เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต
คาถาว่าด้วยที่พึ่งอันประเสริฐได้แก่พระรัตนตรัย

 

หากท่านใดเคยทำวัตรสวดมนต์ หรือเห็นในหนังสือสวดมนต์ทั่วไป ก็คงจะรู้จักเขมาเขมสรณทีปิกคาถา หรืออาจจะผ่านตากันมาบ้างนะครับ เขมาเขมสรณทีปิกคาถา เนื้อหาเกี่ยวกับ ที่พึ่งอันประเสริฐ ได้แก่พระรัตนตรัย เป็นพระคาถาหนึ่ง ที่ปรากฎในคัมภีร์พุทธศาสนาทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายาน เท่าที่ผมค้นหามีปรากฎในคัมภีร์ดังต่อไปนี้

– คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔ ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก นิกายเถรวาท

– ปราติหารยสูตร ในคัมภีร์ทิวยาวทาน นิกายสรรวาสติวาท

– คัมภีร์อภิธรรมโกศะ เป็นพระอภิธรรมของ นิกายสรรวาสติวาท ประพันธ์โดย พระวสุพันธุ แต่ภายหลังท่านย้ายไปเป็นฝ่ายมหายาน ในสำนักคิดโยคาจาร

– คัมภีร์ศรณคมนเทศนา ซึ่งเป็นคัมภีร์ในหมวดศาสตรปิฏก ของฝ่ายมหายาน สำนักคิดมัธยมกะ ประพันธ์โดย พระทีปังกรศรชญาณ

ภายหลังเมื่อมหายานพัฒนาเต็มรูป แล้ว ฝ่ายมหายานได้นำคัมภีร์ของนิกายสรวาสติวาท(รวมถึงนิกายมูลสรวาสติวาท) ไปใช้ด้วย จะเห็นได้ชัดที่สุด โดยเฉพาะพุทธศาสนามหายานฝ่ายธิเบตซึ่งภายหลังพัฒนาเป็น วัชรยาน ปัจจุบันภิกษุเหล่านี้ยังใช้วินัยกรรมของฝ่ายนิกายสรวาสติวาทอยู่

ผมจะยกข้อความเปรียบเทียบเขมาเขมสรณทีปิกคาถา โดยเนื้อหามีดังต่อไปนี้ครับ

 

 

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ภาษาบาลี
คำแปลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง
คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔ ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก


बहुं वे सरणं यन्ति पब्बतानि वनानि च ।
आरामरुक्खचेत्यानि मनुस्सा भयतज्जिता ॥
พหุํ เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ ฯ
อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา ๚

มนุษย์เป็นอันมากแล, ถูกภัยคุกคามแล้ว,
ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์, ว่าเป็นที่พึ่ง

नेतं खो सरणं खेमं नेतं सरणमुत्तमं ।
नेतं सरणमागम्म सब्बदुक्खा पमुच्चति ॥
เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ ฯ
เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ๚

ที่พึ่งนั้นแล, ไม่เกษม, ที่พึ่งนั้นไม่อุดม,
เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น, ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

यो च बुद्धञ्च धम्मञ्च सङ्घञ्च सरणं गतो ।
चत्तारि अरियसच्चानि सम्मप्पञ्ञाय पस्सति ॥
โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ฯ
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ๚

ส่วนผู้ใด, ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์,
ว่าเป็นที่พึ่ง, ย่อมเห็นอริยสัจ ๔

दक्खं दुक्खसमुप्पादं दुक्खस्स च अतिक्कमं ।
अरियञ्चट्ठङ्गिकं मग्गं दुक्खूपसमगामिनं ॥
ทกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ ฯ
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ ๚

คือทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงทุกข์,
และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘,
อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ด้วยปัญญาอันชอบ

एतं खो सरणं खेमं एतं सरणमुत्तमं ।
एतं सरणमागम्म सब्बदुक्खा पमुच्चति ॥
เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ ฯ
เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ๚

ที่พึ่งนั้นแล, เป็นที่พึ่งอันเกษม, ที่พึ่งนั้นอุดม,
เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น, ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ

 


เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ภาษาสันสกฤต
คำแปลจากวิทยานิพนธ์วิเคราะห์คัมภีร์ทิวยาวทาน


बहवः शरणं यान्ति पर्वतांश्च वनानि च ।
आरामांश्चैत्यवृक्षांश्च मनुष्या भयतर्जिताः ॥
พหวะ ศรณํ ยานฺติ ปรฺวตําศฺจ วนานิ จ ฯ
อารามําศฺไจตฺยวฺฤกฺษําศฺจ มนุษฺยา ภยตรฺชิตาะ ๚

– เหล่ามนุษย์จำนวนมาก ผู้ถูกภัยเอาชนะคุกคามแล้วย่อมถึงภูเขาบ้าง
ป่าบ้าง สวนบ้าง เจดีย์บ้าง ต้นไม้บ้างว่าเป็นศรณะ

न ह्येतच्छरणं श्रेष् नैतच्छरणमुत्तमम् ।
नैतच्छरणमागम्य सर्वदुःखात् प्रमुच्यते ॥
น หฺเยตจฺฉรณํ เศฺรษฺ ไนตจฺฉรณมุตฺตมมฺ ฯ
ไนตจฺฉรณมาคมฺย สรฺวทุะขาตฺ ปฺรมุจฺยเต ๚

– แท้จริงแล้วศรณะ (คือ ภูเขา เป็นต้น) นี้หาใช่เป็นศรณะอันประเสริฐไม่
หาใช่เป็นศรณะอันสูงสุดไม่ เหล่ามนุษย์ถึงศรณะนี้แล้วก็จะไม่พ้นจากทุกข์ทั้งมวล

यस्तु बुद्धं च धर्मं च संघंच शरणं गतः ।
आर्यसत्यानि चत्वारि पश्यति प्रज् या यदा ॥
ยสฺตุ พุทฺธํ จ ธรฺมํ จ สํฆํจ ศรณํ คตะ ฯ
อารฺยสตฺยานิ จตฺวาริ ปศฺยติ ปฺรชฺ ยา ยทา ๚

แต่เมื่อบุคคลผู้ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์ว่าเป็นศรณะ ย่อมเห็นอารยสัตย์ 4

दुःखं दुःखसमुत्पन्नं निरोधं समतिक्रमम् ।
आर्यं चाष्टाङ्गिकं मार्गं केฺषमं निर्वाणगामिनाम् ॥
ทุะขํ ทุะขสมุตฺปนฺนํ นิโรธํ สมติกฺรมมฺ ฯ
อารฺยํ จาษฺฏางฺคิกํ มารฺคํ เกฺษมํ นิรฺวาณคามินามฺ ๚

(คือ) ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และอารยอัษฎางคิกมรรค
อันเกษม อันเป็นทางนำไปสู่นิรวาณตามลำดับ

एत (दैฺव) शरणं श्रेष् मेतच्छरणमुत्तमम् ।
एतच्छरणमागम्य सर्वदुःखात्प्रमुच्यते ॥
เอต (ไทฺว) ศรณํ เศฺรษฺ เมตจฺฉรณมุตฺตมมฺ ฯ
เอตจฺฉรณมาคมฺย สรฺวทุะขาตฺปฺรมุจฺยเต ๚

ศรณะ (คือ พระพุทธ เป็นต้น) นี้เป็นศรณะประเสริฐสุด
ศรณะนี้เป็นศรณะที่สูงสุด บุคคลถึงศรณะนี้แล้วจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง


อ้างอิง

ฉากประณิธิเลขที่ 14 (Praṇidhi scene No. 14)
เป็นภาพสมัยศวรรตที่ 9 ภาพแสดงหมู่พุทธบริษัทหลายชาติพันธุ์ในเมืองเตอร์ฟาน(Turfan) กำลังคุกเข่ากำลังเคารพสักการะพระพุทธเจ้า จาก ถ้ำสหัสพุทธเบเซลิค เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน
คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php…
คัมภีร์ทิวยาวทาน
http://gretil.sub.uni-goettingen.de/…/4_…/buddh/divyav_u.htm
คัมภีร์อภิธรรมโกศะ
http://www.mldc.cn/sanskritweb/resour/etext/abhk4.html
คัมภีร์ศรณคมนเทศนา
http://www.dsbcproject.org/canon-text/content/250/1078
การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ทิวยาวทานเรื่องที่1-19, นางสาวปัทมา นาควรรณ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp…

Loading

Be the first to comment on "เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต"

Leave a comment