มันทากรานตา (มนฺทากฺรานฺตา)

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

มันทากรานตา (มนฺทากฺรานฺตา मन्दाक्रान्ता mandākrāntā) เป็นฉันท์ในตระกูลนับพยางค์ (วฺฤตฺต) ในกลุ่มพยางค์เท่ากันทุกวรรค (สมวฺฤตฺต) ชนิด ๑๗ พยางค์ (อตฺยษฺฏี)

 

คำว่า “มนฺทากฺรานฺตา” หมายถึง การก้าวไปอย่างนุ่มนวล ฉันท์นี้กาลิทาสใช้ในการแต่งกาวยะเรื่องเมฆทูตตลอดทั้งเรื่อง

 

ฉันท์ชนิดนี้มีความยาวมากต่อหนึ่งบาท คือ ๑๗ พยางค์ และมีช่วงลฆุติดต่อกัน ๕ คำ จึงนับว่าแต่งยากอีกฉันท์หนึ่ง

 

คัมภีร์วฤตตรัตนากรให้นิยามและตัวอย่างดังนี้

 

“มนฺทากฺรานฺตา ชลธิษฑไครฺมฺเภา นเตา ตาทฺ คุรู เจตฺ ฯ” ๓.๙๘

 

โดยมี “ยติ” หรือตำแหน่งหยุด (อค) ที่พยางค์ที่สี่ (ชลธิ แปลว่ามหาสมุทร ใช้แทนเลข ๔) และพยางค์ที่ ๑๐ (นับอีกหก, ษฑฺ) และท้ายบาท

 

คณะของฉันท์คือ ม ภ น ต ต, ค ค.

 

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ให้ตัวอย่างดังนี้

“มนฺทากฺรานฺตา มฺเภา นฺเตา ตฺเคา ค สมุทฺรรฺตุสฺวราะ ฯ” ๗.๑๙

 

ตัวอย่างจากเมฆทูต ปูรฺวเมฆ บทที่ ๑

कश्चित्कान्ताविरहगुरुणा स्वाधिकारात्प्रमत्तः

शापेनास्तंगमितमहिमा वर्षभोग्येण भर्तुः

यक्षश्चक्रे जनकतनयास्नानपुण्योदकेषु

स्निग्धच्छायातरुषु वसतिं रामगिर्याश्रमेषु॥१.१॥

 

กศฺจิตฺกานฺตาวิรหคุรุณา สฺวาธิการาตฺปฺรมตฺตะ

ศาเปนาสฺตํคมิตมหิมา วรฺษโภคฺเยณ ภรฺตุะ ฯ

ยกฺษศฺจกฺเร ชนกตนยาสฺนานปุณฺโยทเกษุ*

สฺนิคฺธจฺฉายาตรุษุ วสตึ รามคิรฺยาศฺรเมษุ** ๚

 

หมายเหตุ.

*(เก)ษุ และ *(เม)ษุ รูปเป็นลฆุ แต่กวีใช้เป็น คุรุได้, เพราะเป็นพยางค์ท้ายบาท .

มันทากรานตา

Loading

Be the first to comment on "มันทากรานตา (มนฺทากฺรานฺตา)"

Leave a comment