ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา[ฉบับย่อ]

แบ่งปันในสังคมออนไลน์
14330881_1254575124555682_224332194_n-1

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา
สำนวนในมหายานสูตรสังครหะ

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร เป็นพระสูตรขนาดเล็ก ในหมวดปรัชญาปารมิตาของพระไตรปิฎกฝ่ายมหายาน  พระสูตรหมวดนี้ ที่เน้นการใช้ปัญญาในการนำพาสู่ฝั่งข้างโน้น อันได้แก่พระนิพพาน ประกาศหลักอนัตตาซึ่งเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา

ข้อชี้แจ้ง 

เนื้อหาในจะมี 3 ส่วนคือ 1.ส่วนเสียงอ่าน 2.ภาคปริวรรต 3.ภาคแปล

  1.  ส่วนเสียงอ่าน จะมีเสียง 3 ไฟล์ เสียงอ่านธรรมดา 1 ไฟล์ และเสียงธรรมสังคีต 2 ไฟล์
    สามารถคลิกเล่นประกอบการอ่านได้
  2. ภาคปริวรรต จะปริวรรตจากต้นฉบับอักษรเทวนาครี อักษรไทยแบบคงรูป ใช้สัญลักษณ์
    และอักษรไทยแบบปรับรูป [สำหรับอ่านของบุคคลทั่วไป] ใช้ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
  3. ภาคแปล จะมีแปลเป็นภาคภาษาไทย

ส่วนเสียงอ่าน

เสียงอ่านธรรมดาสำเนียงอินเดีย


ธรรมสังคีต 1 [สำเนียงอินเดีย]


ธรรมสังคีต 2 [ประกอบดนตรี]


ภาคปริวรรต 

2

ต้นฉบับอักษรเทวนาครี จากโครงการ Digital Sanskrit Buddhist Canon


प्रज्ञापारमिताहृदयसूत्रम् 
[संक्षिप्तमातृका]
ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสูตฺรมฺ [สํกฺษิปฺตมาตฤกา]
ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสูตรัม [สังกษิปตะมาตฤกา]

|| नमः सर्वज्ञाय ||
๚ นมะ สรฺวชฺญาย ๚
๚ นะมะห์ สรรวัชญายะ ๚

आर्यावलोकितेश्वरबोधिसत्त्वो गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चरमाणो व्यवलोकयति स्म |
อารฺยาวโลกิเตศฺวรโพธิสตฺตฺโว คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรมาโณ วฺยวโลกยติ สฺม ฯ
อารยาวะโลกิเตศวะระโพธิสัตตโว คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จะระมาโณ วยะวะโลกะยะติ สมะ ฯ

पञ्च स्कन्धाः, तांश्च स्वभावशून्यान् पश्यति स्म ||
ปญฺจ สฺกนฺธาะ, ตําศฺจ สฺวภาวศูนฺยานฺ ปศฺยติ สฺม ๚
ปัญจะ สกันธาห์, ตามศจะ สวะภาวะศูนยาน ปัศยะติ สมะ ๚

इह शारिपुत्र रूपं शून्यता, शून्यतैव रूपम् |
อิห ศาริปุตฺร รูปํ ศูนฺยตา, ศูนฺยไตว รูปมฺ ฯ
อิหะ ศาริปุตระ รูปัม ศูนยะตา, ศูนยะไตวะ รูปัมฯ

रूपान्न पृथक् शून्यता, शून्यताया न पृथग् रूपम् |
รูปานฺน ปฤถกฺ ศูนฺยตา, ศูนฺยตายา น ปฤถคฺ รูปมฺ ฯ
รูปานนะ ปฤถัก ศูนยะตา, ศูนยะตายา นะ ปฤถัค รูปัม ฯ

यद्रूपं सा शून्यता, या शून्यता तद्रूपम् ||
ยทฺรูปํ สา ศูนฺยตา, ยา ศูนฺยตา ตทฺรูปมฺ ๚
ยัทรูปัม สา ศูนยะตา, ยา ศูนยะตา ตัทรูปัม ๚

एवमेव वेदनासंज्ञासंस्कारविज्ञानानि ||
เอวเมว เวทนาสํชฺญาสํสฺการวิชฺญานานิ ๚
เอวะเมวะ เวทะนาสัญชญาสัมสการะวิชญานานิ ๚

इहं शारिपुत्र सर्वधर्माः शून्यतालक्षणा अनुत्पन्ना अनिरुद्धा अमला न विमला नोना न परिपूर्णाः |
อิหํ ศาริปุตฺร สรฺวธรฺมาะ ศูนฺยตาลกฺษณา อนุตฺปนฺนา อนิรุทฺธา อมลา น วิมลา โนนา น ปริปูรฺณาะ ฯ
อิหัม ศาริปุตระ สรรวะธรรมาห์ ศูนยะตาลักษะณา อะนุตปันนา อะนิรุทธา อะมะลา นะ วิมะลา โนนา นะ ปะริปูรณาห์ ฯ

तस्माच्छारिपुत्र शून्यतायां न रूपम्, न वेदना, न संज्ञा, न संस्काराः, न विज्ञानानि |
ตสฺมาจฺฉาริปุตฺร ศูนฺยตายํา น รูปมฺ, น เวทนา, น สํชฺญา, น สํสฺการาะ, น วิชฺญานานิ ฯ
ตัสมาจฉาริปุตระ ศูนยะตายาม นะ รูปัม, นะ เวทะนา, นะ สัญชญา, นะ สัมสการาห์, นะ วิชญานานิ ฯ

न चक्षुःश्रोत्रघ्राणजिह्वाकायमनांसि, न रूपशब्दगन्धरसस्प्रष्टव्यधर्माः |
น จกฺษุะโศฺรตฺรฆฺราณชิหฺวากายมนําสิ, น รูปศพฺทคนฺธรสสฺปฺรษฺฏวฺยธรฺมาะ ฯ
นะ จักษุห์โศรตระฆราณะชิหวากายะมะนามสิ, นะ รูปะศัพทะคันธะระสัสปรัษฏะวยะธรรมาห์ ฯ

न चक्षुर्धातुर्यावन्न मनोधातुः ||
น จกฺษุรฺธาตุรฺยาวนฺน มโนธาตุะ ๚
นะ จักษุรธาตุรยาวันนะ มะโนธาตุห์ ๚

न विद्या नाविद्या न विद्याक्षयो नाविद्याक्षयो यावन्न जरामरणं न जरामरणक्षयो
न दुःखसमुदयनिरोधमार्गा न ज्ञानं न प्राप्तित्वम् ||
น วิทฺยา นาวิทฺยา น วิทฺยากฺษโย นาวิทฺยากฺษโย ยาวนฺน ชรามรณํ น ชรามรณกฺษโย
น ทุะขสมุทยนิโรธมารฺคา น ชฺญานํ น ปฺราปฺติตฺวมฺ๚
นะ วิทยา นาวิทยา นะ วิทยากษะโย นาวิทยากษะโย ยาวันนะ ชะรามะระณัม นะ ชะรามะระณักษะโย
นะ ทุห์ขะสะมุทะยะนิโรธะมารคา นะ ชญานัม นะ ปราปติตวัม๚

बोधिसत्त्वस्य(श्च ?) प्रज्ञापारमितामाश्रित्य विहरति चित्तावरणः |
โพธิสตฺตฺวสฺย(ศฺจ ?) ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย วิหรติ จิตฺตาวรณะ ฯ
โพธิสัตตวัสยะ(ศจะ ?) ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ วิหะระติ จิตตาวะระณะห์ ฯ

चित्तावरणनास्तित्वादत्रस्तो विपर्यासातिक्रान्तो निष्ठनिर्वाणः |
จิตฺตาวรณนาสฺติตฺวาทตฺรสฺโต วิปรฺยาสาติกฺรานฺโต นิษฺฐนิรฺวาณะ ฯ
จิตตาวะระณะนาสติตวาทะตรัสโต วิปรรยาสาติกรานโต นิษฐะนิรวาณะห์ ฯ

त्र्यध्वव्यवस्थिताः सर्वबुद्धाः प्रज्ञापारमितामाश्रित्य अनुत्तरां सम्यक्संबोधिमभिसंबुद्धाः ||
ตฺรฺยธฺววฺยวสฺถิตาะ สรฺวพุทฺธาะ ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย อนุตฺตรํา สมฺยกฺสํโพธิมภิสํพุทฺธาะ ๚
ตรยัธวะวยะวัสถิตาห์ สรรวะพุทธาห์ ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ อะนุตตะราม สัมยักสัมโพธิมะภิสัมพุทธาห์ ๚

तस्माज्ज्ञातव्यः प्रज्ञापारमितामहामन्त्रो महाविद्यामन्त्रोऽनुत्तरमन्त्रोऽसमसममन्त्रः
सर्वदुःखप्रशमनः सत्यममिथ्यत्वात् प्रज्ञापारमितायामुक्तो मन्त्रः |
ตสฺมาชฺชฺญาตวฺยะ ปฺรชฺญาปารมิตามหามนฺโตฺร มหาวิทฺยามนฺโตฺร’นุตฺตรมนฺโตฺร’สมสมมนฺตฺระ
สรฺวทุะขปฺรศมนะ สตฺยมมิถฺยตฺวาตฺ ปฺรชฺญาปารมิตายามุกฺโต มนฺตฺระ ฯ
ตัสมาชชญาตะวยะห์ ปรัชญาปาระมิตามะหามันโตร มะหาวิทยามันโตรนุตตะระมันโตรสะมะสะมะมันตระห์
สรรวะทุห์ขะประศะมะนะห์ สัตยะมะมิถยัตวาต ปรัชญาปาระมิตายามุกโต มันตระห์ ฯ

[บทธารณี]
तद्यथा- गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा ||
ตทฺยถา- คเต คเต ปารคเต ปารสํคเต โพธิ สฺวาหา ๚
ตัทยะถา- คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา๚

इति प्रज्ञापारमिताहृदयसूत्रं समाप्तम् ||
อิติ ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสูตฺรํ สมาปฺตมฺ ๚
อิติ ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสูตรัม สะมาปตัม ๚


ภาคแปล

พระอารยาวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อทรงได้บำเพ็ญปัญญาบารมี
จนบรรลุถึงโลกุตรธรรมอันลึกซึ้งแล้ว พิจารณาเล็งเห็นว่าที่แท้
จริงแล้วขันธ์ ๕ นั้นเป็นสูญ จึงได้ก้าวล่วงจากสรรพทุกข์ทั้งปวง

ดูก่อนท่านสารีบุตร รูปคือความสูญ ความสูญนั่นแหละคือรูป
ความสูญไม่อื่นไปจากรูป รูปไม่อื่นไปจากความสูญ
รูปอันใด ความสูญก็อันนั้น ความสูญอันใด รูปก็อันนั้น
อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นสูญอย่างเดียวกัน

ท่านสารีบุตร ก็สรรพธรรมทั้งปวงมี ความสูญเป็นลักษณะ
ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้

เพราะฉะนั้นแหละท่านสารีบุตร ในความสูญ
จึงไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม
ไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนธาตุ ธรรมชาตินั้น วิญญาณธาตุ
ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และอวิชชา
จนถึงไม่มี ความแก่ ความตาย ไม่มีความสิ้นไปแห่ง ความแก่ ความตาย
ไม่มีทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ

พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในปัญญาบารมี จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น
เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ
ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในตรีกาล (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต)
ด้วยเหตุที่ทรงอาศัยปัญญาบารมีจึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ด้วยเหตุฉะนี้จึงสมควรทราบว่าปัญญาบารมีนี้
คือมหาศักดามนตร์(เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์)
คือมหาวิทยามนตร์(เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่)
คืออนุตรมนตร์(เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า)
คืออสมสมมนตร์(เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้)
สามารถขจัดสรรพทุกข์ทั้งปวง นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล
จึงเป็นเหตุให้กล่าวมนตร์แห่งปัญญาบารมีว่า

“คะเต คะเต ปารคะเต ปารสังคะเต โพธิ สวาหา”*

*  ปกตินั้น บทธารณี นั้นมักจะไม่แปล แต่หากแปลจะแปลว่า
“จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง”


เชิงอรรถ

  1. ศูนยตาหรือสุญญตาศูนยตาหรือสุญญตา (บาลี: สุญฺญตา , สันสกฤต: ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า ความเป็นของสูญ มีความหมายว่า ความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้
    “สุญญตาอันใด อนัตตาก็อันนั้น อนัตตาอันใด สุญญตาก็อันนั้น”
    คำว่า สุญญตา เป็นคำที่ฝ่ายมหายานนิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด สุญญตากับอนัตตาความจริงก็มีความหมายใกล้เคียงกัน กล่าวคือเป็นคำปฏิเสธสภาวะซึ่งมีอยู่ เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง เพราะในทรรศนะของมหายาน สรรพสิ่งซึ่งปรากฏแก่เราล้วนเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งสิ้น สุญญตามิได้หมายว่าว่างเปล่าไม่มีอะไรเลยเหมือนอากาศ แต่หมายเพียงว่าไม่มีสภาวะที่ดำรงอยู่ได้โดยตัวของมันเอง ชนิดที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัย แต่ปัจจัยธรรมซึ่งอาศัยกันเป็นภาพมายา มีอยู่ปรากฏอยู่มิใช่ว่าจะไม่มีอะไรๆ ไปเสียทั้งหมด ฝ่ายมหายานอธิบายว่าโลกกับพระนิพพาน ความจริงไม่ใช่อันเดียวกันหรือแตกต่างกัน กล่าวคือโลกเป็นปฏิจจสมุปบาท ความดับปฏิจจสมุปบาทนั้นเสียได้ ก็คือพระนิพพาน ฉะนั้นทั้งโลกและพระนิพพานจึงเป็นสุญญตาคือไม่ใช่เป็นสภาวะ และเมื่อสภาวะไม่มีเสียแล้ว อภาวะก็พลอยไม่มีไปด้วย เพราะมีสภาวะจึงมีอภาวะเป็นของคู่กัน ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นสภาวะ ผู้นั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นอภาวะเล่า ผู้นั้นก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโดยสมมติสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นปฏิจจสมุปบาทและโดยปรมัตถสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นสุญญตาไซร้ ผู้นั้นแลได้ชื่อว่าผู้มีสัมมาทิฏฐิโดยแท้ ที่ว่ามานี้เป็นมติของพระนาครชุนผู้เป็นต้นนิกายสุญญวาท” (เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, ต-ถ )ดูและฟังเพิ่มเติมหลักของสุญญตา อ.เสถียร โพธินันทะ
    https://www.youtube.com/watch?v=QkPq3JeYy3E
    สุญญตาในลัทธิมหายาน อ.เสถียร โพธินันทะ
    https://www.youtube.com/watch?v=lrzejk4DOw8

     

     

  2. ธรรมสังคีต ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร นั้นมีหลากหลายภาษาและหลายสำนวน(แต่เนื้อหาเหมือนกัน) นอกจากจะนิยมสาธยายเป็นระหว่างประกอบพิธีทางศาสนาในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแล้ว ในปัจจุบันยังพบในรูปแบบที่เป็นธรรมสังคีต ประกอบกับดนตรีหลากหลายแนว และเวอร์ชั่นที่ได้รับความสนใจ หลายท่านคงจะเคยได้ยิน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร หรือ The Heart Sutra ที่ร้องเป็นภาษาสันสกฤตโดย Imee Ooi ชาวมาเลเซีย เชื้อสายจีนเป็นที่แพร่หลายใน Youtube เวอร์ชั่นนี้เป็นที่ชื่นชอบในไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบวีดีโอหรือแม้แต่บทปริวรรต  ผู้เรียบเรียงคิดว่า  ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ของ Imee Ooi น่าจะเป็น ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา[ฉบับย่อ] แต่สำนวนของใครไม่ทราบใด้ แต่น่าจะเป็นคนละสำนวนกับ สำนวนในมหายานสูตรสังครหะ
  3. เนื่องจากเป็นพระสูตรที่เป็นที่สนใจของคนไทยจำนวนมาก บทแปลไทยของ  ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา นี้ก็มีหลากหลายสำนวนเช่นกัน มีแพร่หลายในอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก แต่หาที่มาที่ไปไม่ได้ อนึ่งผู้เรียบเรียงเองไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสฤต ดังนั้น  ผู้เรียบเรียงจึงเลือกสำนวนมาหนึ่งสำนวน แต่ ณ ที่นี้ผู้เรียบเรียงนำมาประกอบใส่ไว้พอเป็นที่สังเขปเท่านั้น

เพื่อการสนับสนุนเว็บไซต์นี้เพื่อให้คงอยู่ต่อไป รบกวนผู้อ่าน กดไปที่โฆษณาจากทางกูเกิ้ล ก่อนออกจากบทความ เพื่อเป็นการสมทบค่า เซิร์ฟเวอร์และค่าโดเมนเว็บไซต์นี้ 

อ้างอิง

ข้อมูลอักษรต้นฉบับ

Title: Mahāyāna-sūtra-saṃgrahaḥ ( part 1)
Editor: Vaidya, P.L
Publisher: The Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning
Place of Publication: Darbhanga
Year: 1961

Technical Details
Text Version: Devanāgarī
Input Personnel: DSBC Staff
Input Date: 2004
Proof Reader: Miroj Shakya
Supplier: Nagarjuna Institute of Exact Methods
Sponsor: University of the West

อ่านเพิ่มเติมที่ http://dsbcproject.org/canon-text/content/401/1829

ข้อมูลเสียงต้นฉบับ

ไฟล์เสียงที่ 1 เสียงอ่านของ Aniruddha Basu ผู้ใช้ Youtube
Heart Sutra
ฟังเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=Ff_8FlH9xQs

ไฟล์เสียงที่ 2 เสียงร้องของ Vidya Rao นักร้องเพลงคลาสิก ชาวอินเดีย
Heart Sutra (Prajñāpāramitā Hṛdaya): Buddhist Chant :
ฟังเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=AIt2VHAC2Vk

ไฟล์เสียงที่ 3 เสียงร้องของ Elisa Chan นักร้องชาวฮ่องกง
心經 梵文唱頌 陳潔靈 作曲/編曲 倫永亮 :
ฟังเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=7FlwHU5KBfk

Loading

Leave a comment