ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับวิสตระมาตฤกา[ฉบับใหญ่]

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับวิสตระมาตฤกา
สำนวนในมหายานสูตรสังครหะ

s__3194883

พระพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับนั่งบนวงขนดของมุจจลินท์นาคราช
พร้อมพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ซ้าย) และพระปรัชญาปารมิตาโพธิสัตว์ (ขวา)

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร เป็นพระสูตรขนาดเล็ก ในหมวดปรัชญาปารมิตาของพระไตรปิฎกฝ่ายมหายาน พระสูตรหมวดนี้ ที่เน้นการใช้ปัญญาในการนำพาสู่ฝั่งข้างโน้น อันได้แก่พระนิพพาน ประกาศหลักอนัตตาซึ่งเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรในมหายานสูตรสังครหะ นั้นมีสองฉบับคือ ฉบับสังกษิปตะมาตฤกาและฉบับวิสตระมาตฤกา  จากคราวที่แล้วได้นำเสนอปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา ไปแล้วคราวนี้ขอเสนอ ฉบับวิสตระมาตฤกา  เนื้อหาในจะมี 3 ส่วนคือ 1.ส่วนเสียงอ่าน 2.ภาคปริวรรตและแปล อักษรไทยแบบปรับรูป [สำหรับอ่านของบุคคลทั่วไป] ใช้ตัวหนังสือสีน้ำเงิน


2

ต้นฉบับอักษรเทวนาครี จากโครงการ Digital Sanskrit Buddhist Canon

[กดฟังเสียงอ่าน หากยังไม่มีเสียงให้ รีเฟรชอีกครั้ง]


प्रज्ञापारमिताहृदयसुत्रम्।
ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสุตฺรมฺฯ
ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสุตรัมฯ
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

[विस्तरमातृका]
[วิสฺตรมาตฤกา]
[วิสตะระมาตฤกา]
[ฉบับใหญ่]

॥नमः सर्वज्ञाय॥
๚นมะ สรฺวชฺญาย๚
๚นะมะห์ สรรวะชญายะ๚


ขอน้อบน้อมแด่พระผู้สัพพัญญู พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต


एवं मया श्रुतम्।
เอวํ มยา ศฺรุตมฺฯ
เอวัม มะยา ศรุตัมฯ

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

एकस्मिन् समये भगवान् राजगृहे विहरति स्म गृध्रकूटे पर्वते
महता भिक्षुसंघेन 
सार्धं महता च बोधिसत्त्वसंघेन।

เอกสฺมินฺ สมเย ภควานฺ ราชคฤเห วิหรติ สฺม คฤธฺรกูเฏ
ปรฺวเต มหตา ภิกฺษุสํเฆน สารฺธํ มหตา จ โพธิสตฺตฺวสํเฆนฯ
เอกัสมิน สะมะเย ภะคะวาน ราชะคฤเห วิหะระติ สมะ คฤธระกูเฏ
ปรรวะเต มะหะตา
ภิกษุสังเฆนะ สารธัม มะหะตา จะ โพธิสัตตวะสังเฆนะฯ

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ พระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่

तेन खलु समयेन भगवान् गम्भीरावसंबोधं नाम समाधिं समापन्नः।
เตน ขลุ สมเยน ภควานฺ คมฺภีราวสํโพธํ นาม สมาธิํ สมาปนฺนะฯ
เตนะ ขะลุ สะมะเยนะ ภะคะวาน คัมภีราวะสัมโพธัม นามะ สะมาธิม สะมาปันนะห์ฯ

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าสมาธิชื่อว่า คัมภีราวสัมโพธะ

तेन च समयेन आर्यावलोकितेश्वरो बोधिसत्त्वो महासत्त्वो गम्भीरायां 
प्रज्ञापारमितायां चर्यां चरमाणः एवं व्यवलोकयति स्म।
เตน จ สมเยน อารฺยาวโลกิเตศฺวโร โพธิสตฺตฺโว มหาสตฺตฺโว
คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรมาณะ เอวํ วฺยวโลกยติ สฺมฯ
เตนะ จะ สะมะเยนะ อารยาวะโลกิเตศวะโร โพธิสัตตโว มะหาสัตตโว
คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จะระมาณะห์ เอวัม วยะวะโลกะยะติ สมะฯ

โดยสมัยเดียวกันนั้นแล พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง (ปัญญาบารมี คุณชาติที่ทำให้ลุถึงฝั่งแห่งปัญญา) 

पञ्च स्कन्धांस्तांश्च स्वभावशून्यं व्यवलोकयति॥
ปญฺจ สฺกนฺธําสฺตําศฺจ สฺวภาวศูนฺยํ วฺยวโลกยติ๚
ปัญจะ สกันธามสตามศจะ สวะภาวะศูนยัม วยะวะโลกะยะติ๚

คือได้พิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ

अथायुष्मान् शारिपुत्रो बुद्धानुभावेन आर्यावलोकितेश्वरं बोधिसत्त्वमेतदवोचत्- यः कश्चित्
कुलपुत्रो [वा कुलदुहिता वा अस्यां] गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चर्तुकामः,कथं शिक्षितव्यः ? 

อถายุษฺมานฺ ศาริปุโตฺร พุทฺธานุภาเวน อารฺยาวโลกิเตศฺวรํ โพธิสตฺตฺวเมตทโวจตฺ- ยะ กศฺจิตฺ
กุลปุโตฺร [วา กุลทุหิตา วา อสฺยํา] คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรฺตุกามะ,กถํ ศิกฺษิตวฺยะ ?
อะถายุษมาน ศาริปุโตร พุทธานุภาเวนะ อารยาวะโลกิเตศวะรัม โพธิสัตตวะเมตะทะโวจัต- ยะห์ กัศจิต
กุละปุโตร [วา กุละทุหิตา วา อัสยาม] คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จรรตุกามะห์, กะถัม ศิกษิตะวยะห์ ?

ลำดับนั้นพระสารีบุตรผู้มีอายุ ได้กล่าวกับพระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ด้วยพุทธานุภาพว่า
กุลบุตร (หรือ กุลธิดาใดๆ) ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้งนั้นจะพึงศึกษาอย่างไร ?

एवमुक्ते आर्यावलोकितेश्वरो बोधिसत्त्वो महासत्त्वः आयुष्मन्तं शारिपुत्रमेतदवोचत्- यः कश्चिच्छारिपुत्र कुलपुत्रो व कुलदुहिता वा [अस्यां] गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चर्तुकामः,
เอวมุกฺเต อารฺยาวโลกิเตศฺวโร โพธิสตฺตฺโว มหาสตฺตฺวะ อายุษฺมนฺตํ ศาริปุตฺรเมตทโวจตฺ- ยะ กศฺจิจฺฉาริปุตฺร กุลปุโตฺร ว กุลทุหิตา วา [อสฺยํา] คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรฺตุกามะ,
เอวะมุกเต อารยาวะโลกิเตศวะโร โพธิสัตตโว มะหาสัตตวะห์ อายุษมันตัม ศาริปุตระเมตะทะโวจัต- ยะห์ กัศจิจฉาริปุตระ กุละปุโตร วะ กุละทุหิตา วา [อัสยาม] คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จรรตุกามะห์,

พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ อันพระสารีบุตรผู้มีอายุได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวตอบว่า ท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใด ๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง

तेनैवं व्यवलोकितव्यम्-पञ्च स्कन्धांस्तांश्च स्वभावशून्यान् समनुपश्यति स्म।
เตไนวํ วฺยวโลกิตวฺยมฺ-ปญฺจ สฺกนฺธําสฺตําศฺจ สฺวภาวศูนฺยานฺ สมนุปศฺยติ สฺมฯ
เตไนวัม วยะวะโลกิตะวยัม-ปัญจะ สกันธามสตามศจะ สวะภาวะศูนยาน สะมะนุปัศยะติ สมะฯ

เขาพึงพิจารณาอย่างนี้  คือพิจารณาขันธ์ ๕ ว่า มีความสูญโดยสภาพ 

रूपं शून्यता, शून्यतैव रूपम्।
รูปํ ศูนฺยตา, ศูนฺยไตว รูปมฺฯ
รูปัม ศูนยะตา, ศูนยะไตวะ รูปัมฯ

รูปคือความสูญ  ความสูญนั่นแหละคือรูป 

रूपान्न पृथक् शून्यता, शून्यताया न पृथग् रूपम्।
รูปานฺน ปฤถกฺ ศูนฺยตา, ศูนฺยตายา น ปฤถคฺ รูปมฺฯ
รูปานนะ ปฤถัก ศูนยะตา, ศูนยะตายา นะ ปฤถัค รูปัมฯ

รูปไม่อื่นไปจากความสูญ ความสูญไม่อื่นไปจากรูป 

यद्रूपं सा शून्यता, या शून्यता तद्रूपम्।
ยทฺรูปํ สา ศูนฺยตา, ยา ศูนฺยตา ตทฺรูปมฺฯ
ยัทรูปัม สา ศูนยะตา, ยา ศูนยะตา ตัทรูปัมฯ

รูปอันใดความสูญก็อันนั้น  ความสูญอันใดรูปก็อันนั้น 

एवं वेदनासंज्ञासंस्कारविज्ञानानि च शून्यता।
เอวํ เวทนาสํชฺญาสํสฺการวิชฺญานานิ จ ศูนฺยตาฯ
เอวัม เวทะนาสัญชญาสัมสการะวิชญานานิ จะ ศูนยะตาฯ

อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีความสูญเป็นสภาพอย่างเดียวกัน

एवं शारिपुत्र सर्वधर्माः शून्यतालक्षणा
เอวํ ศาริปุตฺร สรฺวธรฺมาะ ศูนฺยตาลกฺษณา
เอวัม ศาริปุตระ สรรวะธรรมาห์ ศูนยะตาลักษะณา

ดูก่อน ท่านสารีบุตร ก็สรรพธรรมทั้งปวงมี ความสูญเป็นลักษณะ


अनुत्पन्ना अनिरुद्धा अमला विमला अनूना असंपूर्णाः।

อนุตฺปนฺนา อนิรุทฺธา อมลา วิมลา อนูนา อสํปูรฺณาะฯ
อะนุตปันนา อะนิรุทธา อะมะลา วิมะลา อะนูนา อะสัมปูรณาห์ฯ

ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้

तस्मात्तर्हि शारिपुत्र शून्यतायां
ตสฺมาตฺตรฺหิ ศาริปุตฺร ศูนฺยตายํา
ตัสมาตตรรหิ ศาริปุตระ ศูนยะตายาม

เพราะฉะนั้นแหละท่านสารีบุตร ในความสูญนั้นจึง

न रूपम्, न वेदना, न संज्ञा, न संस्काराः, न विज्ञानम्,
น รูปมฺ, น เวทนา, น สํชฺญา, น สํสฺการาะ, น วิชฺญานมฺ,
นะ รูปัม, นะ เวทะนา, นะ สัญชญา, นะ สัมสการาห์, นะ วิชญานัม,

ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ

न चक्षुर्न श्रोत्रं न घ्राणं न जिह्वा न कायो न मनो
น จกฺษุรฺน โศฺรตฺรํ น ฆฺราณํ น ชิหฺวา น กาโย น มโน
นะ จักษุรนะ โศรตรัม นะ ฆราณัม นะ ชิหวา นะ กาโย นะ มะโน

 ไม่มีตา ไม่มีหู ไม่มีจมูก ไม่มีลิ้น ไม่มีกาย ไม่มีใจ

न रूपं न शब्दो न गन्धो न रसो न स्प्रष्टव्यं न धर्मः।
น รูปํ น ศพฺโท น คนฺโธ น รโส น สฺปฺรษฺฏวฺยํ น ธรฺมะฯ
นะ รูปัม นะ ศัพโท นะ คันโธ นะ ระโส นะ สปรัษฏะวยัม นะ ธรรมะห์ฯ

ไม่มีรูป ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสัมผัส ไม่มีธรรมารมณ์

न चक्षुर्धातुर्यावन्न मनोधातुर्न धर्मधातुर्न मनोविज्ञानधातुः।
น จกฺษุรฺธาตุรฺยาวนฺน มโนธาตุรฺน ธรฺมธาตุรฺน มโนวิชฺญานธาตุะฯ
นะ จักษุรธาตุรยาวันนะ มะโนธาตุรนะ ธรรมะธาตุรนะ มะโนวิชญานะธาตุห์ฯ

ไม่มีจักษุธาตุจนถึงมโนธาตุ ไม่มีธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุ  

न विद्या नाविद्या न क्षयो यावन्न जरामरणं न जरामरणक्षयः,
น วิทฺยา นาวิทฺยา น กฺษโย ยาวนฺน ชรามรณํ น ชรามรณกฺษยะ,
นะ วิทยา นาวิทยา นะ กษะโย ยาวันนะ ชะรามะระณัม นะ ชะรามะระณักษะยะห์,

ไม่มีวิชชา และอวิชชา ไม่มีความชรา ความมรณะ หรือความสิ้นไปแห่งความชรา ความมรณะ

न दुःखसमुदयनिरोधमार्गा न ज्ञानं न प्राप्तिर्नाप्राप्तिः।
น ทุะขสมุทยนิโรธมารฺคา น ชฺญานํ น ปฺราปฺติรฺนาปฺราปฺติะฯ
นะ ทุห์ขะสะมุทะยะนิโรธะมารคา นะ ชญานัม นะ ปราปติรนาปราปติห์ฯ

ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุหรือการไม่บรรลุ

तस्माच्छारिपुत्र अप्राप्तित्वेन बोधिसत्त्वानां प्रज्ञापारमितामाश्रित्य विहरति चित्तावरणः।
ตสฺมาจฺฉาริปุตฺร อปฺราปฺติตฺเวน โพธิสตฺตฺวานํา ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย วิหรติ จิตฺตาวรณะฯ
ตัสมาจฉาริปุตระ อัปราปติตเวนะ โพธิสัตตวานาม ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ วิหะระติ จิตตาวะระณะห์ฯ

ท่านสารีบุตร เพราะฉะนั้นพระโพธิสัตว์ผู้ดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา มีความขัดข้อง เพราะกิเลสห่อหุ้มจิตเป็นอุปสรรคขวางกั้นอยู่ [ก็เพราะยังมิได้บรรลุ]

चित्तावरणनास्तित्वादत्रस्तो विपर्यासातिक्रान्तो निष्ठनिर्वाणः।
จิตฺตาวรณนาสฺติตฺวาทตฺรสฺโต วิปรฺยาสาติกฺรานฺโต นิษฺฐนิรฺวาณะฯ
จิตตาวะระณะนาสติตวาทะตรัสโต วิปรรยาสาติกรานโต นิษฐะนิรวาณะห์ฯ

เมื่อไม่มีกิเลสหุ้มห่อจิตแล้ว ย่อมปราศจากอุปสรรค จึงไม่สะดุ้งกลัว 
ก้าวล่วงความขัดข้อง ลุถึงพระนิพพานได้สำเร็จ

त्र्यध्वव्यवस्थिताः सर्वबुद्धाः प्रज्ञापारमितामाश्रित्य अनुत्तरां सम्यक्संबोधिमभिसंबुद्धाः।
ตฺรฺยธฺววฺยวสฺถิตาะ สรฺวพุทฺธาะ ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย อนุตฺตรํา สมฺยกฺสํโพธิมฺอภิสํพุทฺธาะฯ
ตรยัธวะวยะวัสถิตาห์ สรรวะพุทธาห์ ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ อะนุตตะราม –
สัมยักสัมโพธิมอะภิสัมพุทธาห์

อันบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลทั้งสาม (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต) ทรงดำเนินตามปรัชญาปารมิตา จึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยิ่งแล้ว

तस्माद् ज्ञातव्यः प्रज्ञापारमितामहामन्त्रः
ตสฺมาทฺ ชฺญาตวฺยะ ปฺรชฺญาปารมิตามหามนฺตฺระ
ตัสมาท ชญาตะวยะห์ ปรัชญาปาระมิตามะหามันตระห์ 

ด้วยเหตุฉะนี้จึงสมควรทราบ มหามนต์ในปรัชญาปารมิตานี้


अनुत्तरमन्त्रः
อนุตฺตรมนฺตฺระ
อะนุตตะระมันตระห์

เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า

असमसममन्त्रः
อสมสมมนฺตฺระ
อะสะมะสะมะมันตระห์

เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้

सर्वदुःखप्रशमनमन्त्रः
สรฺวทุะขปฺรศมนมนฺตฺระ
สรรวะทุห์ขะประศะมะนะมันตระห์

เป็นมนต์อันประหารเสียซึ่งสรรพทุกข์ทั้งปวง

सत्यममिथ्यत्वात् प्रज्ञापारमितायामुक्तो मन्त्रः।
สตฺยมมิถฺยตฺวาตฺ ปฺรชฺญาปารมิตายามุกฺโต มนฺตฺระฯ
สัตยะมะมิถยัตวาต ปรัชญาปาระมิตายามุกโต มันตระห์ฯ

นี่เป็นความสัตย์จริงปราศจากความเท็จ จึงเป็นเหตุให้กล่าวมนตร์แห่งปรัชญาปารมิตา

तद्यथा- गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा।
ตทฺยถา- คเต คเต ปารคเต ปารสํคเต โพธิ สฺวาหาฯ
ตัทยะถา- คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหาฯ

จงกล่าวเช่นนี้ : คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
(ปกตินั้น บทธารณี นั้นมักจะไม่แปล แต่หากแปลจะแปลว่า
จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง)

एवं शारिपुत्र गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यायां शिक्षितव्यं बोधिसत्त्वेन॥
เอวํ ศาริปุตฺร คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยายํา ศิกฺษิตวฺยํ โพธิสตฺตฺเวน๚
เอวัม ศาริปุตระ คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยายาม ศิกษิตะวยัม โพธิสัตตเวนะ๚

ในสมัยนั้นแล พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์กล่าวกับพระสารีบุตรเถระว่า “ท่านสารีบุตร สัตว์ผู้จะตรัสรู้ พึงศึกษาประพฤติจริยาปรัชญาปารมิตาด้วยประการฉะนี้”

अथ खलु भगवान् तस्मात्समाधेर्व्युत्थाय आर्यावलोकितेश्वरस्य बोधिसत्त्वस्य
साधुकारमदात्- साधु साधु कुलपुत्र।

อถ ขลุ ภควานฺ ตสฺมาตฺสมาเธรฺวฺยุตฺถาย อารฺยาวโลกิเตศฺวรสฺย โพธิสตฺตฺวสฺย
สาธุการมทาตฺ- สาธุ สาธุ กุลปุตฺรฯ
อะถะ ขะลุ ภะคะวาน ตัสมาตสะมาเธรวยุตถายะ อารยาวะโลกิเตศวะรัสยะ โพธิสัตตวัสยะ
สาธุการะมะทาต- สาธุ สาธุ กุละปุตระฯ

ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว ได้ประทานสาธุการแด่พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ “เป็นเช่นนั้น ! เป็นเช่นนั้น ! กุลบุตร ! “

एवमेतत् कुलपुत्र, एवमेतद् गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यं चर्तव्यं यथा त्वया निर्दिष्टम्।
เอวเมตตฺ กุลปุตฺร, เอวเมตทฺ คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํ จรฺตวฺยํ ยถา ตฺวยา นิรฺทิษฺฏมฺฯ
เอวะเมตัต กุละปุตระ, เอวะเมตัท คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยัม จรรตะวยัม ยะถา ตวะยา นิรทิษฏัมฯ

ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กุลบุตร ! ประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้งนั้น พึงประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ อย่างที่ท่านยกขึ้นแสดงแล้ว

अनुमोद्यते तथागतैरर्हद्भिः॥
อนุโมทฺยเต ตถาคไตรอรฺหทฺภิะ๚
อะนุโมทยะเต ตะถาคะไตรอัรหัทภิห์๚

พระตถาคตอรหันต์เจ้าทั้งหลายในไตรโลกนาถย่อมทรงอนุโมทนา  

इदमवोचद्भगवान्।
อิทมโวจทฺภควานฺฯ
อิทะมะโวจัทภะคะวานฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมอันนี้แล้ว

आनन्दमना आयुष्मान् शारिपुत्रः आर्यावलोकितेश्वरश्च बोधिसत्त्वः सा च सर्वावती परिषत् सदेवमानुषासुरगन्धर्वश्च लोको भगवतो भाषितमभ्यनन्दन्॥
อานนฺทมนา อายุษฺมานฺ ศาริปุตฺระ อารฺยาวโลกิเตศฺวรศฺจ โพธิสตฺตฺวะ สา จ สรฺวาวตี ปริษตฺ สเทวมานุษาสุรคนฺธรฺวศฺจ โลโก ภควโต ภาษิตมภฺยนนฺทนฺ๚
อานันทะมะนา อายุษมาน ศาริปุตระห์ อารยาวะโลกิเตศวะรัศจะ โพธิสัตตวะห์ สา จะ สรรวาวะตี ปะริษัต สะเทวะมานุษาสุระคันธรรวัศจะ โลโก ภะคะวะโต ภาษิตะมัภยะนันทัน๚

พระสารีบุตรผู้มีอายุ พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พุทธบริษัทอันมีในประชุมชนทุกเหล่า และสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ก็มีใจเบิกบานชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคด้วยประการฉะนี้.

इति प्रज्ञापारमिताहृदयसूत्रं समाप्तम्।
อิติ ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสูตฺรํ สมาปฺตมฺฯ
อิติ ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสูตรัม สะมาปตัมฯ

จบปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ก็มีด้วยประการฉะนี้


เชิงอรรถ

  1. ศูนยตาหรือสุญญตาศูนยตาหรือสุญญตา (บาลี: สุญฺญตา , สันสกฤต: ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า ความเป็นของสูญ มีความหมายว่า ความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้
    “สุญญตาอันใด อนัตตาก็อันนั้น อนัตตาอันใด สุญญตาก็อันนั้น”
    คำว่า สุญญตา เป็นคำที่ฝ่ายมหายานนิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด สุญญตากับอนัตตาความจริงก็มีความหมายใกล้เคียงกัน กล่าวคือเป็นคำปฏิเสธสภาวะซึ่งมีอยู่ เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง เพราะในทรรศนะของมหายาน สรรพสิ่งซึ่งปรากฏแก่เราล้วนเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งสิ้น สุญญตามิได้หมายว่าว่างเปล่าไม่มีอะไรเลยเหมือนอากาศ แต่หมายเพียงว่าไม่มีสภาวะที่ดำรงอยู่ได้โดยตัวของมันเอง ชนิดที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัย แต่ปัจจัยธรรมซึ่งอาศัยกันเป็นภาพมายา มีอยู่ปรากฏอยู่มิใช่ว่าจะไม่มีอะไรๆ ไปเสียทั้งหมด ฝ่ายมหายานอธิบายว่าโลกกับพระนิพพาน ความจริงไม่ใช่อันเดียวกันหรือแตกต่างกัน กล่าวคือโลกเป็นปฏิจจสมุปบาท ความดับปฏิจจสมุปบาทนั้นเสียได้ ก็คือพระนิพพาน ฉะนั้นทั้งโลกและพระนิพพานจึงเป็นสุญญตาคือไม่ใช่เป็นสภาวะ และเมื่อสภาวะไม่มีเสียแล้ว อภาวะก็พลอยไม่มีไปด้วย เพราะมีสภาวะจึงมีอภาวะเป็นของคู่กัน ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นสภาวะ ผู้นั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นอภาวะเล่า ผู้นั้นก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโดยสมมติสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นปฏิจจสมุปบาทและโดยปรมัตถสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นสุญญตาไซร้ ผู้นั้นแลได้ชื่อว่าผู้มีสัมมาทิฏฐิโดยแท้ ที่ว่ามานี้เป็นมติของพระนาครชุนผู้เป็นต้นนิกายสุญญวาท” (เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, ต-ถ )

ดูและฟังเพิ่มเติมหลักของสุญญตา อ.เสถียร โพธินันทะ

สุญญตาในลัทธิมหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ

อ้างอิง

ข้อมูลอักษรต้นฉบับ

Title: Mahāyāna-sūtra-saṃgrahaḥ ( part 1)
Editor: Vaidya, P.L
Publisher: The Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning
Place of Publication: Darbhanga
Year: 1961

Technical Details
Text Version: Devanāgarī
Input Personnel: DSBC Staff
Input Date: 2004
Proof Reader: Miroj Shakya
Supplier: Nagarjuna Institute of Exact Methods
Sponsor: University of the West

อ่านเพิ่มเติมที่ http://dsbcproject.org/canon-text/content/401/1829

ข้อมูลเสียงต้นฉบับ

ไฟล์เสียงที่ 1 เสียงอ่านของ Aniruddha Basu ผู้ใช้ Youtube
Prajnaparamita Hridaya Sutra; Heart Sutra (Complete Version)
ฟังเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=Ff_8FlH9xQs


ข้อมูลการแปล
1. พจนานุกรมสันสกฤตแบบผสมในพุทธศาสนา Edgerton Buddhist Hybrid Sanskrit Dictionary
2. เว็บบอร์ดวัดสนามใน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ผู้ตั้งกระทู้ วิศาล :: วันที่ลงประกาศ 2010-12-10 18:36:53 อ่านเพิ่มเติม : https://goo.gl/zvHnUM

3. ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ภาษาทิเบต) โดย Disthan ผู้ใช้ th.wikisource.org
อ่านเพิ่มเติม : https://goo.gl/QTN3pX

Loading

Be the first to comment on "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับวิสตระมาตฤกา[ฉบับใหญ่]"

Leave a comment