สาระเรื่องสาละ (ต้นไม้ในพุทธกาล)

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

สาระเรื่องสาละ


รูปเสือเบงกอลในป่าสาละ Bandhavgarh National Park รัฐมัธยประเทศ
 
บทความนี้จะกล่าวถึงต้นสาละอินเดียจริงๆ ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ต้นลูกปืนใหญ่( Couroupita guianensis) บางครั้งเรียกว่า สาละลังกา ที่เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้
 
ต้นสาละ หรือ ในอินเดียปัจจุบันเรียกว่า ต้นซาล,ศาล (Sal Tree)
ชื่อภาษาบาลี : สาล (sāla,สาละ)
ชื่อภาษาสันสกฤต : ศาล ( शाल,śāla,ศาละ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea robusta ชื่อพ้อง Vatica robusta
ชื่อสามัญ : Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
วงศ์ : Dipterocarpaceae
 
ในส่วนภาษาสันสกฤต คำว่า ศาล ( शाल,ศาละ ) นี้ เซอร์มอเนียร์ วิลเลียมส์ (Sir Monier Williams) ได้ให้ความหมายว่า ต้นซาล หรือ ซุงที่มีค่า และมีผู้สันนิฐานว่าคำนี้อาจมีรากศัพที่เกี่ยวของกับคำว่า ศาลา ( शाला) ที่มีความหมายถึง ห้อง อาคาร บ้าน คอก รั้ว ซึ่งใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้าง
 
ต้นสาละ มีชื่อในภาษาสันกฤต มีหลายชื่อ อาศัยพจนานุกรม ของ เซอร์มอเนียร์ วิลเลียมส์ มีดังต่อไปนี้
 
อคฺนิวลฺลภ , อชกรฺณก, อศฺวกรฺณ, อศฺวกรฺณก , พสฺตกรฺณ, จีรปรฺณ, ธนฺย, ทีรฺฆ, ทีรฺฆลตาทฺรุม, ทีรฺฆศาข, คนฺธวฤกฺษก, ชลทาศน, ชรณทฺรุม, กล, กลลโชทฺภว, การฺษฺย, กษายินฺ, เกาศิก, กุศิก, ลลน, ลตาทฺรุม, ลตาศงฺกุตรุ, ลตาวฤกฺษ, มหาศาล, ราลการฺย, รญฺชนทฺรุม, ศาล, ศงฺกุตรุ, สรฺช, สรฺชก, สรฺชวฤกฺษ, สสฺยสํวร, ศูร, สุเรษฺฏ, ตารฺกฺษฺยปฺรสว, อุปเมต, วลฺลีวฤกฺษ
 
สาละ เป็นพืชพวกเดียวกันกับพะยอม เต็ง รัง ถิ่นกำเนิดของต้นสาละ พบใน คือทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยจากพม่าทางตะวันออกไปยังประเทศเนปาล พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และบังคลาเทศ ในอินเดียครอบคุมเขตรัฐอัสสัม,เบงกอล,โอริสสาและรัฐฌารขัณฑ์ไปทางตะวันตก จดแถบรัฐหรยาณา บริเวณตะวันออกของลุ่มน้ำยมุนา และทางตะวันออกรัฐมัธยประเทศ เดิมไม่พบในไทย ปัจจุบันมีการนำเข้ามาปลูกกันมากขึ้น
 
ป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้สาละหรือ ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า
 
ต้นสาละ เป็นพืชเศรฐกิจมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย ส่วนยางนั้นสามารถนำมาทำยาและเครื่องหอมได้อีกด้วย
 
สาละในพุทธศาสนาปรากฎอยู่บ่อยๆในพระไตรปิฎก และเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติอยู่มาก ที่สำคัญคือพุทธประวัติตอน ประสูติ – ตรัสรู้ – ปรินิพพาน
 
|| ตอนประสูติ ||


 
พระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดประสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีประสูติการที่กรุงเทวทหะ ตามธรรมเนียม เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่สวนมีชื่อว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวนป่าไม้สาละ พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท ขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละและได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร “
 
|| ตอนตรัสรู้ ||

 
เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานลอยถาดทองคำแม่น้ำเนรัญชลา เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฎว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ
จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุณ ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ
 
|| ตอนปรินิพพาน ||

 
เมื่อพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในเวลาต่อมา
 
เดิมทีความเข้าใจเกี่ยวกับต้นสาละหรือต้นซาล ของชาวไทยยังค่อนข้างสับสนกันอยู่ เดิมเข้าใจว่าต้นสาละ เป็นต้นเดียวกันกับ ต้นรัง(ไทย) ต่อมาก็สับสนกับต้นลูกปืนใหญ่ อีก


รูปต้นสาละกำลังออกดอกบานเต็มต้น


รูปคนเก็บยางต้นสาละ

ผลของต้นสาละ
 
อ้างอิง
 
Shorea robusta
https://en.wikipedia.org/wiki/Shorea_robusta
 
ต้นรังกับสาละเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่
http://www.vichakaset.com/ต้นรังกับสาละ/
 
รูปเสือเบงกอลในป่าสาละ Bandhavgarh National Park รัฐมัธยประเทศ
https://www.gettyimages.com/detail/photo/bengal-tigress-in-sal-forest-high-res-stock-photography/585738577
 
รูปต้นสาละกำลังออกดอกบานเต็มต้น
https://www.flickr.com/photos/geetaarun/8627782491/in/photostream/
 
รูปคนเก็บยางต้นสาละ
https://www.telegraphindia.com/1140804/jsp/northeast/story_18683060.jsp
 
ผลของต้นสาละ
http://medplants.blogspot.com/2014/11/shorea-robusta-kungiliyam-guggilam.html
***

Loading

Be the first to comment on "สาระเรื่องสาละ (ต้นไม้ในพุทธกาล)"

Leave a comment