โอวาทปาฏิโมกข์ ภาษาสันสกฤต ฉบับนิกายมูลสรรวาสติวาท

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

ในตอนท้ายของคัมภีร์มูลสรรวาสติวาทปราติโมกษ์สูตร ความว่าในตอนท้ายของคัมภีร์มูลสรรวาสติวาทปราติโมกษ์สูตร ความว่า


क्षान्तिः परमं तपस् तितिक्षा निर्वाणं परमं वदन्ति बुद्धाः ।
न हि प्रव्रजितः परोपतापी श्रमणो भवति परान् विहेठयानः ॥ १

กฺษานฺติะ ปรมํ ตปสฺ ติติกฺษา นิรฺวาณํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธาะ ฯ
น หิ ปฺรวฺรชิตะ ปโรปตาปี ศฺรมโณ ภวติ ปรานฺ วิเหฐยานะ ๚ ๑

[อ่านว่า]

กษานติห์ ปะระมัม ตะปัส ติติกษา นิรวาณัม ปะระมัม วะทันติ พุทธาห์ ฯ
นะ หิ ประวระชิตะห์ ปะโรปะตาปี ศระมะโณ ภะวะติ ปะราน วิเหฐะยานะห์ ๚ ๑

๑ . กษานติ คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิรวาณว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ฆ่าสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นศรมณะเลย


चक्षुष्मान् विषमाणीव विद्यमाने पराक्रमे ।
पण्डितो जीवलोके ‘स्मिन् पापानि परिवर्जयेत् ॥ २

จกฺษุษฺมานฺ วิษมาณีว วิทฺยมาเน ปรากฺรเม ฯ
ปณฺฑิโต ชีวโลเก ‘สฺมินฺ ปาปานิ ปริวรฺชเยตฺ ๚ ๒

[อ่านว่า]

จักษุษ-มาน วิษะมาณีวะ วิทยะมาเน ปะรากระเม ฯ
ปัณฑิโต ชีวะโลเก ‘สมิน ปาปานิ ปะริวรรชะเยต ๚ ๒

๒. เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสียเหมือนคนมีจักษุ เว้นทางอันขรุขระฉะนั้น


अनुपवादो ‘नुपघातः प्रातिमोकेฺष च संवरः ।
मात्रज्ञता च भक्ते ‘स्मिन् प्रान्तं च शयनासनम्
अधिचित्ते समायोग एतद् बुद्धानुशासनम् ॥ ३

อนุปวาโท ‘นุปฆาตะ ปฺราติโมเกฺษ จ สํวระ ฯ
มาตฺรชฺญตา จ ภกฺเต ‘สฺมินฺ ปฺรานฺตํ จ ศยนาสนมฺ
อธิจิตฺเต สมาโยค เอตทฺ พุทฺธานุศาสนมฺ ๚ ๓

[อ่านว่า]

อะนุปะวาโท ‘นุปะฆาตะห์ ปราติโมเกฺษะ จะ สัมวะระห์ ฯ
มาตรัชญะตา จะ ภักเต ‘สมิน ปรานตัม จะ ศะยะนาสะนัม
อะธิจิตเต สะมาโยคะ เอตัท พุทธานุศาสะนัม ๚ ๓

๓. การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปราติโมกษ์ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค การนอนการนั่งอันสงัดการประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


यथापि भ्रमरः पुष्पाद् वर्णगन्धाव् अहेठयन् ।
डयते रसम् आदाय एवं ग्रामे मुनिश् चरेत् ॥ ४

ยถาปิ ภฺรมระ ปุษฺปาทฺ วรฺณคนฺธาวฺ อเหฐยนฺ ฯ
ฑยเต รสมฺ อาทาย เอวํ คฺราเม มุนิศฺ จเรตฺ ๚ ๔

[อ่านว่า]

ยะถาปิ ภระมะระห์ ปุษปาท วรรณะคันธาว อะเหฐะยัน ฯ
ฑะยะเต ระสัม อาทายะ เอวัม คราเม มุนิศ จะเรต ๚ ๔

๔. ภมรภู่ผึ้งไม่ทำลายดอกไม้ สีและกลิ่นให้ชอกช้ำ นำเอารสแล้วก็โบยบินไป ฉันใด มุนีก็พึงเที่ยวไปในบ้าน ฉันนั้น


न परेषां विलोमानि न परेषां कृताकृतम् ।
आत्मनस् तु समीकेฺषत समानि विषमाणि च ॥ ५

น ปเรษํา วิโลมานิ น ปเรษํา กฤตากฤตมฺ ฯ
อาตฺมนสฺ ตุ สมีเกฺษต สมานิ วิษมาณิ จ ๚ ๕

[อ่านว่า]

นะ ปะเรษาม วิโลมานิ นะ ปะเรษาม กฤตากฤตัม ฯ
อาตมะนัส ตุ สะมีเกฺษะตะ สะมานิ วิษะมาณิ จะ ๚ ๕

๕. บุคคลไม่พึงใส่ใจคำแสลงหูของชนเหล่าอื่น ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของชนเหล่าอื่น, พึงพิจารณาในสิ่งที่สำเร็จและสิ่งที่ผิดพลาดของตนเท่านั้น


अधिचेतसि मा प्रमाद्यतो मुनिनो मौनिपदेषु शिक्षतः ।
शोका न भवन्ति तायिन उपशान्तस्य सदा स्मृतिमतः ॥ ६

อธิเจตสิ มา ปฺรมาทฺยโต มุนิโน เมานิปเทษุ ศิกฺษตะ ฯ
โศกา น ภวนฺติ ตายิน อุปศานฺตสฺย สทา สฺมฤติมตะ ๚ ๖

[อ่านว่า]

อะธิเจตะสิ มา ประมาทยะโต มุนิโน เมานิปะเทษุ ศิกษะตะห์ ฯ
โศกา นะ ภะวันติ ตายินะ อุปะศานตัสยะ สะทา สมฤติมะตะห์ ๚ ๖

๖. ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ผู้ที่อธิจิต ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาอยู่ในครองแห่งมุนี คงที่ สงบ มีสติทุกเมื่อ


ददतः पुण्यं प्रवर्धते वैरं संयमतो न चीयते ।
कुशली प्रजहाति पापकं केฺलशानां क्षयितस् तु निर्वृतिः ॥ ७

ททตะ ปุณฺยํ ปฺรวรฺธเต ไวรํ สํยมโต น จียเต ฯ
กุศลี ปฺรชหาติ ปาปกํ เกฺลศานํา กฺษยิตสฺ ตุ นิรฺวฤติะ ๚ ๗

[อ่านว่า]

ทะทะตะห์ ปุณยัม ประวรรธะเต ไวรัม สัมยะมะโต นะ จียะเต ฯ
กุศะลี ประชะหาติ ปาปะกัม เกฺละศานาม กษะยิตัส ตุ นิรวฤติห์ ๚ ๗

๗. บุญย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ให้ทาน บุคคลผู้สำรวมย่อมไม่ก่อเวร ส่วนท่าน ผู้ฉลาดย่อมละบาป ครั้นละแล้วถึงนิพพาน* เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลศ

*ศัพท์คือ นิรฺวฤติ ในบาลีคือ นิพฺพุติ หมายถึง ความเย็นอกเย็นใจ ความดับเย็น ขั้นสุงสุดคือนิพพาน


सर्वपापस्याकरणं कुशलस्योपसंपदा ।
स्वचित्तपरिदमनम् एतद् बुद्धानुशासनम् ॥ ८

สรฺวปาปสฺยากรณํ กุศลสฺโยปสํปทา ฯ
สฺวจิตฺตปริทมนมฺ เอตทฺ พุทฺธานุศาสนมฺ ๚ ๘

[อ่านว่า]

สรรวะปาปัสยากะระณัม กุศะลัสโยปะสัมปะทา ฯ
สวะจิตตะปะริทะมะนัม เอตัท พุทธานุศาสะนัม ๚ ๘

๘. ความไม่ทำบาปทั้งปวง ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า


कायेन संवरः साधु साधु वाचा च संवरः ।
मनसा संवरः साधु साधु सर्वत्र संवरः ।
सर्वत्र संवृतो भिक्षुः सर्वदुःखात् प्रमुच्यते ॥ ९

กาเยน สํวระ สาธุ สาธุ วาจา จ สํวระ ฯ
มนสา สํวระ สาธุ สาธุ สรฺวตฺร สํวระ ฯ
สรฺวตฺร สํวฤโต ภิกฺษุะ สรฺวทุะขาตฺ ปฺรมุจฺยเต ๚ ๙

[อ่านว่า]

กาเยนะ สัมวะระห์ สาธุ สาธุ วาจา จะ สัมวะระห์ ฯ
มะนะสา สัมวะระห์ สาธุ สาธุ สรรวะตระ สัมวะระห์ ฯ
สรรวะตระ สัมวฤโต ภิกษุห์ สรรวะทุห์ขาต ประมุจยะเต ๚ ๙

๙. การสำรวมกาย เป็นการดี การสำรวมวาจา เป็นการดี ฯ การสำรวมใจ เป็นการดี การสำรวมสิ่งทั้งปวง เป็นการดี ฯ ภิกษุผู้สำรวมสิ่งทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้


वाचानुरक्षी मनसा सुसंवृतः कायेन चैवाकुशलं न कुर्यात् ।
एतांस् त्रीन् कर्मपथान् विशोध्य नारागयेन् मार्गम् ऋषिप्रवेदितम् ॥ १०

วาจานุรกฺษี มนสา สุสํวฤตะ กาเยน ไจวากุศลํ น กุรฺยาตฺ ฯ
เอตําสฺ ตฺรีนฺ กรฺมปถานฺ วิโศธฺย นาราคเยนฺ มารฺคมฺ ฤษิปฺรเวทิตมฺ ๚ ๑๐

[อ่านว่า]

วาจานุรักษี มะนะสา สุสัมวฤตะห์ กาเยนะ ไจวากุศะลัม นะ กุรยาต ฯ
เอตานส ตรีน กรรมะปะถาน วิโศธยะ นาราคะเยน มารคัม ฤษิประเวทิตัม ๚ ๑๐

๑๐. บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา สำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย พึงยังกรรมบถทั้งสามเหล่านี้ให้หมดจด พึงยินดีทางที่ท่านผู้แสวงคุณความดี* ประกาศแล้ว

*ศัพท์คือ ฤษี คือ นักบวช ฤษี หรือ ผู้แสวงคุณความดี ในที่นี้หมายถึง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย


बुद्धो विपश्यी च शिखी च विश्वभु क्रकुत्सन्दः कनकमुनिश् च काश्यपः ।
अनुत्तरः शाक्यमुनिश् च गौतमो देवातिदेवो नरदम्यसारथिः ॥ ११
सप्तानां बुद्धवीराणां लोकनाथाग्रतायिनां ।
उद्दिष्टः प्रातिमोकोฺष ‘यं विस्तरेण यशस्विनाम् ॥ १२

พุทฺโธ วิปศฺยี จ ศิขี จ วิศฺวภุ กฺรกุตฺสนฺทะ กนกมุนิศฺ จ กาศฺยปะ ฯ
อนุตฺตระ ศากฺยมุนิศฺ จ เคาตโม เทวาติเทโว นรทมฺยสารถิะ ๚ ๑๑

สปฺตานํา พุทฺธวีราณํา โลกนาถาคฺรตายินํา ฯ
อุทฺทิษฺฏะ ปฺราติโมโกฺษ ‘ยํ วิสฺตเรณ ยศสฺวินามฺ ๚ ๑๒

[อ่านว่า]

พุทโธ วิปัศยี จะ ศิขี จะ วิศวะภุ กระกุตสันทะห์ กะนะกะมุนิศ จะ กาศยะปะห์ ฯ
อะนุตตะระห์ ศากยะมุนิศ จะ เคาตะโม เทวาติเทโว นะระทัมยะสาระถิห์ ๚ ๑๑
สัปตานาม พุทธะวีราณาม โลกะนาถาคระตายินาม ฯ
อุททิษฏะห์ ปราติโมโกฺษะ ‘ยัม วิสตะเรณะ ยะศัสวินาม ๚ ๑๒

พระวิปัศยีพุทธเจ้า พระศิขีพุทธเจ้า พระวิศวภูพุทธเจ้า พระกระกุตสันทพุทธเจ้า พระกนกมุนีพุทธเจ้า พระกาศยปพุทธเจ้า และผู้ที่ตามมาคือ พระศากยมุนีเคาตมะ ผู้เป็นเทวะแห่งเทวะ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้

พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นผู้คุ้มครองและเป็นที่พึ่งของโลก เป็นผู้แสดงพระปราติโมกษ์อันกว้างขวางรุ่งเรืองนี้ด้วยพระองค์เอง

*พระนามแบบบาลี คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า

Loading

Be the first to comment on "โอวาทปาฏิโมกข์ ภาษาสันสกฤต ฉบับนิกายมูลสรรวาสติวาท"

Leave a comment