะรู้ตัวได้แล้ว ย่อมไม่อาจรักษาโพธิจิตได้ และตกอยู่ในความประมาท ก็ย่อมเป็นการง่ายที่จะก่ออกุศล และก้าวเดินไปหนทางที่ผิด

ต้นฉบับจากโครงการ DSBC เสียงจากโครงการ Bodhisvara
แปลโดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์

[คลิกเพื่อเปิดเสียง]

 

ปริวรรตเป็นไทยคงรูป
ศานฺติเทววิรจิตะ โพธิจรฺยาวตาระฯ
สํปฺรชนฺยรกฺษณํ นาม ปญฺจมะ ปริจฺเฉทะฯศิกฺษํา รกฺษิตุกาเมน จิตฺตํ รกฺษฺยํ ปฺรยตฺนตะฯ
น ศิกฺษา รกฺษิตุํ ศกฺยา จลํ จิตฺตมรกฺษตา๚๑๚
อทานฺตา มตฺตมาตงฺคา น กุรฺวนฺตีห ตํา วฺยถามฺฯกโรติ ยามวีจฺยาเทา มุกฺตศฺจิตฺตมตงฺคชะ๚๒๚

พทฺธศฺเจจฺจิตฺตมาตงฺคะ สฺมฤติรชฺชฺวา สมนฺตตะฯ

ภยมสฺตํคตํ สรฺวํ กฤตฺสฺนํ กลฺยาณมาคตมฺ๚๓๚

วฺยาฆฺราะ สิํหา คชา ฤกฺษาะ สรฺปาะ สรฺเว จ ศตฺรวะฯ

สรฺเว นรกปาลาศฺจ ฑากินฺโย รากฺษสาสฺตถา๚๔๚

สรฺเว พทฺธา ภวนฺตฺเยเต จิตฺตสฺไยกสฺย พนฺธนาตฺฯ

จิตฺตสฺไยกสฺย ทมนาตฺ สรฺเว ทานฺตา ภวนฺติ จ๚๕๚

ยสฺมาทฺภยานิ สรฺวาณิ ทุะขานฺยปฺรมิตานิ จฯ

จิตฺตาเทว ภวนฺตีติ กถิตํ ตตฺตฺววาทินา๚๖๚

ศสฺตฺราณิ เกน นรเก ฆฏิตานิ ปฺรยตฺนตะฯ

ตปฺตายะกุฏฺฏิมํ เกน กุโต ชาตาศฺจ ตาะ สฺตฺริยะ๚๗๚

ปาปจิตฺตสมุทฺภูตํ ตตฺตตฺสรฺวํ ชเคา มุนิะฯ

ตสฺมานฺน กศฺจิตฺ ไตฺโรลกฺเย จิตฺตาทนฺโย ภยานกะ๚๘๚

อทริทฺรํ ชคตฺกฤตฺวา ทานปารมิตา ยทิฯ

ชคทฺทริทฺรมทฺยาปิ สา กถํ ปูรฺวตายินามฺ๚๙๚

ผเลน สห สรฺวสฺวตฺยาคจิตฺตาชฺชเน’ขิเลฯ

ทานปารมิตา โปฺรกฺตา ตสฺมาตฺสา จิตฺตเมว ตุ๚๑๐๚

มตฺสฺยาทยะ กฺว นียนฺตํา มารเยยํ ยโต น ตานฺฯ

ลพฺเธ วิรติจิตฺเต ตุ ศีลปารมิตา มตา๚๑๑๚

กิยโต มารยิษฺยามิ ทุรฺชนานฺ คคโนปมานฺฯ

มาริเต โกฺรธจิตฺเต ตุ มาริตาะ สรฺวศตฺรวะ๚๑๒๚

ภูมิํ ฉาทยิตุํ สรฺวํา กุตศฺจรฺม ภวิษฺยติฯ

อุปานจฺจรฺมมาเตฺรณ ฉนฺนา ภวติ เมทินี๚๑๓๚

พาหฺยา ภาวา มยา ตทฺวจฺฉกฺยา วารยิตุํ น หิฯ

สฺวจิตฺตํ วารยิษฺยามิ กิํ มมานฺไยรฺนิวาริไตะ๚๑๔๚

สหาปิ วากฺศรีราภฺยํา มนฺทวฤตฺเตรฺน ตตฺผลมฺฯ

ยตฺปโฏเรกกสฺยาปิ จิตฺตสฺย พฺรหฺมตาทิกมฺ๚๑๕๚

ชปาสฺตปําสิ สรฺวาณิ ทีรฺฆกาลกฤตานฺยปิฯ

อนฺยจิตฺเตน มนฺเทน วฤไถเวตฺยาห สรฺววิตฺ๚๑๖๚

ทุะขํ หนฺตุํ สุขํ ปฺราปฺตุํ เต ภฺรมนฺติ มุธามฺพเรฯ

ไยเรตทฺธรฺมสรฺวสฺวํ จิตฺตํ คุหฺยํ น ภาวิตมฺ๚๑๗๚

ตสฺมาตฺสฺวธิษฺฐิตํ จิตฺตํ มยา การฺยํ สุรกฺษิตมฺฯ

จิตฺตรกฺษาวฺรตํ มุกฺตฺตฺวา พหุภิะ กิํ มม วฺรไตะ๚๑๘๚

ยถา จปลมธฺยสฺโถ รกฺษติ วฺรณมาทราตฺฯ

เอวํ ทุรฺชนมธฺยสฺโถ รเกฺษจฺจิตฺตวฺรณํ สทา๚๑๙๚

วฺรณทุะขลวาทฺภีโต รกฺษามิ วฺรณมาทราตฺฯ

สํฆาตปรฺวตาฆาตาทฺภีตศฺจิตฺตวฺรณํ น กิมฺ๚๒๐๚

อเนน หิ วิหาเรณ วิหรนฺ ทุรฺชเนษฺวปิฯ

ปฺรมทาชนมธฺเย’ปิ ยติรฺธีโร น ขณฺฑฺยเต๚๒๑๚

ลาภา นศฺยนฺตุ เม กามํ สตฺการะ กายชีวิตมฺฯ

นศฺยตฺวนฺยจฺจ กุศลํ มา ตุ จิตฺตํ กทาจน๚๒๒๚

จิตฺตํ รกฺษิตุกามานํา มไยษ กฺริยเต’ญฺชลิะฯ

สฺมฤติํ จ สํปฺรชนฺยํ จ สรฺวยตฺเนน รกฺษต๚๒๓๚

วฺยาธฺยากุโล นโร ยทฺวนฺน กฺษมะ สรฺวกรฺมสุฯ

ตถาภฺยํา วิกลํ จิตฺตํ น กฺษมํ สรฺวกรฺมสุ๚๒๔๚

อสํปฺรชนฺยจิตฺตสฺย ศฺรุตจินฺติตภาวิตมฺฯ

สจฺฉิทฺรกุมฺภชลวนฺน สฺมฤตาววติษฺฐเต๚๒๕๚

อเนเก ศฺรุตวนฺโต’ปิ ศฺราทฺธา ยตฺนปรา อปิฯ

อสํปฺรชนฺยโทเษณ ภวนฺตฺยาปตฺติกศฺมลาะ๚๒๖๚

อสํปฺรชนฺยเจาเรณ สฺมฤติโมษานุสาริณาฯ

อุปจิตฺยาปิ ปุณฺยานิ มุษิตา ยานฺติ ทุรฺคติมฺ๚๒๗๚

เกฺลศตสฺกรสํโฆ’ยมวตารคเวษกะฯ

ปฺราปฺยาวตารํ มุษฺณาติ หนฺติ สทฺคติชีวิตมฺ๚๒๘๚

ตสฺมาตฺสฺมฤติรฺมโนทฺวารานฺนาปเนยา กทาจนฯ

คตาปิ ปฺรตฺยุปสฺถาปฺยา สํสฺมฤตฺยาปายิกีํ วฺยถามฺ๚๒๙๚

อุปาธฺยายานุศาสนฺยา ภีตฺยาปฺยาทรการิณามฺฯ

ธนฺยานํา คุรุสํวาสาตฺสุกรํ ชายเต สฺมฤติะ๚๓๐๚

พุทฺธาศฺจ โพธิสตฺตฺวาศฺจ สรฺวตฺราวฺยาหเตกฺษณาะฯ

สรฺวเมวาคฺรตสฺเตษํา เตษามสฺมิ ปุระ สฺถิตะ๚๓๑๚

อิติ ธฺยาตฺวา ตถา ติษฺเฐตฺ ตฺรปาทรภยานฺวิตะฯ

พุทฺธานุสฺมฤติรปฺเยวํ ภเวตฺตสฺย มุหุรฺมุหุะ๚๓๒๚

สํปฺรชนฺยํ ตทายาติ น จ ยาตฺยาคตํ ปุนะฯ

สฺมฤติรฺยทา มโนทฺวาเร รกฺษารฺถมวติษฺฐเต๚๓๓๚

ปูรฺวํ ตาวทิทํ จิตฺตํ สโทปสฺถาปฺยมีทฤศมฺฯ

นิรินฺทฺริเยเณว มยา สฺถาตวฺยํ กาษฺฐวตฺสทา๚๓๔๚

นิษฺผลา เนตฺรวิเกฺษปา น กรฺตวฺยาะ กทาจนฯ

นิธฺยายนฺตีว สตตํ การฺยา ทฤษฺฏิรโธคตา๚๓๕๚

ทฤษฺฏิวิศฺรามเหโตสฺตุ ทิศะ ปศฺเยตฺกทาจนฯ

อาภาสมาตฺรํ ทฤษฺฏฺวา จ สฺวาคตารฺถํ วิโลกเยตฺ๚๓๖๚

มารฺคาเทา ภยโพธารฺถํ มุหุะ ปศฺเยจฺจตุรฺทิศมฺฯ

ทิโศ วิศฺรมฺย วีเกฺษต ปราวฤตฺไยว ปฤษฺฐตะ๚๓๗๚

สเรทปสเรทฺวาปิ ปุระ ปศฺจานฺนิรูปฺย จฯ

เอวํ สรฺวาสฺววสฺถาสุ การฺยํ พุทฺธฺวา สมาจเรตฺ๚๓๘๚

กาเยไนวมวสฺเถยมิตฺยากฺษิปฺย กฺริยํา ปุนะฯ

กถํ กายะ สฺถิต อิติ ทฺรษฺฏวฺยํ ปุนรนฺตรา๚๓๙๚

นิรูปฺยะ สรฺวยตฺเนน จิตฺตมตฺตทฺวิปสฺตถาฯ

ธรฺมจินฺตามหาสฺตมฺเภ ยถา พทฺโธ น มุจฺยเต๚๔๐๚

กุตฺร เม วรฺตต อิติ ปฺรตฺยเวกฺษฺยํ ตถา มนะฯ

สมาธานธุรํ ไนว กฺษณมปฺยุตฺสฤเชทฺยถา๚๔๑๚

ภโยตฺสวาทิสํพนฺเธ ยทฺยศกฺโต ยถาสุขมฺฯ

ทานกาเล ตุ ศีลสฺย ยสฺมาทุกฺตมุเปกฺษณมฺ๚๔๒๚

ยทฺ พุทฺธฺวา กรฺตุมารพฺธํ ตโต’นฺยนฺน วิจินฺตเยตฺฯ

ตเทว ตาวนฺนิษฺปาทฺยํ ตทฺคเตนานฺตราตฺมนา๚๔๓๚

เอวํ หิ สุกฤตํ สรฺวมนฺยถา โนภยํ ภเวตฺฯ

อสํปฺรชนฺยเกฺลโศ’ปิ วฤทฺธิํ ไจวํ คมิษฺยติ๚๔๔๚

นานาวิธปฺรลาเปษุ วรฺตมาเนษฺวเนกธาฯ

เกาตูหเลษุ สรฺเวษุ หนฺยาเทาตฺสุกฺยมาคตมฺ๚๔๕๚

มฤนฺมรฺทนตฤณจฺเฉทเรขาทฺยผลมาคตมฺฯ

สฺมฤตฺวา ตาถาคตีํ ศิกฺษํา ภีตสฺตตฺกฺษณมุตฺสฤเชตฺ๚๔๖๚

ยทา จลิตุกามะ สฺยาทฺวกฺตุกาโม’ปิ วา ภเวตฺฯ

สฺวจิตฺตํ ปฺรตฺยเวกฺษฺยาเทา กุรฺยาทฺไธรฺเยณ ยุกฺติมตฺ๚๔๗๚

อนุนีตํ ปฺรติหตํ ยทา ปศฺเยตฺสฺวกํ มนะฯ

น กรฺตวฺยํ น วกฺตวฺยํ สฺถาตวฺยํ กาษฺฐวตฺตทา๚๔๘๚

อุทฺธตํ โสปหาสํ วา ยทา มานมทานฺวิตมฺฯ

โสตฺปฺราสาติศยํ วกฺรํ วญฺจกํ จ มโน ภเวตฺ๚๔๙๚

ยทาตฺโมตฺกรฺษณาภาสํ ปรปํสนเมว วาฯ

สาธิเกฺษปํ สสํรมฺภํ สฺถาตวฺยํ กาษฺฐวตฺตทา๚๕๐๚

ลาภสตฺการกีรฺตฺยรฺถิ ปริวารารฺถิ วา ปุนะฯ

อุปสฺถานารฺเถ เม จิตฺตํ ตสฺมาตฺติษฺฐามิ กาษฺฐวตฺ๚๕๑๚

ปรารฺถรูกฺษํ สฺวารฺถารฺถิ ปริษตฺกามเมว วาฯ

วกฺตุมิจฺฉติ เม จิตฺตํ ตสฺมาตฺติษฺฐามิ กาษฺฐวตฺ๚๕๒๚

อสหิษฺณฺวลสํ ภีตํ ปฺรคลฺภํ มุขรํ ตถาฯ

สฺวปกฺษาภินิวิษฺฏํ จ ตสฺมาตฺติษฺฐามิ กาษฺฐวตฺ๚๕๓๚

เอวํ สํกฺลิษฺฏมาโลกฺย นิษฺผลารมฺภิ วา มนะฯ

นิคฤหฺณียาทฺ ทฤฒํ ศูระ ปฺรติปเกฺษณ ตตฺสทา๚๕๔๚

สุนิศฺจิตํ สุปฺรสนฺนํ ธีรํ สาทรเคารวมฺฯ

สลชฺชํ สภยํ ศานฺตํ ปราราธนตตฺปรมฺ๚๕๕๚

ปรสฺปรวิรุทฺธาภิรฺพาเลจฺฉาภิรเขทิตมฺฯ

เกฺลโศตฺปาทาทิทํ หฺเยตเทษามิติ ทยานฺวิตมฺ๚๕๖๚

อาตฺมสตฺตฺววศํ นิตฺยมนวทฺเยษุ วสฺตุษุฯ

นิรฺมาณมิว นิรฺมานํ ธารยามฺเยษ มานสมฺ๚๕๗๚

จิราตฺปฺราปฺตํ กฺษณวรํ สฺมฤตฺวา สฺมฤตฺวา มุหุรฺมุหุะฯ

ธารยามีทฤศํ จิตฺตมปฺรกมฺปฺยํ สุเมรุวตฺ๚๕๘๚

คฤไธฺรรามิษสํคฤทฺไธะ กฤษฺยมาณ อิตสฺตตะฯ

น กโรตฺยนฺยถา กายะ กสฺมาทตฺร ปฺรติกฺริยามฺ๚๕๙๚

รกฺษสีมํ มนะ กสฺมาทาตฺมีกฤตฺย สมุจฺฉฺรยมฺฯ

ตฺวตฺตศฺเจตฺปฤถเควายํ เตนาตฺร ตว โก วฺยยะ๚๖๐๚

น สฺวีกโรษิ เห มูฒ กาษฺฐปุตฺตลกํ ศุจิมฺฯ

อเมธฺยฆฏิตํ ยนฺตฺรํ กสฺมาทฺรกฺษสิ ปูติกมฺ๚๖๑๚

อิมํ จรฺมปุฏํ ตาวตฺสฺวพุทฺธฺไยว ปฤถกฺกุรุฯ

อสฺถิปญฺชรโต มําสํ ปฺรชฺญาศสฺเตฺรณ โมจย๚๖๒๚

อสฺถีนฺยปิ ปฤถกฺกฤตฺวา ปศฺย มชฺชานมนฺตตะฯ

กิมตฺร สารมสฺตีติ สฺวยเมว วิจารย๚๖๓๚

เอวมนฺวิษฺย ยตฺเนน น ทฤษฺฏํ สารมตฺร เตฯ

อธุนา วท กสฺมาตฺตฺวํ กายมทฺยาปิ รกฺษสิ๚๖๔๚

น ขาทิตวฺยมศุจิ ตฺวยา เปยํ น โศณิตมฺฯ

นานฺตฺราณิ จูษิตวฺยานิ กิํ กาเยน กริษฺยสิ๚๖๕๚

ยุกฺตํ คฤธฺรศฤคาลาเทราหารารฺถํ ตุ รกฺษิตุมฺฯ

กรฺโมปกรณํ ตฺเวตนฺมนุษฺยาณํา ศรีรกมฺ๚๖๖๚

เอวํ เต รกฺษตศฺจาปิ มฤตฺยุราจฺฉิทฺย นิรฺทยะฯ

กายํ ทาสฺยติ คฤเธฺรภฺยสฺตทา ตฺวํ กิํ กริษฺยสิ๚๖๗๚

น สฺถาสฺยตีติ ภฤตฺยาย น วสฺตฺราทิ ปฺรทียเตฯ

กาโย ยาสฺยติ ขาทิตฺวา กสฺมาตฺตฺวํ กุรุเษ วฺยยมฺ๚๖๘๚

ทตฺวาสฺไม เวตนํ ตสฺมาตฺสฺวารฺถํ กุรุ มโน’ธุนาฯ

น หิ ไวตนิโกปาตฺตํ สรฺวํ ตสฺไม ปฺรทียเต๚๖๙๚

กาเย เนาพุทฺธิมาธาย คตฺยาคมนนิศฺรยาตฺ๚

ยถากามํคมํ กายํ กุรุ สตฺตฺวารฺถสิทฺธเย๚๗๐๚

เอวํ วศีกฤตสฺวาตฺมา นิตฺยํ สฺมิตมุโข ภเวตฺฯ

ตฺยเชทฺ ภฤกุฏิสํโกจํ ปูรฺวาภาษี ชคตฺสุหฤตฺ๚๗๑๚

สศพฺทปาตํ สหสา น ปีฐาทีนฺ วินิกฺษิเปตฺฯ

นาสฺผาลเยตฺกปาฏํ จ สฺยานฺนิะศพฺทรุจิะ สทา๚๗๒๚

พโก พิฑาลศฺเจารศฺจ นิะศพฺโท นิภฤตศฺจรนฺฯ

ปฺราปฺโนตฺยภิมตํ การฺยเมวํ นิตฺยํ ยติศฺจเรตฺ๚๗๓๚

ปรโจทนทกฺษาณามนธีษฺโฏปการิณามฺฯ

ปฺรตีจฺเฉจฺฉิรสา วากฺยํ สรฺวศิษฺยะ สทา ภเวตฺ๚๗๔๚

สุภาษิเตษุ สรฺเวษุ สาธุการมุทีรเยตฺฯ

ปุณฺยการิณมาโลกฺย สฺตุติภิะ สํปฺรหรฺษเยตฺ๚๗๕๚

ปโรกฺษํ จ คุณานฺ พฺรูยาทนุพฺรูยาจฺจ โตษตะฯ

สฺววรฺเณ ภาษฺยมาเณ จ ภาวเยตฺตทฺคุณชฺญตามฺ๚๗๖๚

สรฺวารมฺภา หิ ตุษฺฏฺยรฺถาะ สา วิตฺไตรปิ ทุรฺลภาฯ

โภกฺษฺเย ตุษฺฏิมุขํ ตสฺมาตฺปรศฺรมกฤไตรฺคุไณะ๚๗๗๚

น จาตฺร เม วฺยยะ กศฺจิตฺปรตฺร จ มหตฺสุขมฺฯ

อปฺรีติทุะขํ ทฺเวไษสฺตุ มหทฺทุะขํ ปรตฺร จ๚๗๘๚

วิศฺวสฺตวินฺยสฺตปทํ วิสฺปษฺฏารฺถํ มโนรมมฺฯ

ศฺรุติเสาขฺยํ กฤปามูลํ มฤทุมนฺทสฺวรํ วเทตฺ๚๗๙๚

ฤชุ ปศฺเยตฺสทา สตฺตฺวําศฺจกฺษุษา สํปิพนฺนิวฯ

เอตาเนว สมาศฺริตฺย พุทฺธตฺวํ เม ภวิษฺยติ๚๘๐๚

สาตตฺยาภินิเวโศตฺถํ ปฺรติปโกฺษตฺถเมว จฯ

คุโณปการิเกฺษเตฺร จ ทุะขิเต จ มหจฺฉุภมฺ๚๘๑๚

ทกฺษ อุตฺถานสํปนฺนะ สฺวยํการี สทา ภเวตฺฯ

นาวกาศะ ปฺรทาตวฺยะ กสฺยจิตฺสรฺวกรฺมสุ๚๘๒๚

อุตฺตโรตฺตรตะ เศฺรษฺฐา ทานปารมิตาทยะฯ

เนตรารฺถํ ตฺยเชจฺเฉฺรษฺฐามนฺยตฺราจารเสตุตะ๚๘๓๚

เอวํ พุทฺธฺวา ปรารฺเถษุ ภเวตฺสตตมุตฺถิตะฯ

นิษิทฺธมปฺยนุชฺญาตํ กฤปาโลรรฺถทรฺศินะ๚๘๔๚

วินิปาตคตานาถวฺรตสฺถานฺ สํวิภชฺย จฯ

ภุญฺชีต มธฺยมํา มาตฺรํา ตฺริจีวรพหิสฺตฺยเชตฺ๚๘๕๚

สทฺธรฺมเสวกํ กายมิตรารฺถํ น ปีฑเยตฺฯ

เอวเมว หิ สตฺตฺวานามาศามาศุ ปฺรปูรเยตฺ๚๘๖๚

ตฺยเชนฺน ชีวิตํ ตสฺมาทศุทฺเธ กรุณาศเยฯ

ตุลฺยาศเย ตุ ตตฺตฺยาชฺยมิตฺถํ น ปริหียเต๚๘๗๚

ธรฺมํ นิรฺเคารเว สฺวสฺเถ น ศิโรเวษฺฏิเต วเทตฺฯ

สจฺฉตฺรทณฺฑศสฺเตฺร จ นาวคุณฺฐิตมสฺตเก๚๘๘๚

คมฺภีโรทารมลฺเปษุ น สฺตฺรีษุ ปุรุษํ วินาฯ

หีโนตฺกฤษฺเฏษุ ธรฺเมษุ สมํ เคารวมาจเรตฺ๚๘๙๚

โนทารธรฺมปาตฺรํ จ หีเน ธรฺเม นิโยชเยตฺฯ

น จาจารํ ปริตฺยชฺย สูตฺรมนฺไตฺระ ปฺรโลภเยตฺ๚๙๐๚

ทนฺตกาษฺฐสฺย เขฏสฺย วิสรฺชนมปาวฤตมฺฯ

เนษฺฏํ ชเล สฺถเล โภคฺเย มูตฺราเทศฺจาปิ ครฺหิตมฺ๚๙๑๚

มุขปูรํ น ภุญฺชีต สศพฺทํ ปฺรสฤตานนมฺฯ

ปฺรลมฺพปาทํ นาสีต น พาหู มรฺทเยตฺสมมฺ๚๙๒๚

ไนกยานฺยสฺตฺริยา กุรฺยาทฺยานํ ศยนมาสนมฺฯ

โลกาปฺรสาทกํ สรฺวํ ทฤษฺฏฺวา ปฤษฺฏฺวา จ วรฺชเยตฺ๚๙๓๚

นางฺคุลฺยา การเยตฺกิํจิทฺทกฺษิเณน ตุ สาทรมฺฯ

สมสฺเตไนว หสฺเตน มารฺคมปฺเยวมาทิเศตฺ๚๙๔๚

น พาหูตฺเกฺษปกํ กํจิจฺฉพฺทเยทลฺปสํภฺรเมฯ

อจฺฉฏาทิ ตุ กรฺตวฺยมนฺยถา สฺยาทสํวฤตะ๚ ๙๕๚

นาถนิรฺวาณศยฺยาวจฺฉยีเตปฺสิตยา ทิศาฯ

สํปฺรชานํลฺลฆูตฺถานะ ปฺราควศฺยํ นิโยคตะ๚ ๙๖๚

อาจาโร โพธิสตฺตฺวานามปฺรเมย อุทาหฤตะฯ

จิตฺตโศธนมาจารํ นิยตํ ตาวทาจเรตฺ๚ ๙๗๚

ราตฺริํทิวํ จ ตฺริสฺกนฺธํ ตฺริษฺกาลํ จ ปฺรวรฺตเยตฺฯ

เศษาปตฺติศมสฺเตน โพธิจิตฺตชินาศฺรยาตฺ๚ ๙๘๚

ยา อวสฺถาะ ปฺรปทฺเยต สฺวยํ ปรวโศ’ปิ วาฯ

ตาสฺววสฺถาสุ ยาะ ศิกฺษาะ ศิเกฺษตฺตา เอว ยตฺนตะ๚ ๙๙๚

น หิ ตทฺวิทฺยเต กิํจิทฺยนฺน ศิกฺษฺยํ ชินาตฺมไชะฯ

น ตทสฺติ น ยตฺปุณฺยเมวํ วิหรตะ สตะ๚ ๑๐๐๚

ปารํปรฺเยณ สากฺษาทฺวา สตฺตฺวารฺถํ นานฺยทาจเรตฺฯ

สตฺตฺวานาเมว จารฺถาย สรฺวํ โพธาย นามเยตฺ๚ ๑๐๑๚

สทา กลฺยาณมิตฺรํ จ ชีวิตารฺเถ’ปิ น ตฺยเชตฺฯ

โพธิสตฺตฺววฺรตธรํ มหายานารฺถโกวิทมฺ๚ ๑๐๒๚

ศฺรีสํภววิโมกฺษาจฺจ ศิเกฺษทฺยทฺคุรุวรฺตนมฺฯ

เอตจฺจานฺยจฺจ พุทฺโธกฺตํ ชฺเญยํ สูตฺรานฺตวาจนาตฺ๚ ๑๐๓๚

ศิกฺษาะ สูเตฺรษุ ทฤศฺยนฺเต ตสฺมาตฺสูตฺราณิ วาจเยตฺฯ

อากาศครฺภสูเตฺร จ มูลาปตฺตีรฺนิรูปเยตฺ๚ ๑๐๔๚

ศิกฺษาสมุจฺจโย’วศฺยํ ทฺรษฺฏวฺยศฺจ ปุนะ ปุนะฯ

วิสฺตเรณ สทาจาโร ยสฺมาตฺตตฺร ปฺรทรฺศิตะ๚ ๑๐๕๚

สํเกฺษเปณาถวา ตาวตฺปศฺเยตฺสูตฺรสมุจฺจยมฺฯ

อารฺยนาคารฺชุนาพทฺธํ ทฺวิตียํ จ ปฺรยตฺนตะ๚ ๑๐๖๚

ยโต นิวารฺยเต ยตฺร ยเทว จ นิยุชฺยเตฯ

ตโลฺลกจิตฺตรกฺษารฺถํ ศิกฺษํา ทฤษฺฏฺวา สมาจเรตฺ๚ ๑๐๗๚

เอตเทว สมาเสน สํปฺรชนฺยสฺย ลกฺษณมฺฯ

ยตฺกายจิตฺตาวสฺถายาะ ปฺรตฺยเวกฺษา มุหุรฺมุหุะ๚ ๑๐๘๚

กาเยไนว ปฐิษฺยามิ วากฺปาเฐน ตุ กิํ ภเวตฺฯ

จิกิตฺสาปาฐมาเตฺรณ โรคิณะ กิํ ภวิษฺยติ๚ ๑๐๙๚

 

อิติ สํปฺรชนฺยรกฺษณํ นาม ปญฺจมะ ปริจฺเฉทะ๚ะ๛

ปริวรรตเป็นไทยปรับรูป(สำหรับบุคคลทั่วไป)
ศานติเทวะวิระจิตะห์ โพธิจรรยาวะตาระห์ฯ
สัมประชันยะรักษะณัม นามะ ปัญจะมะห์ ปะริจเฉทะห์ฯศิกษาม รักษิตุกาเมนะ จิตตัม รักษยัม ประยัตนะตะห์ฯ
นะ ศิกษา รักษิตุม ศักยา จะลัม จิตตะมะรักษะตา๚๑๚
อะทานตา มัตตะมาตังคา นะ กุรวันตีหะ ตาม วยะถามฯกะโรติ ยามะวีจยาเทา มุกตัศจิตตะมะตังคะชะห์๚๒๚

พัทธัศเจจจิตตะมาตังคะห์ สมฤติรัชชวา สะมันตะตะห์ฯ

ภะยะมัสตังคะตัม สรรวัม กฤตสนัม กัลยาณะมาคะตัม๚๓๚

วยาฆราห์ สิมหา คะชา ฤกษาห์ สรรปาห์ สรรเว จะ ศะตระวะห์ฯ

สรรเว นะระกะปาลาศจะ ฑากินโย รากษะสาสตะถา๚๔๚

สรรเว พัทธา ภะวันตเยเต จิตตัสไยกัสยะ พันธะนาตฯ

จิตตัสไยกัสยะ ทะมะนาต สรรเว ทานตา ภะวันติ จะ๚๕๚

ยัสมาทภะยานิ สรรวาณิ ทุห์ขานยะประมิตานิ จะฯ

จิตตาเทวะ ภะวันตีติ กะถิตัม ตัตตวะวาทินา๚๖๚

ศัสตราณิ เกนะ นะระเก ฆะฏิตานิ ประยัตนะตะห์ฯ

ตัปตายะห์กุฏฏิมัม เกนะ กุโต ชาตาศจะ ตาห์ สตริยะห์๚๗๚

ปาปะจิตตะสะมุทภูตัม ตัตตัตสรรวัม ชะเคา มุนิห์ฯ

ตัสมานนะ กัศจิต ไตโรลกเย จิตตาทันโย ภะยานะกะห์๚๘๚

อะทะริทรัม ชะคัตกฤตวา ทานะปาระมิตา ยะทิฯ

ชะคัททะริทระมัทยาปิ สา กะถัม ปูรวะตายินาม๚๙๚

ผะเลนะ สะหะ สรรวัสวัตยาคะจิตตาชชะเนขิเลฯ

ทานะปาระมิตา โปรกตา ตัสมาตสา จิตตะเมวะ ตุ๚๑๐๚

มัตสยาทะยะห์ กวะ นียันตาม มาระเยยัม ยะโต นะ ตานฯ

ลัพเธ วิระติจิตเต ตุ ศีละปาระมิตา มะตา๚๑๑๚

กิยะโต มาระยิษยามิ ทุรชะนาน คะคะโนปะมานฯ

มาริเต โกรธะจิตเต ตุ มาริตาห์ สรรวะศะตระวะห์๚๑๒๚

ภูมิม ฉาทะยิตุม สรรวาม กุตัศจรรมะ ภะวิษยะติฯ

อุปานัจจรรมะมาเตรณะ ฉันนา ภะวะติ เมทินี๚๑๓๚

พาหยา ภาวา มะยา ตัทวัจฉักยา วาระยิตุม นะ หิฯ

สวะจิตตัม วาระยิษยามิ กิม มะมานไยรนิวาริไตห์๚๑๔๚

สะหาปิ วากศะรีราภยาม มันทะวฤตเตรนะ ตัตผะลัมฯ

ยัตปะโฏเรกะกัสยาปิ จิตตัสยะ พรหมะตาทิกัม๚๑๕๚

ชะปาสตะปามสิ สรรวาณิ ทีรฆะกาละกฤตานยะปิฯ

อันยะจิตเตนะ มันเทนะ วฤไถเวตยาหะ สรรวะวิต๚๑๖๚

ทุห์ขัม หันตุม สุขัม ปราปตุม เต ภระมันติ มุธามพะเรฯ

ไยเรตัทธรรมะสรรวัสวัม จิตตัม คุหยัม นะ ภาวิตัม๚๑๗๚

ตัสมาตสวะธิษฐิตัม จิตตัม มะยา การยัม สุรักษิตัมฯ

จิตตะรักษาวระตัม มุกตตวา พะหุภิห์ กิม มะมะ วระไตห์๚๑๘๚

ยะถา จะปะละมัธยัสโถ รักษะติ วระณะมาทะราตฯ

เอวัม ทุรชะนะมัธยัสโถ รักเษจจิตตะวระณัม สะทา๚๑๙๚

วระณะทุห์ขะละวาทภีโต รักษามิ วระณะมาทะราตฯ

สังฆาตะปรรวะตาฆาตาทภีตัศจิตตะวระณัม นะ กิม๚๒๐๚

อะเนนะ หิ วิหาเรณะ วิหะรัน ทุรชะเนษวะปิฯ

ประมะทาชะนะมัธเยปิ ยะติรธีโร นะ ขัณฑยะเต๚๒๑๚

ลาภา นัศยันตุ เม กามัม สัตการะห์ กายะชีวิตัมฯ

นัศยัตวันยัจจะ กุศะลัม มา ตุ จิตตัม กะทาจะนะ๚๒๒๚

จิตตัม รักษิตุกามานาม มะไยษะ กริยะเตญชะลิห์ฯ

สมฤติม จะ สัมประชันยัม จะ สรรวะยัตเนนะ รักษะตะ๚๒๓๚

วยาธยากุโล นะโร ยัทวันนะ กษะมะห์ สรรวะกรรมะสุฯ

ตะถาภยาม วิกะลัม จิตตัม นะ กษะมัม สรรวะกรรมะสุ๚๒๔๚

อะสัมประชันยะจิตตัสยะ ศรุตะจินติตะภาวิตัมฯ

สัจฉิทระกุมภะชะละวันนะ สมฤตาวะวะติษฐะเต๚๒๕๚

อะเนเก ศรุตะวันโตปิ ศราทธา ยัตนะปะรา อะปิฯ

อะสัมประชันยะโทเษณะ ภะวันตยาปัตติกัศมะลาห์๚๒๖๚

อะสัมประชันยะเจาเรณะ สมฤติโมษานุสาริณาฯ

อุปะจิตยาปิ ปุณยานิ มุษิตา ยานติ ทุรคะติม๚๒๗๚

เกลศะตัสกะระสังโฆยะมะวะตาระคะเวษะกะห์ฯ

ปราปยาวะตารัม มุษณาติ หันติ สัทคะติชีวิตัม๚๒๘๚

ตัสมาตสมฤติรมะโนทวารานนาปะเนยา กะทาจะนะฯ

คะตาปิ ปรัตยุปัสถาปยา สัมสมฤตยาปายิกีม วยะถาม๚๒๙๚

อุปาธยายานุศาสันยา ภีตยาปยาทะระการิณามฯ

ธันยานาม คุรุสัมวาสาตสุกะรัม ชายะเต สมฤติห์๚๓๐๚

พุทธาศจะ โพธิสัตตวาศจะ สรรวัตราวยาหะเตกษะณาห์ฯ

สรรวะเมวาคระตัสเตษาม เตษามัสมิ ปุระห์ สถิตะห์๚๓๑๚

อิติ ธยาตวา ตะถา ติษเฐต ตระปาทะระภะยานวิตะห์ฯ

พุทธานุสมฤติรัปเยวัม ภะเวตตัสยะ มุหุรมุหุห์๚๓๒๚

สัมประชันยัม ตะทายาติ นะ จะ ยาตยาคะตัม ปุนะห์ฯ

สมฤติรยะทา มะโนทวาเร รักษารถะมะวะติษฐะเต๚๓๓๚

ปูรวัม ตาวะทิทัม จิตตัม สะโทปัสถาปยะมีทฤศัมฯ

นิรินทริเยเณวะ มะยา สถาตะวยัม กาษฐะวัตสะทา๚๓๔๚

นิษผะลา เนตระวิกเษปา นะ กรรตะวยาห์ กะทาจะนะฯ

นิธยายันตีวะ สะตะตัม การยา ทฤษฏิระโธคะตา๚๓๕๚

ทฤษฏิวิศรามะเหโตสตุ ทิศะห์ ปัศเยตกะทาจะนะฯ

อาภาสะมาตรัม ทฤษฏวา จะ สวาคะตารถัม วิโลกะเยต๚๓๖๚

มารคาเทา ภะยะโพธารถัม มุหุห์ ปัศเยจจะตุรทิศัมฯ

ทิโศ วิศรัมยะ วีกเษตะ ปะราวฤตไยวะ ปฤษฐะตะห์๚๓๗๚

สะเรทะปะสะเรทวาปิ ปุระห์ ปัศจานนิรูปยะ จะฯ

เอวัม สรรวาสวะวัสถาสุ การยัม พุทธวา สะมาจะเรต๚๓๘๚

กาเยไนวะมะวัสเถยะมิตยากษิปยะ กริยาม ปุนะห์ฯ

กะถัม กายะห์ สถิตะ อิติ ทรัษฏะวยัม ปุนะรันตะรา๚๓๙๚

นิรูปยะห์ สรรวะยัตเนนะ จิตตะมัตตัทวิปัสตะถาฯ

ธรรมะจินตามะหาสตัมเภ ยะถา พัทโธ นะ มุจยะเต๚๔๐๚

กุตระ เม วรรตะตะ อิติ ปรัตยะเวกษยัม ตะถา มะนะห์ฯ

สะมาธานะธุรัม ไนวะ กษะณะมัปยุตสฤเชทยะถา๚๔๑๚

ภะโยตสะวาทิสัมพันเธ ยัทยะศักโต ยะถาสุขัมฯ

ทานะกาเล ตุ ศีลัสยะ ยัสมาทุกตะมุเปกษะณัม๚๔๒๚

ยัท พุทธวา กรรตุมารัพธัม ตะโตนยันนะ วิจินตะเยตฯ

ตะเทวะ ตาวันนิษปาทยัม ตัทคะเตนานตะราตมะนา๚๔๓๚

เอวัม หิ สุกฤตัม สรรวะมันยะถา โนภะยัม ภะเวตฯ

อะสัมประชันยะเกลโศปิ วฤทธิม ไจวัม คะมิษยะติ๚๔๔๚

นานาวิธะประลาเปษุ วรรตะมาเนษวะเนกะธาฯ

เกาตูหะเลษุ สรรเวษุ หันยาเทาตสุกยะมาคะตัม๚๔๕๚

มฤนมรรทะนะตฤณัจเฉทะเรขาทยะผะละมาคะตัมฯ

สมฤตวา ตาถาคะตีม ศิกษาม ภีตัสตัตกษะณะมุตสฤเชต๚๔๖๚

ยะทา จะลิตุกามะห์ สยาทวักตุกาโมปิ วา ภะเวตฯ

สวะจิตตัม ปรัตยะเวกษยาเทา กุรยาทไธรเยณะ ยุกติมัต๚๔๗๚

อะนุนีตัม ประติหะตัม ยะทา ปัศเยตสวะกัม มะนะห์ฯ

นะ กรรตะวยัม นะ วักตะวยัม สถาตะวยัม กาษฐะวัตตะทา๚๔๘๚

อุทธะตัม โสปะหาสัม วา ยะทา มานะมะทานวิตัมฯ

โสตปราสาติศะยัม วะกรัม วัญจะกัม จะ มะโน ภะเวต๚๔๙๚

ยะทาตโมตกรรษะณาภาสัม ปะระปัมสะนะเมวะ วาฯ

สาธิกเษปัม สะสัมรัมภัม สถาตะวยัม กาษฐะวัตตะทา๚๕๐๚

ลาภะสัตการะกีรตยรรถิ ปะริวารารถิ วา ปุนะห์ฯ

อุปัสถานารเถ เม จิตตัม ตัสมาตติษฐามิ กาษฐะวัต๚๕๑๚

ปะรารถะรูกษัม สวารถารถิ ปะริษัตกามะเมวะ วาฯ

วักตุมิจฉะติ เม จิตตัม ตัสมาตติษฐามิ กาษฐะวัต๚๕๒๚

อะสะหิษณวะละสัม ภีตัม ประคัลภัม มุขะรัม ตะถาฯ

สวะปักษาภินิวิษฏัม จะ ตัสมาตติษฐามิ กาษฐะวัต๚๕๓๚

เอวัม สังกลิษฏะมาโลกยะ นิษผะลารัมภิ วา มะนะห์ฯ

นิคฤหณียาท ทฤฒัม ศูระห์ ประติปักเษณะ ตัตสะทา๚๕๔๚

สุนิศจิตัม สุประสันนัม ธีรัม สาทะระเคาระวัมฯ

สะลัชชัม สะภะยัม ศานตัม ปะราราธะนะตัตปะรัม๚๕๕๚

ปะรัสปะระวิรุทธาภิรพาเลจฉาภิระเขทิตัมฯ

เกลโศตปาทาทิทัม หเยตะเทษามิติ ทะยานวิตัม๚๕๖๚

อาตมะสัตตวะวะศัม นิตยะมะนะวัทเยษุ วัสตุษุฯ

นิรมาณะมิวะ นิรมานัม ธาระยามเยษะ มานะสัม๚๕๗๚

จิราตปราปตัม กษะณะวะรัม สมฤตวา สมฤตวา มุหุรมุหุห์ฯ

ธาระยามีทฤศัม จิตตะมะประกัมปยัม สุเมรุวัต๚๕๘๚

คฤไธรรามิษะสังคฤทไธห์ กฤษยะมาณะ อิตัสตะตะห์ฯ

นะ กะโรตยันยะถา กายะห์ กัสมาทะตระ ประติกริยาม๚๕๙๚

รักษะสีมัม มะนะห์ กัสมาทาตมีกฤตยะ สะมุจฉระยัมฯ

ตวัตตัศเจตปฤถะเควายัม เตนาตระ ตะวะ โก วยะยะห์๚๖๐๚

นะ สวีกะโรษิ เห มูฒะ กาษฐะปุตตะละกัม ศุจิมฯ

อะเมธยะฆะฏิตัม ยันตรัม กัสมาทรักษะสิ ปูติกัม๚๖๑๚

อิมัม จรรมะปุฏัม ตาวัตสวะพุทธไยวะ ปฤถักกุรุฯ

อัสถิปัญชะระโต มามสัม ปรัชญาศัสเตรณะ โมจะยะ๚๖๒๚

อัสถีนยะปิ ปฤถักกฤตวา ปัศยะ มัชชานะมันตะตะห์ฯ

กิมะตระ สาระมัสตีติ สวะยะเมวะ วิจาระยะ๚๖๓๚

เอวะมันวิษยะ ยัตเนนะ นะ ทฤษฏัม สาระมะตระ เตฯ

อะธุนา วะทะ กัสมาตตวัม กายะมัทยาปิ รักษะสิ๚๖๔๚

นะ ขาทิตะวยะมะศุจิ ตวะยา เปยัม นะ โศณิตัมฯ

นานตราณิ จูษิตะวยานิ กิม กาเยนะ กะริษยะสิ๚๖๕๚

ยุกตัม คฤธระศฤคาลาเทราหารารถัม ตุ รักษิตุมฯ

กรรโมปะกะระณัม ตเวตันมะนุษยาณาม ศะรีระกัม๚๖๖๚

เอวัม เต รักษะตัศจาปิ มฤตยุราจฉิทยะ นิรทะยะห์ฯ

กายัม ทาสยะติ คฤเธรภยัสตะทา ตวัม กิม กะริษยะสิ๚๖๗๚

นะ สถาสยะตีติ ภฤตยายะ นะ วัสตราทิ ประทียะเตฯ

กาโย ยาสยะติ ขาทิตวา กัสมาตตวัม กุรุเษ วยะยัม๚๖๘๚

ทัตวาสไม เวตะนัม ตัสมาตสวารถัม กุรุ มะโนธุนาฯ

นะ หิ ไวตะนิโกปาตตัม สรรวัม ตัสไม ประทียะเต๚๖๙๚

กาเย เนาพุทธิมาธายะ คัตยาคะมะนะนิศระยาต๚

ยะถากามังคะมัม กายัม กุรุ สัตตวารถะสิทธะเย๚๗๐๚

เอวัม วะศีกฤตัสวาตมา นิตยัม สมิตะมุโข ภะเวตฯ

ตยะเชท ภฤกุฏิสังโกจัม ปูรวาภาษี ชะคัตสุหฤต๚๗๑๚

สะศัพทะปาตัม สะหะสา นะ ปีฐาทีน วินิกษิเปตฯ

นาสผาละเยตกะปาฏัม จะ สยานนิห์ศัพทะรุจิห์ สะทา๚๗๒๚

พะโก พิฑาลัศเจารัศจะ นิห์ศัพโท นิภฤตัศจะรันฯ

ปราปโนตยะภิมะตัม การยะเมวัม นิตยัม ยะติศจะเรต๚๗๓๚

ปะระโจทะนะทักษาณามะนะธีษโฏปะการิณามฯ

ประตีจเฉจฉิระสา วากยัม สรรวะศิษยะห์ สะทา ภะเวต๚๗๔๚

สุภาษิเตษุ สรรเวษุ สาธุการะมุทีระเยตฯ

ปุณยะการิณะมาโลกยะ สตุติภิห์ สัมประหรรษะเยต๚๗๕๚

ปะโรกษัม จะ คุณาน พรูยาทะนุพรูยาจจะ โตษะตะห์ฯ

สวะวรรเณ ภาษยะมาเณ จะ ภาวะเยตตัทคุณัชญะตาม๚๗๖๚

สรรวารัมภา หิ ตุษฏยรรถาห์ สา วิตไตระปิ ทุรละภาฯ

โภกษเย ตุษฏิมุขัม ตัสมาตปะระศระมะกฤไตรคุไณห์๚๗๗๚

นะ จาตระ เม วยะยะห์ กัศจิตปะระตระ จะ มะหัตสุขัมฯ

อะปรีติทุห์ขัม ทเวไษสตุ มะหัททุห์ขัม ปะระตระ จะ๚๗๘๚

วิศวัสตะวินยัสตะปะทัม วิสปัษฏารถัม มะโนระมัมฯ

ศรุติเสาขยัม กฤปามูลัม มฤทุมันทัสวะรัม วะเทต๚๗๙๚

ฤชุ ปัศเยตสะทา สัตตวามศจักษุษา สัมปิพันนิวะฯ

เอตาเนวะ สะมาศริตยะ พุทธัตวัม เม ภะวิษยะติ๚๘๐๚

สาตัตยาภินิเวโศตถัม ประติปักโษตถะเมวะ จะฯ

คุโณปะการิกเษเตร จะ ทุห์ขิเต จะ มะหัจฉุภัม๚๘๑๚

ทักษะ อุตถานะสัมปันนะห์ สวะยังการี สะทา ภะเวตฯ

นาวะกาศะห์ ประทาตะวยะห์ กัสยะจิตสรรวะกรรมะสุ๚๘๒๚

อุตตะโรตตะระตะห์ เศรษฐา ทานะปาระมิตาทะยะห์ฯ

เนตะรารถัม ตยะเชจเฉรษฐามันยะตราจาระเสตุตะห์๚๘๓๚

เอวัม พุทธวา ปะรารเถษุ ภะเวตสะตะตะมุตถิตะห์ฯ

นิษิทธะมัปยะนุชญาตัม กฤปาโลรรรถะทรรศินะห์๚๘๔๚

วินิปาตะคะตานาถะวระตัสถาน สัมวิภัชยะ จะฯ

ภุญชีตะ มัธยะมาม มาตราม ตริจีวะระพะหิสตยะเชต๚๘๕๚

สัทธรรมะเสวะกัม กายะมิตะรารถัม นะ ปีฑะเยตฯ

เอวะเมวะ หิ สัตตวานามาศามาศุ ประปูระเยต๚๘๖๚

ตยะเชนนะ ชีวิตัม ตัสมาทะศุทเธ กะรุณาศะเยฯ

ตุลยาศะเย ตุ ตัตตยาชยะมิตถัม นะ ปะริหียะเต๚๘๗๚

ธรรมัม นิรเคาระเว สวัสเถ นะ ศิโรเวษฏิเต วะเทตฯ

สัจฉะตระทัณฑะศัสเตร จะ นาวะคุณฐิตะมัสตะเก๚๘๘๚

คัมภีโรทาระมัลเปษุ นะ สตรีษุ ปุรุษัม วินาฯ

หีโนตกฤษเฏษุ ธรรเมษุ สะมัม เคาระวะมาจะเรต๚๘๙๚

โนทาระธรรมะปาตรัม จะ หีเน ธรรเม นิโยชะเยตฯ

นะ จาจารัม ปะริตยัชยะ สูตระมันไตรห์ ประโลภะเยต๚๙๐๚

ทันตะกาษฐัสยะ เขฏัสยะ วิสรรชะนะมะปาวฤตัมฯ

เนษฏัม ชะเล สถะเล โภคเย มูตราเทศจาปิ ครรหิตัม๚๙๑๚

มุขะปูรัม นะ ภุญชีตะ สะศัพทัม ประสฤตานะนัมฯ

ประลัมพะปาทัม นาสีตะ นะ พาหู มรรทะเยตสะมัม๚๙๒๚

ไนกะยานยัสตริยา กุรยาทยานัม ศะยะนะมาสะนัมฯ

โลกาประสาทะกัม สรรวัม ทฤษฏวา ปฤษฏวา จะ วรรชะเยต๚๙๓๚

นางคุลยา การะเยตกิญจิททักษิเณนะ ตุ สาทะรัมฯ

สะมัสเตไนวะ หัสเตนะ มารคะมัปเยวะมาทิเศต๚๙๔๚

นะ พาหูตกเษปะกัม กัญจิจฉัพทะเยทัลปะสัมภระเมฯ

อัจฉะฏาทิ ตุ กรรตะวยะมันยะถา สยาทะสัมวฤตะห์๚ ๙๕๚

นาถะนิรวาณะศัยยาวัจฉะยีเตปสิตะยา ทิศาฯ

สัมประชานัมลละฆูตถานะห์ ปราคะวัศยัม นิโยคะตะห์๚ ๙๖๚

อาจาโร โพธิสัตตวานามะประเมยะ อุทาหฤตะห์ฯ

จิตตะโศธะนะมาจารัม นิยะตัม ตาวะทาจะเรต๚ ๙๗๚

ราตรินทิวัม จะ ตริสกันธัม ตริษกาลัม จะ ประวรรตะเยตฯ

เศษาปัตติศะมัสเตนะ โพธิจิตตะชินาศระยาต๚ ๙๘๚

ยา อะวัสถาห์ ประปัทเยตะ สวะยัม ปะระวะโศปิ วาฯ

ตาสวะวัสถาสุ ยาห์ ศิกษาห์ ศิกเษตตา เอวะ ยัตนะตะห์๚ ๙๙๚

นะ หิ ตัทวิทยะเต กิญจิทยันนะ ศิกษยัม ชินาตมะไชห์ฯ

นะ ตะทัสติ นะ ยัตปุณยะเมวัม วิหะระตะห์ สะตะห์๚ ๑๐๐๚

ปารัมปรรเยณะ สากษาทวา สัตตวารถัม นานยะทาจะเรตฯ

สัตตวานาเมวะ จารถายะ สรรวัม โพธายะ นามะเยต๚ ๑๐๑๚

สะทา กัลยาณะมิตรัม จะ ชีวิตารเถปิ นะ ตยะเชตฯ

โพธิสัตตวะวระตะธะรัม มะหายานารถะโกวิทัม๚ ๑๐๒๚

ศรีสัมภะวะวิโมกษาจจะ ศิกเษทยัทคุรุวรรตะนัมฯ

เอตัจจานยัจจะ พุทโธกตัม ชเญยัม สูตรานตะวาจะนาต๚ ๑๐๓๚

ศิกษาห์ สูเตรษุ ทฤศยันเต ตัสมาตสูตราณิ วาจะเยตฯ

อากาศะครรภะสูเตร จะ มูลาปัตตีรนิรูปะเยต๚ ๑๐๔๚

ศิกษาสะมุจจะโยวัศยัม ทรัษฏะวยัศจะ ปุนะห์ ปุนะห์ฯ

วิสตะเรณะ สะทาจาโร ยัสมาตตะตระ ประทรรศิตะห์๚ ๑๐๕๚

สังกเษเปณาถะวา ตาวัตปัศเยตสูตระสะมุจจะยัมฯ

อารยะนาคารชุนาพัทธัม ทวิตียัม จะ ประยัตนะตะห์๚ ๑๐๖๚

ยะโต นิวารยะเต ยะตระ ยะเทวะ จะ นิยุชยะเตฯ

ตะโลลกะจิตตะรักษารถัม ศิกษาม ทฤษฏวา สะมาจะเรต๚ ๑๐๗๚

เอตะเทวะ สะมาเสนะ สัมประชันยัสยะ ลักษะณัมฯ

ยัตกายะจิตตาวัสถายาห์ ปรัตยะเวกษา มุหุรมุหุห์๚ ๑๐๘๚

กาเยไนวะ ปะฐิษยามิ วากปาเฐนะ ตุ กิม ภะเวตฯ

จิกิตสาปาฐะมาเตรณะ โรคิณะห์ กิม ภะวิษยะติ๚ ๑๐๙๚

 

อิติ สัมประชันยะรักษะณัม นามะ ปัญจะมะห์ ปะริจเฉทะห์๚ะ๛

[แปล]

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๕  การรักษาซึ่งสัมปชัญญะ

  1. บุคคลผู้ต้องการจะรักษาซึ่งหลักคำสอน (วินัย) พึงรักษาซึ่งจิตด้วยความบากบั่น  บุคคลผู้ไม่รักษาซึ่งจิตที่หวั่นไหวอยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่สามารถเพื่ออันรักษาซึ่งหลักคำสอนทั้งหลายได้
  2. ในโลกนี้ ช้างตัวตกมันที่มิได้ฝึกฝนอบรมทั้งหลาย  ย่อมไม่สามารถจะกระทำความทุกข์ทรมานทั้งหลาย (ให้กับบุคคล)  ได้ (รุนแรง)  เหมือนกับช้างคือจิตใจที่มิได้ควบคุม  ย่อมกระทำซึ่งความทุกข์ทรมานต่าง ๆ (ให้กับบุคคล) ไว้ในนรกอเวจีที่ลึกที่สุด  ฉะนั้น
  3. หากช้างคือจิตถูกผูกไว้แล้วด้วยเชือกคือสติโดยรอบ ภัยทั้งปวงย่อมมลายหายไป คุณงามความดีทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นตามมา
  4. ศัตรูทั้งปวงคือ เสือ   สิงห์ ช้าง หมีและงู  คนเฝ้านรกทั้งปวง หมู่ปีศาจและรากษสทั้งหลาย
  5. ศัตรูเหล่านี้ทั้งหมด ย่อมถูกผูกมัดไว้ด้วยเครื่องพันธนาการแห่งจิตอย่างเดียวเท่านั้น  และด้วยการข่มซึ่งจิตอย่างเดียวเท่านั้น  ศัตรูทั้งปวงก็ย่อมถูกข่มไว้ได้
  6. เพราะเหตุว่า บุคคลผู้มีปกติกล่าวซึ่งความจริง  ได้กล่าวไว้ว่า  ภัยทั้งปวงและทุกข์อันหาประมาณมิได้ย่อมมีขึ้นจากจิตเท่านั้น
  7. อาวุธทั้งหลายในนรกอันบุคคลตระเตรียมไว้แล้วด้วยความบากบั่น ภาคพื้นที่ปูด้วยแผ่นเหล็กร้อน (อันบุคคลได้ตระเตรียมไว้แล้ว)  และหมู่สตรี (ในนรก)  ทั้งหลายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นแล้วจากที่ไหน
  8. นักปราชญ์ได้ร้องบอกแล้วซึ่งสิ่งนั้น ๆ  ทั้งหมดว่า  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจากจิตอันชั่วช้าลามก เพราะฉะนั้น  สิ่งอะไร ๆ อื่น  อันเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่าจิตย่อมไม่มีในโลกทั้งสาม
  9. หากทานบารมีสามารถกระทำโลกมิให้ขัดสนได้แล้วไซร้ แต่ในวันนี้ โลกยังเป็นโลกที่ขัดสนอยู่ ทานบารมีนั้นอันพระพุทธเจ้าในกาลก่อนทั้งหลาย ทรงประพฤติอยู่ได้อย่างไรกัน*
    * โศลกนี้ไม่มีกริยาคุมพากย์ ปรัชญากรมติได้อธิบายแก้อรรถไว้โดยเพิ่มกริยา ยุชยาต เข้ามา
  10. เพราะดวงจิตซึ่งคิดเสียสละสิ่งของ ๆ  ตนทั้งหมด  ในชนทั้งปวงพร้อมด้วยผล  (แห่งความคิดนั้น ) ทานบารมีถูกประกาศไว้แล้ว  เพราะฉะนั้น  ทานบารมีนั้นก็คือจิตนั่นเอง
  11. สัตว์ทั้งหลายมี ปลา  เป็นต้น  พึงถูกนำไปในที่ไหน  ๆ  ข้าพเจ้าผู้อดกลั้นแล้ว  ไม่พึงฆ่าสัตว์เหล่านั้นให้ตาย  แต่ว่า  เมื่อจิตคิดงดเว้นอันข้าพเจ้าได้รับแล้ว  ความคิด (อันนั้น) ย่อมจัดเป็นศีลบารมี
  12. ข้าพเจ้าจักฆ่าซึ่งคนชั่วทั้งหลาย อันมีอุปมาเหมือนท้องฟ้าให้หมดได้อย่างไร  แต่ว่า  เมื่อจิตคิดถึงความโกรธ(ถูกข้าพเจ้า ) ฆ่าแล้ว  ศัตรูทั้งปวง ย่อมถูกข้าพเจ้าฆ่าแล้ว (เช่นกัน )
  13. หนังจักมีเพื่ออันปกคลุมซึ่งภาคพื้น (แห่งโลก) ทั้งปวงได้แต่ที่ไหน โลกย่อมถูกปกคลุมด้วยจำนวนหนัง (ที่มีอยู่) ในรองเท้า
  14. ก็ในทำนองเดียวกัน พลังอำนาจภายนอกทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมไม่สามารถจะห้ามได้ แต่ข้าพเจ้าจักห้ามซึ่งจิตของตนได้ จะมีประโยชน์อะไรแก่ข้าพเจ้าด้วยการหักห้าม (อำนาจภายนอก) อื่น  ๆ  อีกเล่า
  15. พรหมโลก เป็นต้น  ย่อมเกิดขึ้นแก่จิตแม้ดวงหนึ่ง  ๆ  อันบริสุทธิ์ ประณีต (แต่)  ผลนั้นย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะจิตที่คิดด้วยความโง่เขลา พร้อมด้วยกายกรรมและวจีกรรม
  16. บัณฑิตผู้เป็นสัพพัญญู * กล่าวไว้ว่า การสวดมนต์และการบำเพ็ญตบะทั้งปวง  แม้บุคคลได้กระทำมาเป็นเวลานาน  ย่อมเป็นสิ่งไร้ซึ่งประโยชน์  เหตุเพราะจิตที่โง่เขลาหมกมุ่นไปทางอื่น
    * หมายถึง  พระผู้มีพระภาคเจ้า
  17. หมู่สัตว์เหล่าใดไม่ได้อบรมซึ่งดวงจิตอันเร้นลับ ซึ่งเป็นแก่นแท้แห่งธรรมทั้งปวงนั้นสัตว์เหล่านั้นย่อมท่องเที่ยวไปในอากาศธาตุแห่งความว่างเปล่า  เพื่อกำจัดซึ่งความทุกข์และเพื่อให้ได้รับซึ่งความสุข
  18. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าพึงปฏิบัติและรักษาซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วของตนให้ดี  เมื่อปล่อยวางซึ่งกฎระเบียบแห่งการรักษาจิตเสียแล้ว  ประโยชน์อันใดจักมีแก่ข้าพเจ้าด้วยกฎระเบียบจำนวนมากมายอีกเล่า
  19. บุคคลผู้ดำรงอยู่ในท่ามกลางแห่งหมู่ชนอันพลุกพล่าน ย่อมรักษาซึ่งบาดแผล (อันเกิดจากการกระทบกระทั่งกัน) ด้วยความระมัดระวัง  ฉันใด ผู้ที่ดำรงอยู่ในท่ามกลางแห่งคนชั่ว  พึงรักษาซึ่งบาดแผลภายในตลอดกาลทุกเมื่อ  ฉันนั้น
  20. ข้าพเจ้ากลัวเกรงต่อความระทมทุกข์อันเกิดจากบาดแผลจำนวนเล็กน้อยอยู่ จึงได้รักษาบาดแผลด้วยความไม่ประมาท  ก็เพราะเหตุอะไร  ข้าพเจ้าผู้หวาดกลัวต่อการปะทะกับภูเขาแห่งการทำลายอย่างโหดร้าย จักไม่รักษาซึ่งบาดแผลภายในจิตอีกเล่า
  21. ด้วยการประพฤติอยู่เช่นนี้ แม้บุคคลผู้อาศัยอยู่ในหมู่คนชั่ว หรือในท่ามกลางแห่งหมู่หญิงสาว ความเพียรพยายามอันมั่นคง (ของเขา) ก็ย่อมไม่ถูกทำลายไป
  22. ลาภ กาม  ความเคารพนับถือ กายและชีวิตของข้าพเจ้าจงฉิบหายไปเถิด  หรือกุศลอื่น  ๆ  จงฉิบหายไปเสีย  แต่ในกาลบางครั้งบางคราว ขออย่าให้จิต (ของข้าพเจ้าพึงฉิบหายเลย)
  23. ข้าพเจ้าย่อมกระทำอัญชลีแด่ท่านผู้ใคร่จะรักษาซึ่งจิต ขอท่านทั้งหลายจงรักษาซึ่งสติและสัมปชัญญะด้วยเถิด
  24. บุคคลผู้ถูกก่อกวนอยู่ด้วยความเจ็บไข้ได้ป่วย ย่อมเป็นผู้ไม่ทรหดอดทนในการงานทั้งปวงฉันใด  จิตซึ่งฟุ้งซ่านปราศจากสติและสัมปชัญญะ  ก็ย่อมไม่อดทนในการงาน * ทั้งปวงฉันนั้น
    * การงานนี้ หมายถึง  สมาธิ
  25. การศึกษาเล่าเรียน การคิดพิจารณาและการอบรมแห่งจิตที่ไร้สัมปชัญญะ  ย่อมไม่ตั้งอยู่ในความระลึกได้เหมือนน้ำในหม้ออันมีรอยรั่ว  ฉะนั้น
  26. แม้บุคคลผู้เป็นพหูสูต มีศรัทธาและตั้งใจเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดจำนวนมากมาย  ย่อมเป็นอาบัติและมีความเศร้าหมอง (ในจิตใจ) เพราะโทษแห่งการไร้สัมปชัญญะ
  27. โจรผู้ไร้ซึ่งสัมปชัญญะ คอยติดตามเฝ้าลักขโมยด้วยสติ  ย่อมสามารถขโมยบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้สะสมไว้ได้ (แต่พวกเขา) ย่อมไปสู่ทุคติ
  28. หมู่โจรนี้ ได้แก่กิเลสนั่นเอง  ที่คอยแสวงหาซึ่งร่างใหม่ * เมื่อได้รับซึ่งร่างใหม่แล้วก็ย่อมลักขโมยไป มันย่อมฆ่าซึ่งชีวิตแห่งสุคติเสีย
    * คือ  ช่องทางใหม่
  29. เพราะฉะนั้น  บุคคลไม่พึงนำสติออกไปเสียจากมโนทวาร  ในกาลไหน ๆ  แม้ว่าสติได้ล่องลอยไปแล้ว  เขาก็ควรกระทำซึ่งทุกข์อันเกิดขึ้นในนรกให้ตั้งมั่น (ด้วยสติ)
  30. เพราะการอาศัยอยู่ร่วมกับครูแห่งบุคคลผู้มีความสุข อันได้บำเพ็ญเพียรตามคำสั่งสอนของอาจารย์และตามความกลัวด้วยความเคารพ สติจึงเกิดขึ้นได้โดยง่าย
  31. พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ไม่ต้านทานและเบิกบานพระหฤทัยอยู่ในที่ทั้งปวง  สถานะทั้งปวงของพระองค์  ย่อมเป็นเลิศเสมอ  ข้าพเจ้าปรากฏอยู่แล้ว  ณ  เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เหล่านั้น
  32. เพราะฉะนั้น เมื่อได้พินิจพิจารณาเช่นนี้แล้ว  บุคคลผู้ประกอบด้วยความละอาย  ความเคารพและความกลัวแล้วพึงดำรงอยู่ แม้การตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็จะพึงมีแก่เขาเพิ่มขึ้นนั่นเอง
  33. เมื่อใด สติตั้งมั่นลงในมโนทวารเพื่อประโยชน์แห่งการรักษา  เมื่อนั้น  สัมปชัญญะก็ย่อมมีขึ้น  และสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นแล้วก็จะไม่ (เสื่อมหาย) ไปอีก
  34. ดังนั้น ข้าพเจ้าพึงทำจิตดวงเก่าก่อนซึ่งมีลักษณะเช่นนี้  ให้เข้าไปตั้งมั่น  ในกาลทุกเมื่อข้าพเจ้าพึงดำรงอยู่ด้วยความอ่อนแอไร้ซึ่งอารมณ์ เหมือนกับท่อนไม้ ในทุก  ๆ คราวนั่นแล
  35. ข้าพเจ้าไม่ควรทอดสายตาให้ซัดส่ายไปโดยปราศจากจุดมุ่งหมาย ในทุกครั้งทุกคราวข้าพเจ้าพึงลดสายตาให้ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ประหนึ่งว่าทำสมาธิอยู่ ฉะนั้น
  36. แต่เพราะเหตุแห่งการหยุดพักสายตา บุคคลพึงมองดูทิศทั้งหลายในบางครั้งบางคราว  และเมื่อเห็นซึ่งวัตถุเป็นเพียงภาพหลอกลวง  เขาก็ควรพิจารณาดูเพื่อประโยชน์แห่งการทักทายปราศรัย
  37. บางครั้ง บุคคลพึงมองดูทิศทั้ง 4 เพื่อประโยชน์แห่งการหยั่งรู้ซึ่งภัยในหนทาง  เป็นต้นและเมื่อได้หยุดพักแล้ว  เขาควรพิจารณาดูซึ่งทิศและควรเพ่งดูด้านเบื้องหลังด้วย
  38. เมื่อได้พิจารณาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แม้ในกิจที่ควรทำและไม่ควรทำแล้ว  และเมื่อรู้ซึ่งกิจที่ควรทำอย่างนี้แล้ว  บุคคลพึงประพฤติให้ดีในสถานการณ์ทั้งปวง
  39. เมื่อได้พิจารณาอยู่ว่า ข้าพเจ้าพึงดำรงอยู่ด้วยกายอย่างนี้แล้ว  ข้าพเจ้าก็ควรกระทำอีกข้าพเจ้าควรพิจารณาในระหว่างอีกว่า  กาย (ของข้าพเจ้า) ได้ดำรงอยู่แล้วอย่างไร
  40. ช้างตัวตกมันคือ จิตใจ  พึงถูกข้าพเจ้าพิจารณาตรวจสอบด้วยความเพียรพยายามทั้งปวงเช่นเดียวกับบุคคลผู้ถูกผูกมัดอยู่กับเสาใหญ่คือการครุ่นคิดถึงพระธรรม  เขาย่อมไม่สามารถจะหลุดพ้นไปได้ฉะนั้น
  41. บุคคลไม่ควรละทิ้งซึ่งแอกคือสมาธิแม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง ฉันใด  จิตอันบุคคลควรทบทวนพิจารณาด้วยความคิดอีกว่า (จิต) ของข้าพเจ้าได้มีแล้ว  ณ ที่ไหน ฉันนั้น
  42. หากบุคคลไม่สามารถ (จะทำ) ตามความสุขได้ ในขณะที่ถูกผูกมัดอยู่ด้วยความกลัวและการเฉลิมฉลอง  เป็นต้น  แต่เพราะท่านได้กล่าวแนะนำไว้แล้วว่า  ควรวางอุเบกขาต่อศีลในคราวให้ทาน(เสียบ้าง)
  43. บุคคลเข้าใจแจ้งซึ่งสิ่งใดแล้ว ได้ปรารภเพื่อจะทำ (สิ่งนั้น) เขาไม่ควรคิดถึงเรื่องอื่น  ๆ จากสิ่งนั้น  ด้วยจิตภายในอันส่งไปสู่สิ่งนั้นแล้ว  เขาพึงทำสิ่งนั้นให้สำเร็จเท่านั้น
  44. ด้วยว่า สิ่งทั้งปวงย่อมเป็นสิ่งอันบุคคลกระทำดีแล้วอย่างนี้  มิฉะนั้น (ทานและศีล) ทั้งสองจะพึงมีขึ้นมิได้ และแม้แต่ความบกพร่องแห่งสัมปชัญญะ ก็จักถึงซึ่งความเจริญขึ้นอย่างแน่นอน
  45. บุคคลพึงทำลายซึ่งความกระวนกระวายอันมาถึงแล้ว ในเพราะการพูดถึงสิ่งไร้สาระอันมีอย่างต่าง  ๆ  ในการเปลี่ยนแปลงโดยประการต่าง ๆ (และ) ในความปรารถนาอันเร่าร้อนทั้งปวงเสีย
  46. เมื่อได้ระลึกถึงคำสั่งสอนอันเป็นของพระตถาคต บุคคลผู้กลัวแล้ว  พึงละทิ้งซึ่งสิ่งอันไร้ประโยชน์มีการคุ้ยเขี่ยแผ่นดิน  ตัดหญ้าและปล่อยเวลาอันเล็กน้อยให้หมดไป เป็นต้น
  47. เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ใคร่จะเคลื่อนไหวก็ดี เป็นผู้ใคร่จะกล่าวก็ดี  เมื่อนั้น  เขาควรพิจารณาซึ่งจิตของตนเสียก่อน และพึงกระทำซึ่งความถูกต้องเหมาะสมด้วยความอดทน
  48. เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นซึ่งใจอันเป็นของตนว่า  มีความเร่าร้อน (หรือ)  มีอารมณ์เศร้าหมองแล้ว  เมื่อนั้น  เขาไม่ควรจะกระทำ  ไม่ควรกล่าว (ซึ่งถ้อยคำใด ๆ) แต่ควรดำรงมั่นอยู่ประดุจท่อนไม้ฉะนั้น
  49. เมื่อใด จิตเป็นธรรมชาติฟูขึ้นด้วยความหยิ่งยโส  คิดแต่จะพูดจาเยาะเย้ยถากถาง  ประชดเหน็บแนม  โอ้อวดโอหัง  หลอกลวงและคดโกง  อันเป็นผลเนื่องจากความหลงมัวเมาในทิฏฐิ(ของตน)
  50. และเมื่อใด (จิตคิดแต่) ประกาศโอ้อวดซึ่งคุณของตน  คอยจ้องเพ่งโทษผู้อื่น  ชอบหัวเราะเยาะเย้ยและมีอารมณ์โกรธ เมื่อนั้น  บุคคลควรตั้งมั่นอยู่ ประดุจท่อนไม้ฉะนั้น
  51. เมื่อใด จิตของข้าพเจ้า (คิดถึงแต่)  ประโยชน์แห่งลาภ  ความเคารพนับถือและเกียรติยศหรือประโยชน์แห่งบริวารและความจงรักภักดี  เพราะฉะนั้น  ข้าพเจ้าย่อมตั้งมั่นอยู่  ประดุจท่อนไม้ฉะนั้น
  52. (เมื่อใด) จิตของข้าพเจ้าคิดขัดขวางผลประโยชน์ของผู้อื่น  มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ของตนหรือปรารถนา (จะคบหา)  กับหมู่ชน (จิตนั้น)  ย่อมปรารถนาจะกล่าว (ถ้อยคำใด ๆ) ดังนั้น  ข้าพเจ้าจึงตั้งมั่นอยู่ ประดุจท่อนไม้ฉะนั้น
  53. (เมื่อใด จิตของข้าพเจ้า)  ปราศจากความอดทน  มีความเกียจคร้าน  หวาดกลัว  หยิ่งยโสขี้คุยและยึดมั่นอยู่ในทิฏฐิของตน ดังนั้น  ข้าพเจ้าจึงตั้งมั่นอยู่ ประดุจท่อนไม้ฉะนั้น
  54. เมื่อได้พิจารณาถึงความเจ็บปวดทรมาน (แห่งจิต) หรือ (เห็นแจ้งว่า)  จิตนั้นเริ่มคิดที่จะทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์อย่างนี้แล้ว  บุคคลผู้กล้าหาญพึงควบคุมซึ่งจิตนั้นให้มั่นคง  ด้วยการหักห้าม (ซึ่งความคิดเช่นนั้น) ในกาลทุกเมื่อ
  55. จิตที่ตั่งมั่นด้วยดี มีความศรัทธาเลื่อมใส  คงที่  เป็นไปด้วยความเคารพนบน้อมต่อครูบาอาจารย์ มีความละอาย ความกลัวและสงบนั้น  ย่อมเป็นจิตที่ผูกไมตรีผู้อื่น (ให้พอใจ) ไว้ได้
  56. (จิตนั้น) ไม่ควรเบื่อหน่ายต่อความปรารถนาที่ขัดแย้งกันและกันของเด็ก ๆ (แต่) ควรมีความเมตตาสงสาร (ด้วยคิดว่า ) นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเพราะกิเลสของพวกเขาเอง
  57. (จิตนั้น) ควรมีความอ่อนน้อม (ต่อเจตนารมณ์)  ของข้าพเจ้าและสัตว์ทั้งหลายในสถานการณ์ทั้งหลายอันเหมาะสมตลอดกาลเนืองนิตย์(เหตุนั้น)  ข้าพเจ้าย่อมทรงไว้ซึ่งจิตนั้น (ให้มั่นคง)  เหมือนกับการสร้างรูปพิเศษขึ้นโดยปราศจากทิฏฐิความยึดมั่นถือมั่นฉะนั้น
  58. เมื่อได้ระลึกถึงและระลึกถึงอีกซึ่งความประเสริฐ (จากการตั้งมั่นของจิต) เพียงชั่วขณะหนึ่งอันได้รับแล้วโดยกาลเนิ่นนาน ข้าพเจ้าจึงควรทรงไว้ซึ่งจิตอันไม่หวั่นไหวเช่นนี้  ประดุจภูเขาพระสุเมรุ ฉะนั้น
  59. แม้เมื่อถูกอีแร้งตัวละโมบปรารถนาเนื้อได้ฉุดลาก (ร่างกาย ) จากที่นั้นมาที่นี้ ร่างกายก็ยังไม่กระทำโดยประการใด ๆ แล้วทำไมข้าพเจ้าจึงต้องตอบโต้ในเพราะเหตุนี้ด้วยเล่า
  60. แน่ะจิต เพราะเหตุอะไร  เจ้าได้กระทำ * ร่างกายให้เป็นของตนเองแล้ว (ตาม)  รักษาอยู่ซึ่งร่างกายนี้อีกเล่า  หากร่างกายนี้นั้นเป็นสิ่งที่แยกออกจากเจ้าไซร้ เหตุนั้น  ความเสื่อมเสียอะไร ๆ จักมีแก่เจ้าในเพราะเรื่องนี้อีกเล่า
     * หมายถึง  ยึดมั่นถือมั่น
  1. แน่ะจิตผู้โง่เขลา (เพราะเหตุอะไร) เจ้าจึงไม่ยอมมอบตนต่อสิ่งที่ควรสักการบูชาคือ ท่อนไม้ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์ เล่า เพราะเหตุอะไร เจ้าจึงเฝ้ารักษาอยู่ซึ่งเครื่องยนต์ที่เปื่อยเน่า  อันเต็มไปด้วยสิ่งโสโครกปฏิกูลด้วยเล่า
  2. เจ้าจงกระทำการแยกแยะซึ่งแผ่นหนังนี้ ด้วยความคิดของตนเองเสียก่อน(จากนั้น)  เจ้าจงแก้ซึ่งเนื้อออกจากโครงกระดูกด้วยอาวุธคือ  ปัญญา
  3. เมื่อได้แยกแยะแม้ซึ่งกระดูกทั้งหลายแล้ว ก็จงตรวจดูในภายในแห่งโพรงกระดูก  แล้วจงพิจารณาด้วยตนเองนั่นแลว่า  อะไรเป็นสาระในกระดูกนี้ (บ้างหนอ)
  4. เมื่อได้พิจารณาด้วยความเพียรพยายามอย่างนี้แล้ว (และ) สาระในกระดูกนี้ตัวเจ้าก็ไม่ได้เห็น  เจ้าจงกล่าวในบัดนี้ว่า  แม้ในวันนี้ เพราะเหตุไร เจ้าจึงเฝ้ารักษาร่างกายอยู่อีกเล่า
  5. เจ้าไม่ควรเคี้ยวกินซึ่งของอันไม่สะอาด ไม่ควรดื่มซึ่งเลือด  ไม่ควรดูดกินอวัยวะภายใน(กาย) ทั้งหลาย เจ้าจักทำอย่างไรกับร่างกายนี่เล่า
  6. ก็บุคคลควรจะรักษา (ซึ่งร่างกายนั้น) ไว้เพื่อประโยชน์แห่งอาหารของอีแร้งและหมาในด้วยว่าสรีระนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์คุณเครื่องบำเพ็ญ (บุญกุศล) ของมนุษย์ทั้งหลายเท่านั้น
  7. แม้ว่า เจ้าได้รักษา (ร่างกายนั้น ) ไว้อย่างนี้แล้ว  มฤตยูผู้ไร้ความเมตตาปราณี  ก็จะตัดทำลาย (ร่างกายนั้นเสีย)  แล้วจากนั้น (มฤตยู)  ก็จักแบ่งร่างกายให้แก่อีแร้งทั้งหลาย  เจ้าจักกระทำอย่างไรได้เล่า
  8. ลูกจ้างย่อมไม่ให้ซึ่งวัตถุทั้งหลายมี ผ้า  เป็นต้น  ด้วยคิดว่า  เขาจักไม่ดำรงอยู่(อีกต่อไป) ร่างกายเมื่อได้บริโภคแล้วก็จักจากไป  เพราะเหตุอะไร  เจ้าจึงได้กระทำ (การเฝ้ารักษา)  ซึ่งร่างกายอันเปื่อยเน่าอยู่อีกเล่า
  9. แน่ะจิต เพราะฉะนั้น  เมื่อได้ค่าจ้างแก่กายนั้นแล้ว  เจ้าจงกระทำซึ่งประโยชน์ของตนเสียในบัดนี้  เพราะว่า   สิ่งทั้งปวงที่กรรมกรผู้ต้องการค่าจ้างได้รับในภายหลังแล้ว  ย่อมไม่ให้แก่กายนั้น
  10. ด้วยความเคลื่อนไหวไป ๆ  มา  ๆ  (แห่งร่างกาย)  เจ้าเมื่อได้สร้างพุทธิปัญญาดุจลำเรือไว้ในกายแล้ว  ก็จงกระทำกายให้เคลื่อนไหวไปตามความปรารถนา  เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายเถิด
  11. บุคคลผู้มีตัวตนถูกควบคุมไว้ในอำนาจได้อย่างนี้แล้ว พึงเป็นผู้มีหน้าตายิ้มแย้ม  ตลอดกาลเนืองนิตย์  เขาควรสลัดทิ้งซึ้งการทำหน้านิ่วคิ้วขมวดและห่อเหี่ยวเสีย  พึงเป็นผู้มีปกติกล่าวก่อน * เป็นมิตรสหายที่ใจดีของโลก
    * ทักทายคนอื่นก่อนเสมอ
  12. บุคคลไม่ควรขว้างปาซึ่งวัตถุทั้งหลายมี ที่นั่ง   เป็นต้น   พร้อมกับลดเสียงอันดังเสีย   เขาไม่ควรทำประตูให้สั่นไหวและควรเป็นผู้พอใจอยู่กับอาการอันปราศจากเสียง * ในกาลทุกเมื่อ
    * ควรพอใจอยู่ในความเงียบสงบ
  13. นก แมวและหัวขโมย  เป็นผู้ไม่มีเสียง  สงบเสงี่ยมเที่ยวไปอยู่  ย่อมได้รับซึ่งสิ่งที่ตนปรารถนา บุคคลผู้บำเพ็ญตบะพึงประพฤติซึ่งสิ่งที่ควรกระทำอย่างนี้ ตลอดกาลเป็นนิตย์เถิด
  14. บุคคลพึงน้อมรับซึ่งคำสั่งสอนของท่านผู้มีความสามารถในการแนะนำผู้อื่น (และ) ผู้มีความเมตตากรุณาโดยปราศจากการร้องขอด้วยความเคารพ  เขาพึงเป็นลูกศิษย์ของสัตว์ทั้งปวงในกาลทุกเมื่อ
  15. บุคคลพึงกล่าวสรรเสริญซึ่งคำสาธุการในสัตว์ผู้กล่าวดีทั้งหลาย เมื่อได้มองเห็นซึ่งบุคคลผู้บำเพ็ญบุญกุศลแล้ว  เขาควรยินดีปรีดาด้วยคำสดุดีทั้งหลาย
  16. อนึ่ง บุคคลพึงกล่าวซึ่งคุณอันไม่ปรากฏของผู้อื่น * และพึงกล่าวตาม (ซึ่งคุณนั้น) ด้วยความยินดีพอใจ  เมื่อคุณอันประเสริฐของตนถูก (คนอื่น) กล่าวถึงอยู่  เขาจงเข้าใจ (รู้เท่าทัน) ซึ่งคุณนั้นว่า  มันพึงเป็นสิ่งที่มีอยู่
    * คุณอันน้อยนิดของผู้อื่น
  1. ก็การบำเพ็ญเพียรทั้งปวงนั้น เป็นจุดมุ่งหมายแห่งความยินดีปรีดา  เป็นสิ่งอันบุคคลพึงได้โดยยาก  แม้ด้วยทรัพย์สมบัติทั้งหลาย  เพราะฉะนั้น  ข้าพเจ้าย่อมบริโภคซึ่งความสุขอันเกิดจากความยินดีด้วยคุณทั้งหลาย ซึ่งได้บำเพ็ญไว้ด้วยความเหนื่อยยากลำบากแก่ผู้อื่น
  2. ความเสื่อมย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ และความสุขอย่างใดอย่างหนึ่งจำนวนมากย่อมมีในโลกหน้า  แต่หากบุคคลเป็นผู้รังเกียจซึ่งความทุกข์ด้วยความอาฆาตแค้น  ความทุกข์จำนวนมากก็จักมี (แก่เขา) ในโลกหน้า
  3. บุคคลพึงกล่าวซึ่งบทอันน่าเชื่อถือและเที่ยงตรง อันเป็นบทที่มีประโยชน์ต่อความแจ่มแจ้งชัดเจน น่าเพลิดเพลินใจ มีความสุขในการได้ฟัง  ประกอบด้วยความกรุณาสงสาร มีน้ำเสียงอันอ่อนโยนและนุ่มนวล
  4. บุคคลพึงมองดูซึ่งสัตว์ทั้งหลายด้วยสายตาที่ซื่อตรงจริงใจ ในกาลทุกเมื่อ  ประหนึ่งว่า  ดื่มอยู่ด้วยกัน  ฉะนั้น  เพราะได้อาศัยซึ่งสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง  ความเป็นพระพุทธเจ้าจักมีแก่ข้าพเจ้า
  5. บุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ที่เกิดขึ้นจากศรัทธาอันต่อเนื่อง และเกิดขึ้นมาจากอุปสรรคขวากหนามย่อมมีในอาณาจักรแห่งคุณธรรม * แห่งผู้มีอุปการะ ** และในความทุกข์
    * หมายถึง  พระพุทธโพธิสัตว์

       ** มีมารดา บิดา เป็นต้น

  1. บุคคลพึงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ถึงพร้อมด้วยความขยัน  มีปกติกระทำด้วยตนเอง  ในกาลทุกเมื่อ  โอกาสในการทั้งปวงอันใคร  ๆ ไม่ควรสละทิ้งเสีย
  2. บารมีทั้งหลายมี ทานบารมี เป็นต้น เป็นสิ่งประเสริฐล้ำเลิศกว่าสิ่งอื่น  ๆ ทั้งหมด  บุคคลไม่พึงละซึ่งทานอันยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่สิ่งอันเล็กน้อย (เพราะ) ข้อปฏิบัติ (อาจาระ) อื่น  ๆ เป็นเพียงสะพานแห่งปัญญาเท่านั้น
  3. เมื่อได้รู้แจ้งอย่างนี้แล้ว บุคคลควรมีความอดทนในประโยชน์ของผู้อื่นโดยต่อเนื่อง  แม้ว่ากฎข้อห้ามจะถูกพระผู้ทรงเมตตากรุณา  ผู้มองเห็นซึ่งประโยชน์ (ของคนอื่น) ได้อนุญาตไว้แล้ว (ก็ตาม)
  4. เมื่อได้แบ่ง (ซึ่งวัตถุ) ให้กับผู้ที่ตกอยู่ในวินิบาตภูมิ  ผู้ไม่มีที่พึ่งพิงและผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในพรตแล้ว  บุคคลควรบริโภคแต่พอประมาณ เว้นซึ่งจีวร 3 ผืน  เขาควรสละสิ่งทั้งปวงเสีย
  5. บุคคลไม่ควรเบียดเบียนซึ่งร่างกายที่อาศัยส่องเสพพระสัทธรรม เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นเพราะว่า (เมื่อปฏิบัติ)  ได้อย่างนี้แล้ว  เขาพึงกระทำความหวังของสัตว์ทั้งหลายให้เต็มบริบูรณ์ได้โดยพลัน
  6. ดังนั้น บุคคลไม่ควรสละซึ่งชีวิตแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในความกรุณาอันไม่บริสุทธิ์   แต่ว่า  เขาย่อมไม่ควรละทิ้งการสละชีวิตเช่นนั้น  แก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในภาวะที่เหมาะสม
  7. บุคคลไม่พึงกล่าว (สอน) ซึ่งธรรมแก่ผู้ไม่มีความเคารพ ผู้ไม่เจ็บป่วย  ผู้โพกผ้าไว้บนศีรษะและไม่ควรกล่าวสอนแก่ผู้ที่กั้งร่ม  ถือไม้เท้า  มีอาวุธและผู้ที่มีผ้าคลุมอยู่บนศีรษะ
  8. บุคคลไม่พึงกล่าวสอนซึ่งธรรมอันละเอียดลึกซึ้งและสูงส่งในสตรีทั้งหลายแม้เล็กน้อย โดยปราศจากซึ่งบุรุษ (อยู่ใกล้ ๆ)   เขาควรประพฤติความเคารพในธรรมทั้งหลายทั้งที่เลวและสูงส่งให้สม่ำเสมอกัน
  9. แต่ว่า บุคคลไม่พึงประกอบซึ่งภาชนะคือธรรมอันสูงส่งไว้ในธรรมอันเลว  และเมื่อได้สลัดทิ้งซึ่งอาจาระนั้นแล้ว  เขาไม่ควรหลอกลวงด้วยสูตรและมนตร์ทั้งหลาย
  10. (บุคคลไม่ควรกระทำ) การปล่อยทิ้งซึ่งไม้ชำระฟันและการบ้วนซึ่งเสมหะ  และแม้แต่มูตรเป็นต้น  อันบุคคลได้โยนทิ้งลงในน้ำและบนบกอันควรแก่การใช้สอย ย่อมเป็นสิ่งน่าเกียจ
  11. บุคคลไม่พึงบริโภค (ซึ่งอาหาร) ที่ยังเต็มปาก  มีเสียงดัง  มีปากอันเปิดอยู่ เขาไม่พึงนั่ง (ในขณะที่) เท้ายังห้อยโหนอยู่ ไม่พึงพับแขนทั้งสองให้เสมอกัน
  12. บุคคลไม่พึงกระทำซึ่งการไป การนอนและการนั่ง  กับสตรีของผู้อื่นโดยส่วนเดียว  เมื่อได้พิจารณาเห็นและซักถามสิ่งทั้งปวง อันเป็นที่รังเกียจของชาวโลกแล้ว  เขาควรหลีกไปเสีย
  13. บุคคลไม่พึงกระทำซึ่งสิ่งใด ๆ ด้วยนิ้วมือ แต่ (ควรกระทำ ) ซึ่งความเคารพด้วยมือขวา  เขาควรแสดงแม้ซึ่งหนทางด้วยมือทั้งหมดนั่นแล
  14. บุคคลไม่ควรกล่าวถ้อยคำใด ๆ (พร้อม  ๆ กับ)  การเหวี่ยงไปแห่งแขนในเรื่องเร่งรีบอันเล็กน้อย  แต่เขาควรกระทำซึ่งกิริยาท่าทางมี  การดีดนิ้ว  เป็นต้น  หากมิฉะนั้น  เขาจะเป็นผู้ไม่สงบสำรวม
  15. บุคคลพึงนอนลงบนที่นอนดุจเดียวกับการปรินิพพานของพระนาถเจ้า โดย (หันหน้า ) ไปในทิศที่ตนปรารถนา มีสัมปชัญญะ มีความตั้งใจอันแน่วแน่ว่า  จะลุกขึ้นโดยเร็ว
  16. อาจาระอันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายได้ยกแสดงไว้แล้ว เป็นสิ่งที่หาประมาณมิได้ ดังนั้นบุคคลพึงประพฤติซึ่งอาจาระอันเป็นเครื่องชำระจิตใจ (ให้บริสุทธิ์ ) ตลอดกาลเป็นนิตย์
  17. บุคคลพึงประพฤติซึ่งบททั้ง 3 * ตลอดทั้ง3 กาล ทั้งในกลางคืนและกลางวัน  ด้วยการประพฤติเช่นนั้น (และ)  ด้วยการอาศัยซึ่งโพธิจิตและพระชินเจ้า  อาบัติที่เหลือย่อมสงบระงับไปได้
    * บททั้ง  ๓ คือ  ปาปเทศนา ปุณฺยานุโมทนา และโพธิปริณามนา
  18. บุคคลพึงประสบซึ่งสถานการณ์เหล่าใด ทั้งโดยตนเองหรือมูลเหตุอื่น  ๆ (และ) คำสั่งสอนเหล่าใดมีอยู่ เขาผู้มีความเพียรพยายามพึงศึกษาซึ่งคำสอนเหล่านั้นในสถานการณ์นั้น  ๆ
  19. ด้วยว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุตรพระชินเจ้าทั้งหลายมิเคยได้ศึกษา  สิ่งนั้น  ๆ  ย่อมไม่มี  บุญกุศลใดเป็นสิ่งไม่มีอยู่แก่คนเช่นนั้น  บุญกุศลนั้นย่อมไม่มี
  20. บุคคลไม่พึงประพฤติสิ่งอื่น ๆ อัน (ไม่เป็น ) ประโยชน์ของสัตว์ ทั้งโดยจารีตประเพณีหรือโดยการประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง เขาพึงนอบน้อมซึ่งสิ่งทั้งปวง เพื่อประโยชน์ของสรรพสัตว์ทั้งหลายและเพื่อการตรัสรู้
  21. บุคคลไม่พึงละทิ้งซึ่งกัลยาณมิตร ผู้ทรงไว้ซึ่งพรตข้อปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ และผู้ฉลาดในประโยชน์ของมหายาน แม้เพื่อประโยชน์ของชีวิต (แห่งตน) ในกาลทุกเมื่อ
  22. บุคคลพึงศึกษาซึ่งข้อปฏิบัติของครู โดย (คำแนะนำจาก ) ศรีสัมภววิโมกษสูตร และเขาพึงรู้ซึ่งข้อปฏิบัตินั้นและอื่น ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้แล้ว  โดยการสาธยายไว้ในที่สุดแห่งพระสูตร
  23. คำสั่งสอนทั้งหลายในพระสูตรทั้งหลายอันบุคคลเห็นอยู่ เพราะฉะนั้น  เขาควรสาธยายซึ่งพระสูตรทั้งหลาย และควรพิจารณาซึ่งอาบัติชั้นมูลฐานทั้งหลายในอากาศครรภสูตร
  24. อนึ่ง บุคคลพึงพิจารณาตรวจดูซึ่งศึกษาสมุจจัย  โดยไม่ต้องสงสัยบ่อย  ๆ  เพราะว่า  ในศึกษาสมุจจัยนั้น  อาจาระอันดีได้แสดงไว้แล้วโดยละเอียด
  25. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลพึงพิจารณาดูซึ่งสูตรสมุจจัย  อันเป็นคู่มือที่ประพันธ์โดยนาคารชุนผู้ประเสริฐด้วยบทอันย่นย่อ  โดยความพยายามบากบั่นก่อน
  26. คำสั่งสอนใดอันเขาห้ามอยู่ และคำสั่งสอนใดอันบุคคลประกอบอยู่ เขาเมื่อได้พิจารณาเห็นแล้วซึ่งคำสั่งสอนทั้งหลายเหล่านั้น  ก็ควรประพฤติให้ดีเพื่อประโยชน์แห่งการรักษาซึ่งจิตในโลก
  27. สถานภาพแห่งกายและจิตทั้งหลายเหล่าใด อันบุคคลพิจารณาดูอยู่แล้วบ่อย  ๆ  โดยสรุปสิ่งนั้นย่อมเป็นลักษณะแห่งสัมปชัญญะนั่นเอง
  28. ดังนั้น ข้าพเจ้าจักอ่านด้วยกายนั่นแล  แต่ว่าประโยชน์อะไรจะพึงมีด้วยการพูดและการอ่านเล่า ประโยชน์อะไรจักมีแก่โรคด้วยเหตุเพียงการอ่านตำรายาเท่านั้นเล่า

อ้างอิง (Reference)

Audio Source: 
http://www.bodhisvara.com/

Text Source: 

http://www.dsbcproject.org/node/4811

Text Version: 

Devanāgarī

Input Personnel: 

DSBC Staff

Input Date: 

2005

Proof Reader: 

Miroj Shakya

Supplier: 

Nagarjuna Institute of Exact Methods

Sponsor: 

University of the West

อ้างอิง

1. Digital Sanskrit Buddhist Canon, 2013, Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.dsbcproject.org[2016, May 26].

2. BODHISVARA, 2013, Śāntideva’s Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.bodhisvara.com/[2016, May 26].

3.พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ, 2549, การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร , วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า ภาคผนวก ข คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร ฉบับแปล

อ่านเอกสารตัวเต็มจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/PhramahaVichan_Kamnerdklab/Fulltext.pdf

เพื่อการศึกษาภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
แสดงที่มาข้อมูลที่มาของแหล่งเอกสาร-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0  (CC BY-NC-ND 4.0)

Loading

Be the first to comment on "คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๕"

Leave a comment