คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๗

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

 

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๗ ชื่อ วีรยบารมี

0027

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๗ ชื่อ วีรยบารมี

ในปริเฉทที่ ๗ ท่านศานติเทวะอธิบายถึง การบําเพ็ญวิริยบารมีไววา เมื่อพระโพธิสัตวสามารถขมใจใหอดทนตานทานตออุปสรรคหรือสภาวการณตาง ๆ ไดแลว ก็จงเปนผูประกอบตนอยู ในความพากเพียร มีสติมั่งคงอยู ดวยวิริยะอุตสาหะ พยายามขวนขวายมุงบําเพ็ญบุญกุศลและคุณธรรมทั้งหลายใหเจริญยิ่งขึ้น

 

ต้นฉบับจากโครงการ DSBC ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์ เสียงจากโครงการ Bodhisvara ในส่วนคำแปลได้รับอนุญาตจากผู้แปลให้เผยแพร่โดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ

[คลิกเพื่อเปิดเสียง]

ปริวรรตเป็นไทยคงรูป

๗ วีรฺยปารมิตา นาม สปฺตมะ ปริจฺเฉทะฯ

เอวํ กฺษโม ภเชทฺวีรฺยํ วีรฺเย โพธิรฺยตะ สฺถิตาฯ

น หิ วีรฺยํ วินา ปุณฺยํ ยถา วายุํ วินาคติะ๚๑๚

กิํ วีรฺยํ กุศโลตฺสาหสฺตทฺวิปกฺษะ ก อุจฺยเตฯ

อาลสฺยํ กุตฺสิตาสกฺติรฺวิษาทาตฺมาวมนฺยนา๚๒๚

อวฺยาปารสุขาสฺวาทนิทฺราปาศฺรยตฤษฺณยาฯ

สํสารทุะขานุทฺเวคาทาลสฺยมุปชายเต๚๓๚

เกฺลศวาคุริกาฆฺราตะ ปฺรวิษฺโฏ ชนฺมวาคุรามฺฯ

กิมทฺยาปิ น ชานาสิ มฤตฺโยรฺวทนมาคตะ๚๔๚

สฺวยูถฺยานฺมารฺยมาณําสฺตฺวํ กฺรเมไณว น ปศฺยสิฯ

ตถาปิ นิทฺรํา ยาสฺเยว จณฺฑาลมหิโษ ยถา๚๕๚

ยเมโนทฺวีกฺษฺยมาณสฺย พทฺธมารฺคสฺย สรฺวตะฯ

กถํ เต โรจเต โภกฺตุํ กถํ นิทฺรา กถํ รติะ๚๖๚

ยาวตฺสํภฤตสํภารํ มรณํ ศีฆฺรเมษฺยติฯ

สํตฺยชฺยาปิ ตทาลสฺยมกาเล กิํ กริษฺยสิ๚๗๚

อิทํ น ปฺราปฺตมารพฺธมิทมรฺธกฤตํ สฺถิตมฺฯ

อกสฺมานฺมฤตฺยุรายาโต หา หโต’สฺมีติ จินฺตยนฺ๚๘๚

โศกเวคสมุจฺฉูนสาศฺรุรกฺเตกฺษณานนานฺฯ

พนฺธูนฺนิราศานฺ สํปศฺยนฺ ยมทูตมุขานิ จ๚๙๚

สฺวปาปสฺมฤติสํตปฺตะ ศฤณฺวนฺนาทําศฺจ นารกานฺฯ

ตฺราโสจฺจารวิลิปฺตางฺโค วิหฺวละ กิํ กริษฺยสิ๚๑๐๚

ชีวมตฺสฺย อิวาสฺมีติ ยุกฺตํ ภยมิไหว เตฯ

กิํ ปุนะ กฤตปาปสฺย ตีวฺรานฺนรกทุะขตะ๚๑๑๚

สฺปฤษฺฏ อุษฺโณทเกนาปิ สุกุมาร ปฺรตปฺยเสฯ

กฤตฺวา จ นารกํ กรฺม กิเมวํ สฺวสฺถมาสฺยเต๚๑๒๚

นิรุทฺยม ผลากางฺกฺษินฺ สุกุมาร พหุวฺยถฯ

มฤตฺยุคฺรสฺโต’มราการ หา ทุะขิต วิหนฺยเส๚๑๓๚

มานุษฺยํ นาวมาสาทฺย ตร ทุะขมหานทีมฺฯ

มูฒ กาโล น นิทฺรายา อิยํ เนารฺทุรฺลภา ปุนะ๚๑๔๚

มุกฺตฺวา ธรฺมรติํ เศฺรษฺฐามนนฺตรติสํตติมฺฯ

รติเราทฺธตฺยหาสฺยาเทา ทุะขเหเตา กถํ ตว๚๑๕๚

อวิษาทพลวฺยูหตาตฺปรฺยาตฺมวิเธยตาฯ

ปราตฺมสมตา ไจว ปราตฺมปริวรฺตนมฺ๚๑๖๚

ไนวาวสาทะ กรฺตวฺยะ กุโต เม โพธิริตฺยตะฯ

ยสฺมาตฺตถาคตะ สตฺยํ สตฺยวาทีทมุกฺตวานฺ๚๑๗๚

เต’ปฺยาสนฺ ทํศมศกา มกฺษิกาะ กฤมยสฺตถาฯ

ไยรุตฺสาหวศาตฺ ปฺราปฺตา ทุราปา โพธิรุตฺตมา๚๑๘๚

กิมุตาหํ นโร ชาตฺยา ศกฺโต ชฺญาตุํ หิตาหิตมฺฯ

สรฺวชฺญนีตฺยนุตฺสรฺคาทฺโพธิํ กิํ นาปฺนุยามหมฺ๚๑๙๚

อถาปิ หสฺตปาทาทิ ทาตวฺยมิติ เม ภยมฺฯ

คุรุลาฆวมูฒตฺวํ ตนฺเม สฺยาทวิจารตะ๚๒๐๚

เฉตฺตวฺยศฺจาสฺมิ เภตฺตวฺโย ทาหฺยะ ปาฏฺโย’ปฺยเนกศะฯ

กลฺปโกฏีรสํขฺเยยา น จ โพธิรฺภวิษฺยติ๚๒๑๚

อิทํ ตุ เม ปริมิตํ ทุะขํ สํโพธิสาธนมฺฯ

นษฺฏศลฺยวฺยถาโปเห ตทุตฺปาทนทุะขวตฺ๚๒๒๚

สรฺเว’ปิ ไวทฺยาะ กุรฺวนฺติ กฺริยาทุะไขรโรคตามฺฯ

ตสฺมาทฺพหูนิ ทุะขานิ หนฺตุํ โสฒวฺยมลฺปกมฺ๚๒๓๚

กฺริยามิมามปฺยุจิตํา วรไวทฺโย น ทตฺตวานฺฯ

มธุเรโณปจาเรณ จิกิตฺสติ มหาตุรานฺ๚๒๔๚

อาเทา ศากาทิทาเน’ปิ นิโยชยติ นายกะฯ

ตตฺกโรติ กฺรมาตฺปศฺจาทฺยตฺสฺวมําสานฺยปิ ตฺยเชตฺ๚๒๕๚

ยทา ศาเกษฺวิว ปฺรชฺญา สฺวมําเส’ปฺยุปชายเตฯ

มําสาสฺถิ ตฺยชตสฺตสฺย ตทา กิํ นาม ทุษฺกรมฺ๚๒๖๚

น ทุะขี ตฺยกฺตปาปตฺวาตฺปณฺฑิตตฺวานฺน ทุรฺมนาะฯ

มิถฺยากลฺปนยา จิตฺเต ปาปาตฺกาเย ยโต วฺยถา๚๒๗๚

ปุณฺเยน กายะ สุขิตะ ปาณฺฑิตฺเยน มนะ สุขิฯ

ติษฺฐนฺ ปรารฺถํ สํสาเร กฤปาลุะ เกน ขิทฺยเต๚๒๘๚

กฺษปยนฺ ปูรฺวปาปานิ ปฺรตีจฺฉนฺ ปุณฺยสาครานฺฯ

โพธิจิตฺตพลาเทว ศฺราวเกภฺโย’ปิ ศีฆฺรคะ๚๒๙๚

เอวํ สุขาตฺสุขํ คจฺฉนฺ โก วิษีเทตฺสเจตนะฯ

โพธิจิตฺตรถํ ปฺราปฺย สรฺวเขทศฺรมาปหมฺ๚๓๐๚

ฉนฺทสฺถามรติมุกฺติพลํ สตฺตฺวารฺถสิทฺธเยฯ

ฉนฺทํ ทุะขภยาตฺกุรฺยาทนุศํสําศฺจ ภาวยนฺ๚๓๑๚

เอวํ วิปกฺษมุนฺมูลฺย ยเตโตตฺสาหวฤทฺธเยฯ

ฉนฺทมานรติตฺยาคตาตฺปรฺยวศิตาพไละ๚๓๒๚

อปฺรเมยา มยา โทษา หนฺตวฺยาะ สฺวปราตฺมโนะฯ

เอไกกสฺยาปิ โทษสฺย ยตฺร กลฺปารฺณไวะ กฺษยะ๚๓๓๚

ตตฺร โทษกฺษยารมฺเภ เลโศ’ปิ มม เนกฺษฺยเตฯ

อปฺรเมยวฺยถาภาชฺเย โนระ สฺผุฏติ เม กถมฺ๚๓๔๚

คุณา มยารฺชนียาศฺจ พหวะ สฺวปราตฺมโนะฯ

ตไตฺรไกกคุณาภฺยาโส ภเวตฺกลฺปารฺณไวรฺน วา๚๓๕๚

คุณเลเศ’ปิ นาภฺยาโส มม ชาตะ กทาจนฯ

วฤถา นีตํ มยา ชนฺม กถํจิลฺลพฺธมทฺภุตมฺ๚๓๖๚

น ปฺราปฺตํ ภควตฺปูชามโหตฺสวสุขํ มยาฯ

น กฤตา ศาสเน การา ทริทฺราศา น ปูริตา๚๓๗๚

ภีเตภฺโย นาภยํ ทตฺตมารฺตา น สุขินะ กฤตาะฯ

ทุะขาย เกวลํ มาตุรฺคโต’สฺมิ ครฺภศลฺยตามฺ๚๓๘๚

ธรฺมจฺฉนฺทวิโยเคน เปารฺวิเกณ มมาธุนาฯ

วิปตฺติรีทฤศี ชาตา โก ธรฺเม ฉนฺทมุตฺสฤเชตฺ๚๓๙๚

กุศลานํา จ สรฺเวษํา ฉนฺทํ มูลํ มุนิรฺชเคาฯ

ตสฺยาปิ มูลํ สตตํ วิปากผลภาวนา๚๔๐๚

ทุะขานิ เทารฺมนสฺยานิ ภยานิ วิวิธานิ จฯ

อภิลาษวิฆาตาศฺจ ชายนฺเต ปาปการิณามฺ๚๔๑๚

มโนรถะ ศุภกฤตํา ยตฺร ยไตฺรว คจฺฉติฯ

ตตฺร ตไตฺรว ตตฺปุณฺไยะ ผลารฺเฆณาภิปูชฺยเต๚๔๒๚

ปาปการิสุเขจฺฉา ตุ ยตฺร ยไตฺรว คจฺฉติฯ

ตตฺร ตไตฺรว ตตฺปาไปรฺทุะขศสฺไตฺรรฺวิหนฺยเต๚๔๓๚

วิปุลสุคนฺธิศีตลสโรรุหครฺภคตา

มธุรชินสฺวราศนกฤโตปจิตทฺยุตยะฯ

มุนิกรโพธิตามฺพุชวินิรฺคตสทฺวปุษะ

สุคตสุตา ภวนฺติ สุคตสฺย ปุระ กุศไละ๚๔๔๚

ยมปุรุษาปนีตสกลจฺฉวิรารฺตรโว

หุตวหตาปวิทฺรุตกตามฺรนิษิกฺตตนุะฯ

ชฺวลทสิศกฺติฆาตศตศาติตมําสทละ

ปตติ สุตปฺตโลหธรณีษฺวศุไภรฺพหุศะ๚๔๕๚

ตสฺมาตฺการฺยะ ศุภจฺฉนฺโท ภาวยิตฺไววมาทราตฺฯ

วชฺรธฺวชสฺถวิธินา มานํ ตฺวารภฺย ภาวเยตฺ๚๔๖๚

ปูรฺวํ นิรูปฺย สามคฺรีมารเภนฺนารเภต วาฯ

อนารมฺโภ วรํ นาม น ตฺวารภฺย นิวรฺตนมฺ๚๔๗๚

ชนฺมานฺตเร’ปิ โส’ภฺยาสะ ปาปาทฺทุะขํ จ วรฺธเตฯ

อนฺยจฺจ การฺยกาลํ จ หีนํ ตจฺจ น สาธิตมฺ๚๔๘๚

ตฺริษุ มาโน วิธาตวฺยะ กรฺโมปเกฺลศศกฺติษุฯ

มไยไวเกน กรฺตวฺยมิตฺเยษา กรฺมมานิตา๚๔๙๚

เกฺลศสฺวตนฺโตฺร โลโก’ยํ น กฺษมะ สฺวารฺถสาธเนฯ

ตสฺมานฺมไยษํา กรฺตวฺยํ นาศกฺโต’หํ ยถา ชนะ๚๕๐๚

นีจํ กรฺม กโรตฺยนฺยะ กถํ มยฺยปิ ติษฺฐติฯ

มานาจฺเจนฺน กโรมฺเยตนฺมาโน นศฺยตุ เม วรมฺ๚๕๑๚

มฤตํ ทุณฺฑุภมาสาทฺย กาโก’ปิ ครุฑายเตฯ

อาปทาพาธเต’ลฺปาปิ มโน เม ยทิ ทุรฺพลมฺ๚๕๒๚

วิษาทกฤตนิศฺเจษฺเฏ อาปทะ สุกรา นนุฯ

วฺยุตฺถิตศฺเจษฺฏมานสฺตุ มหตามปิ ทุรฺชยะ๚๕๓๚

ตสฺมาทฺทฤเฒน จิตฺเตน กโรมฺยาปทมาปทะฯ

ไตฺโรลกฺยวิชิคีษุตฺวํ หาสฺยมาปชฺชิตสฺย เม๚๕๔๚

มยา หิ สรฺวํ เชตวฺยมหํ เชโย น เกนจิตฺฯ

มไยษ มาโน โวฒวฺโย ชินสิํหสุโต หฺยหมฺ๚๕๕๚

เย สตฺตฺวา มานวิชิตา วรกาสฺเต น มานินะฯ

มานี ศตฺรุวศํ ไนติ มานศตฺรุวศาศฺจ เต๚๕๖๚

มาเนน ทุรฺคติํ นีตา มานุษฺเย’ปิ หโตตฺสวาะฯ

ปรปิณฺฑาศิโน ทาสา มูรฺขา ทุรฺทรฺศนาะ กฤศา๚๕๗๚

สรฺวตะ ปริภูตาศฺจ มานสฺตพฺธาสฺตปสฺวินะฯ

เต’ปิ เจนฺมานินํา มธฺเย ทีนาสฺตุ วท กีทฤศาะ๚๕๘๚

เต มานิโน วิชยินศฺจ ต เอว ศูรา

เย มานศตฺรุวิชยาย วหนฺติ มานมฺฯ

เย ตํ สฺผุรนฺตมปิ มานริปุํ นิหตฺย

กามํ ชเน ชยผลํ ปฺรติปาทยนฺติ๚๕๙๚

สํเกฺลศปกฺษมธฺยสฺโถ ภเวทฺทฤปฺตะ สหสฺรศะฯ

ทูรฺโยธนะ เกฺลศคไณะ สิํโห มฤคคไณริว๚๖๐๚

มหตฺสฺวปิ หิ กฤจฺเฉฺรษุ น รสํ จกฺษุรีกฺษเตฯ

เอวํ กฤจฺฉฺรมปิ ปฺราปฺย น เกฺลศวศโค ภเวตฺ๚๖๑๚

ยเทวาปทฺยเต กรฺม ตตฺกรฺมวฺยสนี ภเวตฺฯ

ตตฺกรฺมเศาณฺโฑ’ตฤปฺตาตฺมา กฺรีฑาผลสุเขปฺสุวตฺ๚๖๒๚

สุขารฺถํ กฺริยเต กรฺม ตถาปิ สฺยานฺน วา สุขมฺฯ

กรฺไมว ตุ สุขํ ยสฺย นิษฺกรฺมา ส สุขี กถมฺ๚๖๓๚

กาไมรฺน ตฤปฺติะ สํสาเร กฺษุรธารามธูปไมะฯ

ปุณฺยามฤไตะ กถํ ตฤปฺติรฺวิปากมธุไระ ศิไวะ๚๖๔๚

ตสฺมาตฺกรฺมาวสาเน’ปิ นิมชฺเชตฺตตฺร กรฺมณิฯ

ยถา มธฺยาหฺนสํตปฺต อาเทา ปฺราปฺตสราะ กรี๚๖๕๚

พลนาศานุพนฺเธ ตุ ปุนะ กรฺตุํ ปริตฺยเชตฺฯ

สุสมาปฺตํ จ ตนฺมุญฺเจทุตฺตโรตฺตรตฤษฺณยา๚๖๖๚

เกฺลศปฺรหารานฺ สํรเกฺษตฺ เกฺลศําศฺจ ปฺรหเรทฺทฤฒมฺฯ

ขฑฺคยุทฺธมิวาปนฺนะ ศิกฺษิเตนาริณา สห๚๖๗๚

ตตฺร ขฑฺคํ ยถา ภฺรษฺฏํ คฤหฺณียาตฺสภยสฺตฺวรนฺฯ

สฺมฤติขฑฺคํ ตถา ภฺรษฺฏํ คฤหฺณียานฺนรกานฺ สฺมรนฺ๚๖๘๚

วิษํ รูธิรมาสาทฺย ปฺรสรฺปติ ยถา ตเนาฯ

ตไถว จฺฉิทฺรมาสาทฺย โทษศฺจิตฺเต ปฺรสรฺปติ๚๖๙๚

ไตลปาตฺรธโร ยทฺวทสิหสฺไตรธิษฺฐิตะฯ

สฺขลิเต มรณตฺราสาตฺตตฺประ สฺยาตฺตถา วฺรตี๚๗๐๚

ตสฺมาทุตฺสงฺคเค สรฺเป ยโถตฺติษฺฐติ สตฺวรมฺฯ

นิทฺราลสฺยาคเม ตทฺวตฺ ปฺรติกุรฺวีต สตฺวรมฺ๚๗๑๚

เอไกกสฺมิํศฺฉเล สุษฺฐุ ปริตปฺย วิจินฺตเยตฺฯ

กถํ กโรมิ เยเนทํ ปุนรฺเม น ภเวทิติ๚๗๒๚

สํสรฺคํ กรฺม วา ปฺราปฺตมิจฺเฉเทเตน เหตุนาฯ

กถํ นามาสฺววสฺถาสุ สฺมฤตฺยุภฺยาโส ภเวทิติ๚๗๓๚

ลฆุํ กุรฺยาตฺตถาตฺมานมปฺรมาทกถํา สฺมรนฺฯ

กรฺมาคมาทฺยถา ปูรฺวํ สชฺชะ สรฺวตฺร วรฺตเต๚๗๔๚

ยไถว ตูลกํ วาโยรฺคมนาคมเน วศมฺฯ

ตโถตฺสาหวศํ ยายาทฤทฺธิศฺไจวํ สมฤธฺยติ๚๗๕๚

อิติ วีรฺยปารมิตา นาม สปฺตมะ ปริจฺเฉทะ๚

ปริวรรตเป็นไทยปรับรูป(สำหรับบุคคลทั่วไป)

๗ วีรยะปาระมิตา นามะ สัปตะมะห์ ปะริจเฉทะห์ฯ

เอวัม กษะโม ภะเชทวีรยัม วีรเย โพธิรยะตะห์ สถิตาฯ

นะ หิ วีรยัม วินา ปุณยัม ยะถา วายุม วินาคะติห์๚๑๚

กิม วีรยัม กุศะโลตสาหัสตัทวิปักษะห์ กะ อุจยะเตฯ

อาลัสยัม กุตสิตาสักติรวิษาทาตมาวะมันยะนา๚๒๚

อะวยาปาระสุขาสวาทะนิทราปาศระยะตฤษณะยาฯ

สัมสาระทุห์ขานุทเวคาทาลัสยะมุปะชายะเต๚๓๚

เกลศะวาคุริกาฆราตะห์ ประวิษโฏ ชันมะวาคุรามฯ

กิมัทยาปิ นะ ชานาสิ มฤตโยรวะทะนะมาคะตะห์๚๔๚

สวะยูถยานมารยะมาณามสตวัม กระเมไณวะ นะ ปัศยะสิฯ

ตะถาปิ นิทราม ยาสเยวะ จัณฑาละมะหิโษ ยะถา๚๕๚

ยะเมโนทวีกษยะมาณัสยะ พัทธะมารคัสยะ สรรวะตะห์ฯ

กะถัม เต โรจะเต โภกตุม กะถัม นิทรา กะถัม ระติห์๚๖๚

ยาวัตสัมภฤตะสัมภารัม มะระณัม ศีฆระเมษยะติฯ

สันตยัชยาปิ ตะทาลัสยะมะกาเล กิม กะริษยะสิ๚๗๚

อิทัม นะ ปราปตะมารัพธะมิทะมรรธะกฤตัม สถิตัมฯ

อะกัสมานมฤตยุรายาโต หา หะโตสมีติ จินตะยัน๚๘๚

โศกะเวคะสะมุจฉูนะสาศรุรักเตกษะณานะนานฯ

พันธูนนิราศาน สัมปัศยัน ยะมะทูตะมุขานิ จะ๚๙๚

สวะปาปัสมฤติสันตัปตะห์ ศฤณวันนาทามศจะ นาระกานฯ

ตราโสจจาระวิลิปตางโค วิหวะละห์ กิม กะริษยะสิ๚๑๐๚

ชีวะมัตสยะ อิวาสมีติ ยุกตัม ภะยะมิไหวะ เตฯ

กิม ปุนะห์ กฤตะปาปัสยะ ตีวรานนะระกะทุห์ขะตะห์๚๑๑๚

สปฤษฏะ อุษโณทะเกนาปิ สุกุมาระ ประตัปยะเสฯ

กฤตวา จะ นาระกัม กรรมะ กิเมวัม สวัสถะมาสยะเต๚๑๒๚

นิรุทยะมะ ผะลากางกษิน สุกุมาระ พะหุวยะถะฯ

มฤตยุครัสโตมะราการะ หา ทุห์ขิตะ วิหันยะเส๚๑๓๚

มานุษยัม นาวะมาสาทยะ ตะระ ทุห์ขะมะหานะทีมฯ

มูฒะ กาโล นะ นิทรายา อิยัม เนารทุรละภา ปุนะห์๚๑๔๚

มุกตวา ธรรมะระติม เศรษฐามะนันตะระติสันตะติมฯ

ระติเราทธัตยะหาสยาเทา ทุห์ขะเหเตา กะถัม ตะวะ๚๑๕๚

อะวิษาทะพะละวยูหะตาตปรรยาตมะวิเธยะตาฯ

ปะราตมะสะมะตา ไจวะ ปะราตมะปะริวรรตะนัม๚๑๖๚

ไนวาวะสาทะห์ กรรตะวยะห์ กุโต เม โพธิริตยะตะห์ฯ

ยัสมาตตะถาคะตะห์ สัตยัม สัตยะวาทีทะมุกตะวาน๚๑๗๚

เตปยาสัน ทัมศะมะศะกา มักษิกาห์ กฤมะยัสตะถาฯ

ไยรุตสาหะวะศาต ปราปตา ทุราปา โพธิรุตตะมา๚๑๘๚

กิมุตาหัม นะโร ชาตยา ศักโต ชญาตุม หิตาหิตัมฯ

สรรวัชญะนีตยะนุตสรรคาทโพธิม กิม นาปนุยามะหัม๚๑๙๚

อะถาปิ หัสตะปาทาทิ ทาตะวยะมิติ เม ภะยัมฯ

คุรุลาฆะวะมูฒัตวัม ตันเม สยาทะวิจาระตะห์๚๒๐๚

เฉตตะวยัศจาสมิ เภตตะวโย ทาหยะห์ ปาฏโยปยะเนกะศะห์ฯ

กัลปะโกฏีระสังขเยยา นะ จะ โพธิรภะวิษยะติ๚๒๑๚

อิทัม ตุ เม ปะริมิตัม ทุห์ขัม สัมโพธิสาธะนัมฯ

นัษฏะศัลยะวยะถาโปเห ตะทุตปาทะนะทุห์ขะวัต๚๒๒๚

สรรเวปิ ไวทยาห์ กุรวันติ กริยาทุห์ไขระโรคะตามฯ

ตัสมาทพะหูนิ ทุห์ขานิ หันตุม โสฒะวยะมัลปะกัม๚๒๓๚

กริยามิมามัปยุจิตาม วะระไวทโย นะ ทัตตะวานฯ

มะธุเรโณปะจาเรณะ จิกิตสะติ มะหาตุราน๚๒๔๚

อาเทา ศากาทิทาเนปิ นิโยชะยะติ นายะกะห์ฯ

ตัตกะโรติ กระมาตปัศจาทยัตสวะมามสานยะปิ ตยะเชต๚๒๕๚

ยะทา ศาเกษวิวะ ปรัชญา สวะมามเสปยุปะชายะเตฯ

มามสาสถิ ตยะชะตัสตัสยะ ตะทา กิม นามะ ทุษกะรัม๚๒๖๚

นะ ทุห์ขี ตยักตะปาปัตวาตปัณฑิตัตวานนะ ทุรมะนาห์ฯ

มิถยากัลปะนะยา จิตเต ปาปาตกาเย ยะโต วยะถา๚๒๗๚

ปุณเยนะ กายะห์ สุขิตะห์ ปาณฑิตเยนะ มะนะห์ สุขิฯ

ติษฐัน ปะรารถัม สัมสาเร กฤปาลุห์ เกนะ ขิทยะเต๚๒๘๚

กษะปะยัน ปูรวะปาปานิ ประตีจฉัน ปุณยะสาคะรานฯ

โพธิจิตตะพะลาเทวะ ศราวะเกภโยปิ ศีฆระคะห์๚๒๙๚

เอวัม สุขาตสุขัม คัจฉัน โก วิษีเทตสะเจตะนะห์ฯ

โพธิจิตตะระถัม ปราปยะ สรรวะเขทะศระมาปะหัม๚๓๐๚

ฉันทัสถามะระติมุกติพะลัม สัตตวารถะสิทธะเยฯ

ฉันทัม ทุห์ขะภะยาตกุรยาทะนุศัมสามศจะ ภาวะยัน๚๓๑๚

เอวัม วิปักษะมุนมูลยะ ยะเตโตตสาหะวฤทธะเยฯ

ฉันทะมานะระติตยาคะตาตปรรยะวะศิตาพะไลห์๚๓๒๚

อะประเมยา มะยา โทษา หันตะวยาห์ สวะปะราตมะโนห์ฯ

เอไกกัสยาปิ โทษัสยะ ยะตระ กัลปารณะไวห์ กษะยะห์๚๓๓๚

ตะตระ โทษักษะยารัมเภ เลโศปิ มะมะ เนกษยะเตฯ

อะประเมยะวยะถาภาชเย โนระห์ สผุฏะติ เม กะถัม๚๓๔๚

คุณา มะยารชะนียาศจะ พะหะวะห์ สวะปะราตมะโนห์ฯ

ตะไตรไกกะคุณาภยาโส ภะเวตกัลปารณะไวรนะ วา๚๓๕๚

คุณะเลเศปิ นาภยาโส มะมะ ชาตะห์ กะทาจะนะฯ

วฤถา นีตัม มะยา ชันมะ กะถัญจิลลัพธะมัทภุตัม๚๓๖๚

นะ ปราปตัม ภะคะวัตปูชามะโหตสะวะสุขัม มะยาฯ

นะ กฤตา ศาสะเน การา ทะริทราศา นะ ปูริตา๚๓๗๚

ภีเตภโย นาภะยัม ทัตตะมารตา นะ สุขินะห์ กฤตาห์ฯ

ทุห์ขายะ เกวะลัม มาตุรคะโตสมิ ครรภะศัลยะตาม๚๓๘๚

ธรรมัจฉันทะวิโยเคนะ เปารวิเกณะ มะมาธุนาฯ

วิปัตติรีทฤศี ชาตา โก ธรรเม ฉันทะมุตสฤเชต๚๓๙๚

กุศะลานาม จะ สรรเวษาม ฉันทัม มูลัม มุนิรชะเคาฯ

ตัสยาปิ มูลัม สะตะตัม วิปากะผะละภาวะนา๚๔๐๚

ทุห์ขานิ เทารมะนัสยานิ ภะยานิ วิวิธานิ จะฯ

อะภิลาษะวิฆาตาศจะ ชายันเต ปาปะการิณาม๚๔๑๚

มะโนระถะห์ ศุภะกฤตาม ยะตระ ยะไตรวะ คัจฉะติฯ

ตะตระ ตะไตรวะ ตัตปุณไยห์ ผะลารเฆณาภิปูชยะเต๚๔๒๚

ปาปะการิสุเขจฉา ตุ ยะตระ ยะไตรวะ คัจฉะติฯ

ตะตระ ตะไตรวะ ตัตปาไปรทุห์ขะศัสไตรรวิหันยะเต๚๔๓๚

วิปุละสุคันธิศีตะละสะโรรุหะครรภะคะตา

มะธุระชินัสวะราศะนะกฤโตปะจิตัทยุตะยะห์ฯ

มุนิกะระโพธิตามพุชะวินิรคะตะสัทวะปุษะห์

สุคะตะสุตา ภะวันติ สุคะตัสยะ ปุระห์ กุศะไลห์๚๔๔๚

ยะมะปุรุษาปะนีตะสะกะลัจฉะวิรารตะระโว

หุตะวะหะตาปะวิทรุตะกะตามระนิษิกตะตะนุห์ฯ

ชวะละทะสิศักติฆาตะศะตะศาติตะมามสะทะละห์

ปะตะติ สุตัปตะโลหะธะระณีษวะศุไภรพะหุศะห์๚๔๕๚

ตัสมาตการยะห์ ศุภัจฉันโท ภาวะยิตไววะมาทะราตฯ

วัชรัธวะชัสถะวิธินา มานัม ตวารัภยะ ภาวะเยต๚๔๖๚

ปูรวัม นิรูปยะ สามะครีมาระเภนนาระเภตะ วาฯ

อะนารัมโภ วะรัม นามะ นะ ตวารัภยะ นิวรรตะนัม๚๔๗๚

ชันมานตะเรปิ โสภยาสะห์ ปาปาททุห์ขัม จะ วรรธะเตฯ

อันยัจจะ การยะกาลัม จะ หีนัม ตัจจะ นะ สาธิตัม๚๔๘๚

ตริษุ มาโน วิธาตะวยะห์ กรรโมปะเกลศะศักติษุฯ

มะไยไวเกนะ กรรตะวยะมิตเยษา กรรมะมานิตา๚๔๙๚

เกลศัสวะตันโตร โลโกยัม นะ กษะมะห์ สวารถะสาธะเนฯ

ตัสมานมะไยษาม กรรตะวยัม นาศักโตหัม ยะถา ชะนะห์๚๕๐๚

นีจัม กรรมะ กะโรตยันยะห์ กะถัม มัยยะปิ ติษฐะติฯ

มานาจเจนนะ กะโรมเยตันมาโน นัศยะตุ เม วะรัม๚๕๑๚

มฤตัม ทุณฑุภะมาสาทยะ กาโกปิ คะรุฑายะเตฯ

อาปะทาพาธะเตลปาปิ มะโน เม ยะทิ ทุรพะลัม๚๕๒๚

วิษาทะกฤตะนิศเจษเฏ อาปะทะห์ สุกะรา นะนุฯ

วยุตถิตัศเจษฏะมานัสตุ มะหะตามะปิ ทุรชะยะห์๚๕๓๚

ตัสมาททฤเฒนะ จิตเตนะ กะโรมยาปะทะมาปะทะห์ฯ

ไตโรลกยะวิชิคีษุตวัม หาสยะมาปัชชิตัสยะ เม๚๕๔๚

มะยา หิ สรรวัม เชตะวยะมะหัม เชโย นะ เกนะจิตฯ

มะไยษะ มาโน โวฒะวโย ชินะสิมหะสุโต หยะหัม๚๕๕๚

เย สัตตวา มานะวิชิตา วะระกาสเต นะ มานินะห์ฯ

มานี ศะตรุวะศัม ไนติ มานะศะตรุวะศาศจะ เต๚๕๖๚

มาเนนะ ทุรคะติม นีตา มานุษเยปิ หะโตตสะวาห์ฯ

ปะระปิณฑาศิโน ทาสา มูรขา ทุรทรรศะนาห์ กฤศา๚๕๗๚

สรรวะตะห์ ปะริภูตาศจะ มานัสตัพธาสตะปัสวินะห์ฯ

เตปิ เจนมานินาม มัธเย ทีนาสตุ วะทะ กีทฤศาห์๚๕๘๚

เต มานิโน วิชะยินัศจะ ตะ เอวะ ศูรา

เย มานะศะตรุวิชะยายะ วะหันติ มานัมฯ

เย ตัม สผุรันตะมะปิ มานะริปุม นิหัตยะ

กามัม ชะเน ชะยะผะลัม ประติปาทะยันติ๚๕๙๚

สังเกลศะปักษะมัธยัสโถ ภะเวททฤปตะห์ สะหะสระศะห์ฯ

ทูรโยธะนะห์ เกลศะคะไณห์ สิมโห มฤคะคะไณริวะ๚๖๐๚

มะหัตสวะปิ หิ กฤจเฉรษุ นะ ระสัม จักษุรีกษะเตฯ

เอวัม กฤจฉระมะปิ ปราปยะ นะ เกลศะวะศะโค ภะเวต๚๖๑๚

ยะเทวาปัทยะเต กรรมะ ตัตกรรมะวยะสะนี ภะเวตฯ

ตัตกรรมะเศาณโฑตฤปตาตมา กรีฑาผะละสุเขปสุวัต๚๖๒๚

สุขารถัม กริยะเต กรรมะ ตะถาปิ สยานนะ วา สุขัมฯ

กรรไมวะ ตุ สุขัม ยัสยะ นิษกรรมา สะ สุขี กะถัม๚๖๓๚

กาไมรนะ ตฤปติห์ สัมสาเร กษุระธารามะธูปะไมห์ฯ

ปุณยามฤไตห์ กะถัม ตฤปติรวิปากะมะธุไรห์ ศิไวห์๚๖๔๚

ตัสมาตกรรมาวะสาเนปิ นิมัชเชตตะตระ กรรมะณิฯ

ยะถา มัธยาหนะสันตัปตะ อาเทา ปราปตะสะราห์ กะรี๚๖๕๚

พะละนาศานุพันเธ ตุ ปุนะห์ กรรตุม ปะริตยะเชตฯ

สุสะมาปตัม จะ ตันมุญเจทุตตะโรตตะระตฤษณะยา๚๖๖๚

เกลศะประหาราน สัมรักเษต เกลศามศจะ ประหะเรททฤฒัมฯ

ขัฑคะยุทธะมิวาปันนะห์ ศิกษิเตนาริณา สะหะ๚๖๗๚

ตะตระ ขัฑคัม ยะถา ภรัษฏัม คฤหณียาตสะภะยัสตวะรันฯ

สมฤติขัฑคัม ตะถา ภรัษฏัม คฤหณียานนะระกาน สมะรัน๚๖๘๚

วิษัม รูธิระมาสาทยะ ประสรรปะติ ยะถา ตะเนาฯ

ตะไถวะ จฉิทระมาสาทยะ โทษัศจิตเต ประสรรปะติ๚๖๙๚

ไตละปาตระธะโร ยัทวะทะสิหัสไตระธิษฐิตะห์ฯ

สขะลิเต มะระณะตราสาตตัตปะระห์ สยาตตะถา วระตี๚๗๐๚

ตัสมาทุตสังคะเค สรรเป ยะโถตติษฐะติ สัตวะรัมฯ

นิทราลัสยาคะเม ตัทวัต ประติกุรวีตะ สัตวะรัม๚๗๑๚

เอไกกัสมิมศฉะเล สุษฐุ ปะริตัปยะ วิจินตะเยตฯ

กะถัม กะโรมิ เยเนทัม ปุนรรเม นะ ภะเวทิติ๚๗๒๚

สัมสรรคัม กรรมะ วา ปราปตะมิจเฉเทเตนะ เหตุนาฯ

กะถัม นามาสวะวัสถาสุ สมฤตยุภยาโส ภะเวทิติ๚๗๓๚

ละฆุม กุรยาตตะถาตมานะมะประมาทะกะถาม สมะรันฯ

กรรมาคะมาทยะถา ปูรวัม สัชชะห์ สรรวะตระ วรรตะเต๚๗๔๚

ยะไถวะ ตูละกัม วาโยรคะมะนาคะมะเน วะศัมฯ

ตะโถตสาหะวะศัม ยายาทฤทธิศไจวัม สะมฤธยะติ๚๗๕๚

อิติ วีรยะปาระมิตา นามะ สัปตะมะห์ ปะริจเฉทะห์๚

บทแปล โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๗  วีรยบารมี

 

1. เมื่อความอดทนมีอยู่อย่างนี้แล้ว บุคคลผู้มีความอดทนพึงส้องเสพซึ่งความเพียรพยายามเถิด เพราะว่าการตรัสรู้ย่อมตั้งมั่นอยู่ได้ในบุคคลผู้มีความเพียรพยายามเท่านั้น และหากเว้นซึ่งความเพียรเสียแล้ว บุญก็จักไม่เกิดขึ้น เหมือนความเคลื่อนไหว(ไม่มีอยู่) เพราะเว้นเสียซึ่งลม ฉะนั้น
2. ความเพียรคืออะไร ความเพียรก็คือความอุตสาหะขวนขวายในกุศล อะไรถูกเรียกว่าเป็นปรปักษ์กับความเพียรนั้นเล่า(สิ่งที่เป็นปรปักษ์กับความเพียรนั้น) ก็คือความเกียจคร้านการติดยึดอยู่ในสิ่งอันน่ารังเกียจ และการดูถูกเหยียบหยามตนเอง อันเกิดจากความท้อแท้สิ้นหวัง
3. เพราะความอยากในรสแห่งความสุขอันเกิดจากการหยุด(ทำ) การงาน และความงงงวยจากการหลับ (และ) เพราะความสงบเงียบแห่งความทุกข์ในสังสารวัฏ ความเกียจคร้านจึงได้เกิดขึ้น
4. เพราะถูกผู้ล่าคือกิเลสตามดมกลิ่นอยู่บุคคลจึงได้เข้าไปสู่ตาข่ายแห่งการเกิดอีก แม้ในวันนี้เจ้า(จิตใจ) ย่อมไม่รู้หรือว่าเป็นผู้เข้ามาสู่ปากแห่งความตายแล้ว
5. เจ้าย่อมไม่เห็นซึ่งพวกมันอันฆ่าอยู่ซึ่งหมู่สัตว์ของตนเอง พร้อมกับกรรมนั่นเองหรือแม้เมื่อเป็นเช่นนี้เจ้าก็ยังเข้าไปสู่นิทราอีก เหมือนกระบือของคนจัณฑาล ฉะนั้น
6. เมื่อหนทางอันคับแคบถูกพระยมเฝ้ามองอยู่โดยประการทั้งปวง เจ้ายังพอใจอยู่กับการบริโภคได้อย่างไร พอใจอยู่กับการหลับได้อย่างไร พอใจอยู่กับความสุขยินดี(ในกามราคะ) ได้อย่างไรเล่า
7. ในขณะที่บุคคลย่อมถึงซึ่งความตายอันประชุมเข้าด้วยกันโดยฉับพลัน แม้ได้สละซึ่งความเกียจคร้านนั้นแล้ว เจ้าจะทำอะไรในกาลอันไม่เหมาะสมได้เล่า
8. เมื่อคิดอยู่ว่าสิ่งที่เหลืออยู่นี้ยัง(ทำ) ไม่สำเร็จเรียบร้อย สิ่งนี้เพิ่งเริ่ม(ทำ) สิ่งนี้ทำสำเร็จเพียงครึ่งเดียว ความตายก็ย่างเข้ามาใกล้ทุกขณะ โอ้หนอ ข้าพเจ้าจะถูกทำลายเสียแล้ว
9. เมื่อได้เห็นซึ่งหมู่ญาติมิตรผู้สิ้นหวัง ซึ่งมีดวงตาและใบหน้าแดงกล่ำไปด้วยน้ำตาอันเกิดขึ้นจากกำลังของความเศร้าโศก และได้เห็นซึ่งใบหน้าของยมทูตทั้งหลาย
10. เจ้าซึ่งเป็นผู้มีความเร่าร้อนอยู่เพราะได้ระลึกถึงบาปของตน และได้ฟังเสียงของสัตว์นรกทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีร่างกายอันเปรอะเปื่อนแล้วด้วยอุจจาระอันน่ารังเกียจ เมื่อมีความลำบากอยู่(เช่นนี้) เจ้าจักทำอะไรได้เล่า
11. ความกลัวในที่นี้นั่นแล ย่อมเหมาะสมแก่เจ้าด้วยคิดว่าข้าพเจ้าย่อมเป็นเหมือนปลาตัวมีชีวิต(ซึ่งรอคอยการถูกกัดกิน) ฉะนั้น ความกลัวอะไรจักมีแก่คนผู้ทำบาปมากกว่าความทุกข์ยากในนรกอันเร่าร้อนอีกเล่า
12. แน่ะเจ้าผู้อ่อนโยน เมื่อได้เกี่ยวข้องอยู่กับด้วยน้ำอันร้อนแล้ว เจ้าย่อมถูกเผาไหม้(อย่างแน่นอน) และเมื่อได้สร้างกรรมอันชั่วช้าดุจนรกแล้ว เจ้าจักนั่งอยู่อย่างสุขสบายได้อย่างไร
13. แน่ะท่านผู้ปรารถนาผล(รางวัล) เจ้าย่อมเป็นผู้เกียจคร้าน แน่ะท่านผู้อ่อนโยน เจ้าย่อมมีความทุกข์อันยิ่งใหญ่แน่ะท่านผู้เป็นอมตะ เจ้าจักถูกความตายครอบงำโอ้ท่านผู้ทุกข์ ยากเจ้าจักต้องถูกทำลาย(โดยแน่แท้)
14. เมื่อได้ยึดเอาซึ่งเรือคือความเป็นมนุษย์แล้ว เจ้าจงข้ามแม่น้ำใหญ่คือความทุกข์เสียเถิดแน่ะคนโง่เขลากาลนี้มิใช่เวลาแห่งการหลับนอน(เพราะ) เรือ(คือชีวิต) เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งนัก
15. เมื่อได้สลัดทิ้งซึ่งความยินดีในธรรม อันประเสริฐยอดเยี่ยม เป็นสาเหตุแห่งความสุขยินดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความยินดีในความหยิ่งยโสและในการดูถูกเหยียดหยาม อันเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ จักมีแก่เจ้าได้อย่างไร
16. การชนะตนเองด้วยความไม่ท้อถอยสิ้นหวัง การเสริมสร้างพลังและการมุ่งเล็งถึงเป่าหมายความเสมอภาคกันระหว่างตนเองกับผู้อ ื่น ตลอดถึงการ (ยอมรับ ) เปลี่ยนแปลงของคนอื่นและตนเอง(ชื่อว่าเป็นลักษณะของความเพียรทั้งสิ้น )
17. ดังนั้น บุคคลไม่ควรกระทำซึ่งความเสื่อมถอย ด้วยคิดว่าการตรัสรู้จักมีแก่ตัวเราได้จากที่ไหนเล่าเพราะว่าพระตถาคตผู้มีปกติตรัสแต่คำจริง ได้ตรัสความจริงข้อนี้ไว้แล้วว่า
18. แม้พวกเขาเหล่านั้นได้เคยเป็นเหลือบ ยุง แมลงผึ้งและหนอนมาก่อน(เพราะอำนาจแห่งความพากเพียรนั่นเอง) พวกเขาจึงได้บรรลุถึงการตรัสรู้อันประเสริฐสูงสุด ซึ่งเป็นคุณชาติที่ใคร ๆ บรรลุถึงได้ยากยิ่งนัก
19. ดังนั้น ข้าพเจ้าเมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก และเป็นผู้สามารถที่จะรู้แจ้งถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์และหาประโยชน์มิได้แต่เพราะเหตุไร ข้าพเจ้าจึงไม่ได้บรรลุถึงการตรัสรู้เล่าเพราะ(ข้าพเจ้า) ไม่ได้สละทิ้งซึ่งความรู้ทั้งปวงเช่นนั้นหรือ
20. แม้หากว่าความกลัวจะมีแก่ข้าพเจ้าด้วยคิดว่าข้าพเจ้าพึงสละซึ่งอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นไซร้การไม่ได้พิจารณาซึ่งความยึดมั่นอยู่ในการกลัวเช่นนั้นว่าสำคัญหรือไม่สำคัญ ก็จะพึงมีแก่ข้าพเจ้า
21. แม้ข้าพเจ้าจะพึงถูกตัด ถูกเชือดเฉือน ถูกเผาไหม้และถูกฟันแทงมาหลายครั้งหลายคราวเป็นเวลาหลายล้านกัลป์ เหลือที่จะคณานับได้แต่การตรัสรู้ก็ยังไม่เกิดมี(แก่ข้าพเจ้า)
22. แต่ความทุกข์อันหาประมาณมิได้ของข้าพเจ้านี้จักเป็นเครื่องให้สำเร็จการตรัสรู้โดยสมบูรณ์ มันเป็นเหมือนความทุกข์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ได้กำจัดความเจ็บปวดทรมานอันเกิดจากลูกศรซึ่งถูกถอนขึ้นแล้ว ฉะนั้น
23. แม้แพทย์ทั้งปวงก็ได้ทำการรักษาให้เป็นผู้ปราศจากโรค ด้วยวิธีการรักษาเยียวยาอันเจ็บปวดทรมานทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เพื่อการขจัดความทุกข์จำนวนมากให้หมดสิ้นไปบุคคลควรอดทนต่อความทุกข์อันเล็กน้อยเสียเถิด
24. แพทย์ผู้ทรงประเสริฐ ย่อมไม่ทรงกระทำการรักษาเยียวยาอันเหมาะสมสอดคล้องเช่นนี้แต่พระองค์จักทรงรักษาผู้เจ็บป่วยจำนวนมากมาย ด้วยการปฏิบัติอันอ่อนโยน
25. ในเบื้องต้น พระผู้ทรงชี้นำย่อมทรงให้ประกอบแม้ในการให้ทาน มีพืชผักเป็นต้นจากนั้น บุคคลย่อมกระทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ภายหลังเขาควรสละแม้ซึ่งเนื้อหนังของตนเสีย
26. เมื่อใด ความรู้แจ้งย่อมเกิดขึ้นแม้ในเนื้อของตนเอง เหมือน(ที่เกิดขึ้นอยู่) ในพืชผักทั้งหลาย เมื่อนั้น อะไรเล่าจักเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากแห่งบุคคลผู้ได้สละซึ่งเนื้อและกระดูก
27. บุคคลเป็นผู้ไร้ความทุกข์ ก็เพราะได้สลัดทิ้งเสียซึ่งบาป เป็นผู้มีจิตใจไม่หดหู่ก็เพราะความที่ตนเป็นคนฉลาดเฉียบเหลม เหตุนั้น ความทุกข์ยากมีอยู่ในจิตใจได้ก็เพราะความนึกคิดที่หลงผิด (และ) มีอยู่ในร่างกายได้ก็เพราะบาป
28. ร่างกายย่อมมีความสุขได้ด้วยบุญ จิตใจเป็นสุขได้ด้วยความฉลาด อะไรจะสามารถสร้างความทุกข์ยากให้เกิดขึ้นแก่พระผู้ทรงมีพระเมตตาซึ่งทรงดำรงอยู่ในสังสารวัฏ เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นได้อีกเล่า
29. ด้วยพลังอำนาจแห่งโพธิจิตนั่นเอง บุคคลผู้ได้ขจัดบาปในครั้งก่อนให้หมดสิ้นไป และปรารถนาอยู่ซึ่งทะเลแห่งบุญ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้(กำจัดทุกข์ได้) ว่องไวกว่าพระสาวกทั้งหลาย(ของหินยาน)
30. เมื่อได้รับรถคือโพธิจิต อันเป็นเครื่องถอดถอนทำลายความหดหู่และความเมื่อยล้าทั้งปวงแล้ว ใครกันเล่าซึ่งเป็นผู้มีสติปัญญาได้ไปอยู่สู่ความสุขจากความสุขเช่นนี้จะพึงโศกเศร้าอีก
31. พลังแห่งความชอบใจ ความคงที่ความยินดีและความหลุดพ้น เกิดขึ้นอยู่เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ความชอบใจเป็นต้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นมาจากความกลัวในความทุกข์ยาก และมันจะเป็นสิ่งมีคุณประโยชน์ได้ก็เพราะการกระทำ
32. เมื่อได้กำจัดอุปสรรคสิ่งตรงกันข้ามเช่นนี้แล้ว บุคคลพึงพากเพียรเพื่อพอกพูนความอุตสาหะให้เจริญขึ้น ด้วยพลังแห่งความชอบใจ ความทะนงตน ความยินดี การเสียสละ จุดมุ่งหมายและความเป็นนาย(ของตนเอง) เถิด
33. ข้าพเจ้าควรกำจัดซึ่งโทษอันหาประมาณมิได้ทั้งของข้าพเจ้าเองและของคนอื่น ๆ เสีย ในบรรดาโทษเหล่านั้น ความสิ้นไปแห่งโทษอย่างหนึ่ง ๆ(ข้าพเจ้าพึงปรารถนาทำลาย)จนกว่าทะเลแห่งกัลป์ทั้งหลาย(จะเหือดแห้งไป)
34. แม้เศษธุลีอันน้อยนิด ในการเริ่มต้นกำจัดโทษให้หมดสิ้นไปนั้น ข้าพเจ้าไม่พึงมองข้าม ก็เพราะเหตุไร อกของข้าพเจ้าจะไม่แตกทำลายเสียเล่าในเมื่อได้กำหนดเอาความทุกข์อันหาประมาณมิได้(เช่นนั้น )
35. อนึ่ง ข้าพเจ้าควรได้รับซึ่งคุณประโยชน์อันมากมาย ทั้งของตัวข้าพเจ้าเองและของคนอื่น ๆ เพราะว่าการเพิ่มพูนคุณอย่างหนึ่ง ๆ จะไม่พึงเกิดขึ้น จนกว่าทะเลแห่งกัลป์(จะแห้งเหือดไป)
36. ในกาลบางคราว การพอกพูนแม้ในเศษอันเล็กน้อยแห่งคุณประโยชน์ ไม่เคยเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าเลย ชีวิตความเป็นอยู่ที่ได้มาด้วยความอัศจรรย์ใจ เป็นสิ่งไม่มีประโยชน์ที่ข้าพเจ้าได้ประสบมา
37. ข้าพเจ้าไม่เคยได้รับซึ่งความสุขอันเกิดจากการบูชาพระผู้มีพระภาค และในงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่การบำเพ็ญเพียรในหลักคำสอนข้าพเจ้าก็ไม่เคยปฏิบัติข้าพเจ้าไม่เคยทำความหวังของคนยากจนให้บริบูรณ์ได้เลย
38. ข้าพเจ้าไม่เคยให้ความปลอดภัยแก่ผู้มีความขลาดกลัว ไม่เคยสร้างความสุขให้แก่ผู้ทุกข์ยาก ข้าพเจ้าได้เข้าไปสู่ความปวดร้าวในครรภ์ของมารดาด้วยความทุกข์ทรมานอย่างเดียว
39. เพราะการไม่ประกอบความพอใจในธรรมมาแต่ก่อน ภัยพิบัติเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ข้าพเจ้าในกาลบัดนี้ใครจะพึงสละความพอใจในธรรมได้เล่า
40. พระมุนีได้ตรัสบอกไว้แล้วว่าความพอใจย่อมเป็นมูลรากของกุศลทั้งปวง และแม้มูลรากของความพอใจนี้ก็เป็นสิ่งอันมั่นคง เพราะทำผลแห่งวิบากกรรมให้เจริญขึ้นได้
41. ความทุกข์(กาย) ความทุกข์ใจ ภัยชนิดต่าง ๆ และการพลัดพรากจากสิ่งอันพึงปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้กระทำบาปทั้งหลาย
42. เมื่อได้บำเพ็ญคุณความดีไว้แล้ว บุคคลผู้มีความปรารถนาอยู่ภายในใจ จักไปในที่ใด ๆเขาย่อมถูกคุณแห่งผลบุญนั้นบูชา(ห้อมล้อม) อยู่ในที่นั้น ๆ นั่นเอง
43. แต่หากบุคคลเป็นผู้ปรารถนาความสุข(แต่) ประพฤติชั่วอยู่จะไปในที่ใด ๆ เขาก็จักถูกศัสตราแห่งความทุกข์ทรมานของความชั่วนั้นเบียดเบียนอยู่ในที่นั้น ๆ นั่นเอง
44. เมื่อพวกเขาได้เข้าไปสู่ครรภ์ของดอกบัวอันกว้างใหญ่มีกลิ่นหอมและเย็นสบายแล้ว(และ) เมื่อได้ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหารคือน้ำเสียงอันอ่อนโยนของพระชินเจ้าแล้ว รัศมี(ของพวกเขา) ก็จักเปล่งปลั่งสว่างไสวขึ้น ความงดงามอันแท้จริงก็จะไหลออกมาจากดอกบัวคือการตรัสรู้อันพระมุนีเจ้าได้ทรงสรรสร้างไว้แล้ว ด้วยกุศลกรรมทั้งหลายพวกเขาเหล่านั้นก็จักได้เกิดเป็นบุตรของ พระสุคตเจ้าก่อนกว่าพระสุคต(นั่นเอง)
45. บุคคลจะส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด เพราะผิวหนังทั้งปวงถูกยมฑูตเชือดฉีกอยู่ร่างกาย(ของเขา) ก็จักถูกกรอกด้วยน้ำทองแดงที่เดือดพล่านอยู่ในไฟอันลุกโชน ก้อนเนื้อก็จักถูกแบ่งออกเป็นร้อย ๆ ชิ้น โดยการถูกตัดอยู่ด้วยดาบและหอกอันร้อนรุ่ม ด้วยอกุศลกรรมทั้งหลาย หมู่ชนจำนวนมากมายจึงได้ตกไปในภาคพื้นแผ่นเหล็กอันร้อนจัด(เช่นนั้นทีเดียว)
46. เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำความพอใจในความดี ควรอบรมเพิ่มพูนความดีนั้นด้วยความพากเพียร แต่เมื่อได้ปรารภ(เพื่อที่จะทำความดีนั้น) แล้ว เขาควรทำมานะความพยายามให้เกิดขึ้น ด้วยวิธีการเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ในวัชรัธวชสูตร
47. ในเบื้องต้น บุคคลควรพิจารณาสภาพเงื่อนไขทั้งหลายก่อนว่าควรเริ่มหรือไม่ควรเริ่ม(กระทำหากไม่แน่ใจ) การไม่เริ่มต้น(กระทำ) ย่อมเป็นสิ่งประเสริฐกว่าแต่เมื่อได้ปรารภว่า(จะกระทำแล้ว ) เขาไม่ควรถอยกลับเสีย
48. แม้สิ่งนี้ก็จักเป็นความเคยชินในชาติอื่น ๆ และความทุกข์ยากก็จะเพิ่มเจริญขึ้นเพราะความชั่ว กาลเวลาที่ควรกระทำการงานอื่น ๆ ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป และการงานอื่น ๆ นั้นก็จักไม่สำเร็จได้เลย
49. บุคคลพึงกระทำความพากเพียรในเรื่อง3 เรื่องคือ ในการงาน ใน(การกำจัด) กิเลสและในสติปัญญาความสามารถ ความเพียรพยายามในการงานนั้น ย่อมมีได้เพราะคิดว่าข้าพเจ้าผู้เดียวเท่านั้น พึงกระทำ(สิ่งทั้งปวงให้สำเร็จได้) ดังนี้
50. สัตว์โลกซึ่งได้ผูกมัดตัวเองอยู่กับกิเลสนี้ย่อมไม่เพียงพอในการให้สำเร็จประโยชน์แก่ตนเอง ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงควรกระทำสิ่งเหล่านี้(เพราะว่า) หมู่ชนเป็นผู้ไม่มีความสามารถดุจเดียวกับข้าพเจ้า
51. คนอื่นจะกระทำการอันต่ำต่อย(ในขณะที่) ดำรงอยู่ต่อหน้าข้าพเจ้าได้อย่างไร หากข้าพเจ้ามิได้กระทำการงานนั้นด้วยความถือมั่นไซร้ขอความถือมั่นจงฉิบหายเสียเถิดความประเสริฐก็จักมีแก่ข้าพเจ้า
52. เมื่อได้ประสบกับงูตัวตายแล้ว แม้อีกาก็จะประพฤติเพียงดังนกครุฑ แม้ความทุกข์ยากเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จักเบียดเบียนอยู่(ซึ่งข้าพเจ้า) หากใจของข้าพเจ้าอ่อนกำลังลง
53. เมื่อบุคคลถูกความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทำให้เป็นผู้ไร้พลัง ความทุกข์ยากทั้งหลายก็ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้ง่ายมิใช่หรือ แต่ผู้ที่หมั่นลุกขึ้น มีความกระตือรือร้นและมีความทะนงตน ย่อมเป็นผู้ที่เอาชนะได้ยากนัก สำหรับหมู่ศัตรูผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย
54. ดังนั้น ด้วยจิตใจอันแน่วแน่ข้าพเจ้าจะกระทำความทุกข์ยากทั้งหลายให้ฉิบหายเสีย หากข้าพเจ้าถูกความทุกข์ยากเหล่านั้นเอาชนะ(ครอบงำ) ได้แล้ว ความปรารถนาชัยชนะในโลกทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่ควรหัวเราะเยาะ
55. ดังนั้น ข้าพเจ้าควรเอาชนะทุกสรรพสิ่ง ข้าพเจ้าไม่ควรถูกสิ่งใด ๆ เอาชนะได้ข้าพเจ้าควรยึดถือความทะนงตนเช่นนี้ไว้เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นบุตรของพระชินสีหราช
56. สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกความทะนงตนเข้าครอบงำแล้ว จักเป็นผู้มีความทุกข์ยาก สัตว์เหล่านั้นจึงเป็นผู้ไม่มีความโอหังอวดดีว่าบุคคลผู้ทะนงตน ย่อมไม่ตกไปสู่การอ่อนน้อมต่อศัตรูแต่พวกเขาจักเป็นผู้อ่อนน้อมต่อศัตรูคือ ความทะนงตนเท่านั้น
57. สัตว์เหล่านั้นย่อมถูกความหยิ่งยโสนำไปสู่ทุคติแม้ความสุขในอัตตภาพความเป็นมนุษย์ก็จักเสื่อมหายไป พวกเขาจักเป็นผู้อาศัยการบริโภคอาหารของคนอื่น เป็นทาส เป็นคนโง่เขลาน่าเกลียดน่ากลัวและเป็นคนซูบผอม
58. และพวกเขาจะถูกดูหมิ่นดูแคลนโดยประการทั้งปวง เป็นผู้มีความทุกข์ทรมาน เพราะถูกความหยิ่งยโสทำให้แข็งกระด้าง หากแม้พวกเขาดำรงอยู่ท่ามกลางแห่งความอวดดี(อย่างนี้) ไซร้ขอเจ้าจงบอกเถิดว่าลักษณะเช่นไรจักเป็นสิ่งอันน่าเวทนาต่ำช้า(กว่านี้อีก )
59. พวกเขาเหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้อวดดี มีชัยชนะและเป็นผู้กล้าหาญอย่างแท้จริง เมื่อได้ทำลายซึ่งความทะนงตน ด้วยชัยชนะเหนือศัตรูคือความทะนงตนแล้ว(และ) เมื่อได้กำจัดซึ่งข้าศึกคือความทะนงตน อันต่อสู้ดิ้นรนกันอยู่นั้นแล้ว ย่อมประกาศซึ่งผลแห่ชัยชนะเหนือผู้คนได้โดยแท้
60. บุคคลผู้ดำรงอยู่ในท่ามกลางกิเลสทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความกระตือรือร้นโดยประมาณพันครั้ง(และ) ควรเป็นคู่ต่อสู้ที่กิเลสทั้งหลายเอาชนะได้ยาก เหมือนราชสีห์อันหมู่กวางเอาชนะได้ยากอยู่ฉะนั้น
61. อนึ่ง เมื่อสภาวะทุกข์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ดวงตาย่อมไม่อาจเห็นซึ่งรส(คือแก่นแท้ของสิ่งนั้นได้) เมื่อได้รับความทุกข์ยากอยู่เช่นนี้บุคคลไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งหลาย
62. หากบุคคลได้รับอยู่ซึ่งการงานใด เขาพึงเป็นผู้มีใจผูกติดอยู่ในการงานนั้น ตัวเขาเองซึ่งยึดติดอยู่ในการงานนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่รู้จักพอ เหมือนบุคคล(ยึดติดอยู่) ในความปรารถนาที่จะได้รับความสุขอันเกิดจากผลแห่งการเล่นการพนัน ฉะนั้น
63. บุคคลกระทำอยู่ซึ่งการงานเพื่อประโยชน์แห่งความสุข แม้อย่างนี้ความสุขอาจจะพึงมีหรือไม่พึงมี(แก่เขา) ก็ได้แต่การงานของผู้ใดแลนำมาซึ่งความสุข(หาก) ผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ไร้จากการงาน จะพึงมีความสุขได้อย่างไรเล่า
64. ความพอใจย่อมไม่มีในสังสารวัฏ เพราะความใคร่ทั้งหลาย อุปมาเหมือนน้ำผึ้ง(ไม่มีอยู่)บนปลายคมมีดโกน ฉะนั้น เพราะการดับสิ้นไปแห่งบุญทั้งหลาย ความพอใจด้วยผลอันอ่อนหวานเจริญรุ่งเรือง(แห่งบุญนั้น ) จะมีอยู่ได้อย่างไรเล่า
65. เพราะฉะนั้น บุคคลควรมีใจจดจ่ออยู่ในการงานนั้น แม้ในที่สุดลงแห่งการงาน เหมือนช้างตัวเร่าร้อนอยู่ในตอนกลางวัน(ได้แช่จุ่มอยู่) ในสระอันตนประสบเข้าแล้วเป็นสิ่งแรกสุด ฉะนั้น
66. แต่เมื่อมีความเกี่ยวพันอยู่กับการเส ื่อมสิ้นไปแห่งพลังแล้ว บุคคลควรสละ(การกระทำนั้นเสีย) เพื่อกระทำใหม่อีก และเมื่อได้รับผลอันสมบูรณ์ดีแล้ว เขาพึงปล่อยวางการกระทำนั้นเสีย เพราะความอยากจะเพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้นไป
67. บุคคลพึงเฝ้าระวังป่องกันการทำลายของกิเลสทั้งหลายให้ดี และเขาควรประทุษร้ายตอบซึ่งกิเลสทั้งหลายอย่างตั้งใจแน่วแน่เหมือนทหารผู้เข้าไปสู่การสู้รบด้วยดาบกับข้าศึกที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ฉะนั้น
68. ในการศึกนั้น บุคคลผู้มีความกลัวควรรีบเก็บดาบที่ร่วงหล่นแล้วโดยเร็ว ฉันใด เมื่อนึกถึงอยู่ซึ่งนรก บุคคลก็ควรรีบยึดจับซึ่งดาบคือสติที่หลุดหายไปแล้ว ฉันนั้น
69. ยาพิษเมื่อได้ไหลเข้าไปสู่กระแสเลือดแล้ว ย่อมแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย ฉันใด ความโกรธแค้น เมื่อได้ประสบกับช่องก็จะไหลเข้าไป(ครอบงำ) ในจิตใจ ฉันนั้นนั่นแล
70. บุคคลผู้หวัง(ความเป็นพระโพธิสัตว์) พึงเป็นผู้ไม่ประมาท เหมือนคนใช้ผู้แบกหม้อน้ำมัน ได้ยืนอยู่(ในท่ามกลางราชบุรุษ) ผู้มีดาบถืออยู่ในมือทั้งหลายแล้ว(ไม่ประมาทอยู่) เพราะกลัวต่อความตาย หาก(เขา) ได้พลาดล้มลง
71. เพราะฉะนั้น เมื่องูมีอยู่บนหน้าตัก บุคคลย่อมลุกขึ้นโดยเร็ว ฉันใด เมื่อเข้าไปใกล้ซึ่งความหลับและความเกียจคร้าน บุคคลควรถ้อยหลังกลับอย่างฉับพลัน ฉันนั้น
72. เมื่อได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วยดี ในการคดโกงหลวกลวงครั้งหนึ่ง ๆ บุคคลจึงควรพิจารณาว่าข้าพเจ้าจักกระทำโดยประการใด ๆ ได้ขอสิ่งนั้นอย่าพึงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด
73. ด้วยเหตุนั้น บุคคลพึงปรารถนาซึ่งการได้รับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือการงานอันสมบูรณ์พร้อม โดยคิดว่าในสภาพการณ์ทั้งหลายนั้น การเจริญขึ้นแห่งสติจะพึงมีได้อย่างไร
74. เมื่อได้ระลึกถึงถ้อยคำแห่งความไม่ประมาทแล้ว บุคคลควรกระทำ(การปรับปรุง ) ตนเองโดยทันที เช่นเดียวกับที่บุคคลได้เปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายทั้งปวง ก่อนจะเริ่ม(ลงมือ)กระทำ
75. ปุยฝ่ายย่อมเป็นไปตามอำนาจการพัดไปมาแห่งลมทั้งหลาย ฉันใด บุคคลย่อมตามระลึกถึงอำนาจแห่งความอุตสาหะและความสำเร็จ (อันเกิด ) จากความพากเพียรนั่นแล ฉันนั้น

 

อ้างอิง (Reference)

Audio Source: 
http://www.bodhisvara.com/

Text Source: 

http://www.dsbcproject.org/node/4813

Text Version: 

Devanāgarī

Input Personnel: 

DSBC Staff

Input Date: 

2005

Proof Reader: 

Miroj Shakya

Supplier: 

Nagarjuna Institute of Exact Methods

Sponsor: 

University of the West

อ้างอิง

1. Digital Sanskrit Buddhist Canon, 2013, Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.dsbcproject.org[2016, May 26].

2. BODHISVARA, 2013, Śāntideva’s Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.bodhisvara.com/[2016, May 26].

3.พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ, 2549, การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร , วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า ภาคผนวก ข คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร ฉบับแปล

อ่านเอกสารตัวเต็มจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/PhramahaVichan_Kamnerdklab/Fulltext.pdf

เพื่อการศึกษาภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
แสดงที่มาข้อมูลที่มาของแหล่งเอกสาร-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0  (CC BY-NC-ND 4.0)

Loading

Be the first to comment on "คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๗"

Leave a comment