เอกาทศมุขธารณี ภาษาสันสกฤต ฉบับชำระที่ใช้ในการขับร้อง

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

เอกาทศมุขธารณี ภาษาสันสกฤต ฉบับชำระที่ใช้ในการขับร้อง พร้อมความหมายและการอ่านอย่างง่าย พร้อมเชิงอรรถ เอกาทศมุขธารณี ภาษาสันสกฤต ฉบับที่ยังเหลืออยู่

ภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทรงยืน 11 เศียร 4 กร ศิลปะขอมแบบคลัง (Khleang) ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของเอกชน



ธารณีนี้ที่มีการเข้าใจผิดดังนี้

เอกาทศมุขธารณี ภาษาสันสกฤต นั้นเป็น
๑. นีลกัณฐธารณี หรือ มหากรุณาธารณี (大悲咒 ) ภาษาสันสกฤต
๒. มหากรุณาธารณีฉบับสั้น หรือ หัวใจของ มหากรุณาธารณี ภาษาสันสกฤต
๓. มหากรุณาธารณีแบบทิเบต หรือใช้ภาษาทิเบต ใช้เฉพาะวัชรยานแบบทิเบต

ข้อเท็จจริง

๑. เอกาทศมุขธารณี ไม่ใช่ มหากรุณาธารณี
๒. เอกาทศมุขธารณีฉบับขับร้อง เป็น ภาษาสันสกฤต ไม่ใช่ ภาษาทิเบต
๓. เอกาทศมุขธารณีฉบับขับร้อง เป็นฉบับชำระแล้ว การปรับแก้อักขรวิธีบางส่วน โดยใช้ ฉบับทิเบตร่วมกับ ฉบับจีนและสันสกฤต ไม่ใช่ฉบับทิเบตที่ออกเสียงแบบดั้งเดิมทั้งหมด
๔. เอกาทศมุขธารณี ใช้ในมหายานและวัชรยาน แต่ละฝ่ายมีฉบับเฉพาะที่ใกล้เคียงกัน

แล้วควรจะเรียกอย่างไร ? หากจะเรียกให้ถูก ไม่ควรเรียก มหากรุณาธารณี แต่ควรเรียกว่า
เอกาทศมุขธารณี ภาษาสันสกฤต ก็น่าจะเพียงพอ

เอกาทศมุขธารณี ประกอบด้วย ๒ ส่วน ๑.ประณามบท คือ บทนมัสการพระรัตนตรัย พระไวโรจนพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ ๒.มนตร์ธารณี

โดยปกติ ตัวบทธารณี มักจะไม่แปล เพราะถือเป็นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ ให้สวดตามนั้น ซึ่งส่วนมากแปลเอาความหมายทั้งประโยคไม่ได้ เพราะว่า ๑.ไม่มีความหมายโดยตรง ๒.ผิดไวยากรณ์ หรือ ไม่ครบประโยค ๓.เป็นเสียงของมนตร์ที่เปล่งออกมาเป็นจังหวะ แต่ในที่นี้จะแปลไว้ให้เห็น ความหมายของศัพท์

บทธารณีนี้เป็นสันสกฤตแบบผสมในพุทธศาสนาซึ่งธารณีบทนี้อาจเป็นผสมกับภาษาปรากฤตมาคธี เพราะมีการผันคำที่ลงท้ายด้วย สระเอ ซึ่งเป็นไปได้ว่า เอกาทศมุขธารณี มาจากอินเดียส่วนกลาง ซึ่งมาจากคนละแหล่งกับ นีลกัณฐธารณี(มหากรุณาธารณี) ซึ่งมีรูปแบบกัษมีระ หรือเอเชียกลาง

—————-

เอกาทศมุขธารณีที่จะนำเสนอมีดังต่อไปนี้

พระอวโลกิเตศวร ๑๑ พักตร์ ที่มา เนปาลหรือทิเบต อายุราว ศตวรรษที่ ๑๔ : จาก christies



๑.เอกาทศมุขธารณี ฉบับชำระที่ใช้ในการขับร้อง

นโม รตฺนตฺรยาย ฯ นม อารฺยชฺญานสาคร ไวโรจนวฺยูหราชาย ตถาคตาย อรฺหเต สมฺยกฺสํพุทฺธาย ฯ
นมะ สรฺวตถาคเตภฺยะ ฯ อรฺหเตภฺยะ สมฺยกฺสํพุทฺเธภฺยะ ฯ นม อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย ฯ

ตทฺยถา ฯ โอํ ธร ธร ธิริ ธิริ ธุรุ ธุรุ อิฏฺเฏ วิฏฺเฏ จเล จเล ปฺรจเล ปฺรจเล กุสุเม กุสุมวเร อิลิ มิลิ จิติชฺวาลํ อาปนาย สฺวาหา ๚


—————-
อ่านและแปล
—————-

[I] นะโม รัตนะตระยายะฯ

[II] นะมะ อารยะ-ชญานะ-สาคะระ ไวโรจะนะ-วยูหะราชายะ ตะถาคะตายะ อรรหะเต สัมยัก-สัมพุทธายะฯ

[III] นะมะห์ สรรวะ-ตะถาคะเต-ภยะห์ ฯ อรรหะเต-ภยะห์ สัมยักสัมพุทเธ-ภยะห์ ฯ

[IV] นะมะ อารยาวะโลกิเต-ศวะรายะ โพธิสัต-ตวายะ มะหาสัต-ตวายะ มะหา-การุณิกายะ ฯ

[V] ตัทยะถา ฯ โอม ธะระ ธะระ ธิริ ธิริ ธุรุ ธุรุ อิฏเฏ วิฏเฏ จะเล จะเล ประจะเล ประจะเล กุสุเม กุสุมะวะเร อิลิ มิลิ จิติชวาลัม อาปะนายะ สวาหา ๚


—————-

[I] ขอน้อบนอมแด่พระรัตนตรัย

[II] ขอนอบน้อมแด่ พระองค์ผู้เป็นห้วงมหาสาคร[1]แห่งพระญาน[2]อันประเสริฐ พระไวโรจนะ[3]ผู้เป็นราชาแห่งการสำแดงพระภาค[4] ผู้เป็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า[5]

[III] ขอนอบน้อมแด่ปวงพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

[IV] ขอนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวรผู้ประเสริฐ โพธิสัตว์มหาสัตว์ผู้ทรงมหากรุณา

[V] ดังนี้ :

โอม ค้ำจุน ค้ำจุน .. (ธะระ ธะระ ธิริ ธิริ ธุรุ ธุรุ)
[เสียงมนตร์ ธะระ มาจากธาตุ ธฺฤ หมายถึง ยึด จับ ค้ำ สนับสนุน ส่วน ธิริ ธุรุ เป็นการแผลงเสียงรูปแบบไม่ปกติ จาก ธะระ เพื่อให้เกิดจังหวะ มีคล้ายเรียกร้องการสนับสนุน]

อิฏเฏ วิฏเฏ
[ เสียงมนตร์ที่ถูกพิจารณาว่าไม่มีความหมาย อิฏเฏ หรือ เอฏฺเฏ คำคล้ายเสียงของกลุ่มภาษาดราวิเดียน ในฉบับเนปาล วิฏเฏ เป็น วัฏฺเฏ คือการ การหมุน การเวียนไป บางฉบับแปลภาษาอังกฤษบางแหล่ง มีการปรับคำให้ใกล้คำในภาษาสันสกฤตแบบแผน แล้วจึงแปล ในที่นี้ไม่กล่าวถึง]

เคลื่อนไป เคลื่อนไป (จะเล จะเล)
[เสียงมนตร์ จะเล เป็นการผันรูปสันสกฤตแบบผสม คำในสันสกฤตแบบแผนคือ จะละ หมายถึง การเคลื่อนที่ หรือ การสั่นไหว]

ก้าวไปข้างหน้า ก้าวไปข้างหน้า (ประจะเล ประจะเล)
[เสียงมนตร์ ประจะเล ป็นการผันรูปสันสกฤตแบบผสม คำในสันสกฤตแบบแผนคือ ประจะละ หมายถึง ก้าวไปข้างหน้า การเคลื่อนที่ไปด้วยดี, ไปอย่างกว้างขวาง, สั่นสะท้าน]

ดอกไม้ ดอกไม้อันเลิศ (กุสุเม กุสุมะวะเร)
[เสียงมนตร์ กุสุเม เป็นการผันรูปสันสกฤตแบบผสม คำในสันสกฤตแบบแผนคือ กุสุมะ หมายถึง ดอกไม้ ความหมายโดยนัยยะอาจหมายถึง ความประเสริฐ ความงาม และยังสื่อถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม ได้ด้วย ส่วน วะเร คำในสันสกฤตแบบแผนคือ วะระ หมายถึง พร เลิศ ยอดเยี่ยม บางฉบับเป็น จะเล ]

อิลิ มิลิ
[ เสียงมนตร์ที่ถูกพิจารณาว่าไม่มีความหมาย]

อันจะนำมาซึ่งความรู้อันโชติช่วง สวาหา (จิติชวาลัม อาปะนายะ สวาหา)

—————-

หมายเหตุ :
[1] ห้วงมหาสาคร คือ ห้วงน้ำใหญ่ หรือมหาสมุทร มีความหมายว่า ไร้ขอบเขต ไม่มีประมาณ
[2] ญาณ หรือ ชฺญาน ในที่นี้คือ ความปรีชาหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้าที่ไม่มีขอบเขต
[3] พระไวโรจนพุทธะ พระพุทธเจ้าผู้เป็นประธานของพระธยานิพุทธเจ้าทั้ง ๕ เป็นตัวแทนปัญญาอันสูงสุด
[4] วยูหะ แปลว่า จัดรูป ประดับ ตกแต่ง จัดรูปขบวน กระบวนทัพ หรือ การสำแดงพระภาคต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ เช่น การสำแดงเป็นพระเป็นเจ้าต่างๆที่มาจากปุรุโษตตมะ ในที่นี้หมายถึง การสำแดงพระกายด้วยรูปลักษณะต่างๆของพระไวโรจนะ แม้แต่การสำแดงเป็นพระมนุษยพุทธเจ้าลงมาสั่งสอนชาวโลก ในโลกธาตุต่างๆ
[5] ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ คือ พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง]

ใน อวตังสกะสูตร กล่าวถึงคุณสมบัติของ พระไวโรจนะว่า : เหนือปัทมอาสน์นั้นให้ปรากฏด้วยสรรพลักษณ์ แต่ละรูปกายครอบคลุมซึ่งสรรพโลกธาตุ ด้วยมโนระลึกเดียวให้สำแดงในตรีกาล สรรพโลกธาตุสาคร จึงได้สำเร็จตั้งขึ้น (จาก พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน : พระวิศวภัทร: 2549) ขอนี้โปรดศึกษาเรื่องพระไวโรจนะ เพิ่มเติมเพราะเป็นความมติเฉพาะมหายานและวัชรยาน

—————-
เชิงอรรถ เอกาทศมุขธารณี ภาษาสันสกฤต ฉบับต่างๆ
—————-

พระอวโลกิเตศวร ๑๑ พักตร์ ทิเบตกลาง ศตวรรษที่ ๑๖ จาก lacma


๑. एकादश्मुखं नाम हृदयम्‌ (เอกาทศฺมุขํ นาม หฤทยมฺ‌)
เอกาทศมุขธารณี ฉบับที่พบใน กิลกิต ปากีสถาน ที่จดจารลงบนเปลือกไม้เบิร์ช ทำการศึกษาวิจัยโดย อ. Nalinaksha Dutt มหาวิทยาลัยกัลกัตตา ชำระและตีพิมพ์ใน Gilgit Manuscripts Vol. 1 ปี ค.ศ. 1939 มีธารณีหลายบท ยกมาเฉพาะส่วนที่คล้ายกับฉบับอื่น

—————-

नमो रत्नत्रयाय | नमो वैरोचनाय तथागताय| नम आर्यावलोकितेश्वराय बोधिसत्त्वाय महासत्त्वाय महाकारुणिकाय| नमः अतीतानागतप्रत्युत्पन्नेभ्यः सर्वतथागतेभ्योऽर्हद् भ्यः सम्यक्संबुद्धेभ्यः|
ओम् धर धर| धिरि धिरि| धुरु धुरु| इट्टे विट्टे| चले चले| प्रचले प्रचले| कुसुमे कुसुमवरे| इलि मिलि विटि स्वाहा| एवं मूलमन्त्रः||


—————-

นโม รตฺนตฺรยาย ฯ นโม ไวโรจนาย ตถาคตาย ฯ
นม อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย ฯ
นมะ อตีตานาคตปฺรตฺยุตฺปนฺเนภฺยะ สรฺวตถาคเตภฺโย’รฺหทฺภฺยะ สมฺยกฺสํพุทฺเธภฺยะฯ
โอมฺ ธร ธร ธิริ ธิริ ฯ ธุรุ ธุรุ ฯ อิฏฺเฏ วิฏฺเฏ ฯ จเล จเล ฯ ปฺรจเล ปฺรจเล ฯ กุสุเม กุสุมวเร ฯ อิลิ มิลิ วิฏิ สฺวาหา ฯ เอวํ มูลมนฺตฺระ ๚


—————-

พระอวโลกิเตศวร ๑๑ พักตร์ พันกร ทิเบต ศตวรรษที่ ๑๔ จาก metmuseum


๒. สหัสรภุชโลเกศวรธารณี (सहस्रभुजलोकेश्वरधारणी)
ฉบับที่อยู่ใน ธารณีสังคระหะ ฉบับตัวเขียนที่พบในเนปาล ศึกษาชำระต่อโดย อ. Gergely Hidas นักวิชาการ แห่งพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ De Gruyter ในหัวข้อ Powers of Protection ชำระเป็นอักษรโรมันดังนี้

—————-

oṃ namo āryāvalokiteśvarāya ॥
namo āryajñānasāgaravairocanavyūharājatathāgatāyārhate samyaksambuddhāya ॥
namaḥ sarvatathāgatebhyo’rhadbhyaḥ samyaksambuddhebhyaḥ ।
namaḥ āryāvalokiteśvarāya bodhisattvāya mahāsattvāya mahākāruṇikāya ॥
tadyathā ॥ oṃ dhara 2 dhiri 2 dhuru 2 eṭṭe vaṭṭe cala 2 pracala 2 kusume kusumacale ili mili cittajvālaṃ apanaya svāhā ॥


—————-

โอํ นโม อารฺยาวโลกิเตศฺวราย ๚
นโม อารฺยชฺญานสาครไวโรจนวฺยูหราชตถาคตายารฺหเต สมฺยกฺสมฺพุทฺธาย ๚
นมะ สรฺวตถาคเตภฺโย’รฺหทฺภฺยะ สมฺยกฺสมฺพุทฺเธภฺยะ ฯ
นมะ อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย ๚
ตทฺยถา ๚ โอํ ธร ๒ ธิริ ๒ ธุรุ ๒ เอฏฺเฏ วฏฺเฏ จล ๒ ปฺรจล ๒ กุสุเม กุสุมจเล อิลิ มิลิ จิตฺตชฺวาลํ อปนย สฺวาหา ๚


—————-

พระอวโลกิเตศวร ๑๑ พักตร์ จีน ราชวงศ์ถัง (ประมาณ ค.ศ. 700) พิพิธภัณฑ์ศิลปะคลีฟแลนด์


๓.เอกาทศมุขอวโลกิเตศวรหฤทัยธารณีสาธยายวิธีสูตร
(十一面觀自在菩薩心密言念誦儀軌經)
ถอดเสียงและแปลจีนโดย พระอโมฆวัชระ ฉบับนี้มีการรักษาต้นฉบับอักษรสิทธัม ภาษาสันสกฤต ไว้ที่หอพระไตรวัดหลิงหยุน ในทีนี้จะใช้อักษรเทวนาครีแทนอักษรสิทธัม (อักษรสิทธัมไม่สามารถแสดงผลบนหน้าเว็บได้ ต้องมีการลงฟอนต์ก่อน)

—————-

न मो र त्न त्र या य न मः आ र्य ज्ञा न सा ग्र वै रो च न भ्यु हा र ज य त था ग ता या र्ह ते स म्य क्सं बु द्धा य न मः स र्व त था ग ते भ्यो र्ह ते भ्यः स म्य क्सं बु द्धे भ्यः न मः आ र्या व लो कि ते श्व रा य बो धि स त्वा य म हा स त्वा य म हा का रु णि का य त द्य था ॐ ध र २ धि रि २ धु रु २ इ ते व ते श ले २ प्र श ले २ कु सु मे कु सु म व ले इ रि वि रि चि रि २ ति ज र म प न य प र म शु द्ध स त्व म हा का रु णि क स्वा हा

—————-

นโม รตฺนตฺรยาย ฯ
นมะ อารฺยชฺญาน สาคฺร ไวโรจน ภฺยุหารชย ตถาคตายารฺหเต สมฺยกฺสํพุทฺธาย ฯ
นมะ สรฺวตถาคเตภฺโยรฺหเตภฺยะ สมฺยกฺสํพุทฺเธภฺยะ ฯ
นมะ อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺวาย มหาสตฺวาย มหาการุณิกาย ฯ
ตทฺยถา โอํ ธร ๒ ธิริ ๒ ธุรุ ๒ อิเต วเต ศเล ๒ ปฺรศเล ๒ กุสุเม กุสุมวเล อิริ วิริ จิริ ๒ ติชรมปนย ปรมศุทฺธส ตฺว มหาการุณิก สฺวาหา ๚

พระอวโลกิเตศวร ๑๑ พักตร์ พันกร ทิเบต ศตวรรษที่ ๑๖ จาก himalayanart



๔. อวโลกิเตศฺวไรกาทศมุขธารณี
(སྤྱན་རས་གཟིགས་ཞལ་བཅུ་གཅིག་པའི་གཟུངས)

ถอดเสียงและแปลโดย พระศีเลนโพธิ ยกต้นฉบับ และปริวรรตอักษรทิเบตเป็นอักษรโรมันเป็นแบบถอดรูปโดยตรง และอักษรไทยเป็นการถอดรูปตามหลักการแปลงอักษรทิเบตเป็นภาษาสันสกฤต แบบไม่ปรับรูปเฉพาะ (เช่น สรฺพ = สรฺว)

—————-

ན་མོ་རཏྣ་ཏྲ་ཡཱ་ཡ།
ན་མ་ཨཱརྱ་ཛྙཱ་ན་སཱ་ག་ར་བཻ་རོ་ཙ་ན་བྱུ་ཧ་རཱ་ཛཱ་ཡ།ཏ་ཐཱ་ག་ཏཱ་ཡ། ཨཪྷ་ཏེ། སམྱཀྶཾ་བུད་དྷཱ་ཡ།
ན་མཿསརྦ་ཏ་ཐཱ་ག་ཏེ་བྷྱཿ། ཨར་ཧ་ཏ་བྷྱཿསམྱཀྶ་མྦུདྡྷེ་བྷྱཿ།
ན་མ་ཨཱཪྱ་ཨ་བ་ལོ་ཀི་ཏེ་ཤྭ་རཱ་ཡ། བོ་དྷི་སཏྭཱ་ཡ། མ་ཧཱ་སཏྭཱ་ཡ། མ་ཧཱ་ཀཱ་རུ་ཎི་ཀཱ་ཡ།
ཏདྱ་ཐཱ། ཨོཾ་དྷ་ར་དྷ་ར། དྷི་རི་དྷི་རི། དྷུ་རུ་དྷུ་རུ། ཨིཊྚེ་བཊྚེ། ཙ་ལེ་ཙ་ལེ། པྲ་ཙ་ལེ་པྲ་ཙ་ལེ། ཀུ་སུ་མེ། ཀུ་སུ་མ། བ་རེ། ཨི་ལི་མི་ལི། ཙི་ཏི་ཛྭ་ལ་མ་པ་ན་ཡ་སྭཱ་ཧཱ།


—————-
na.mo.ratna.tra.yA.ya|
na.ma.Arya.dznyA.na.sA.ga.ra.bai.ro.tsa.na.byu.ha.rA.dzA.ya| ta.thA.ga.tA.ya| arha.te| samyaksaṂ.bud.dhA.ya|
na.ma:sarba.ta.thA.ga.te.bhya:| ar.ha.ta.bhya:samyaksa.mbuddhe.bhya:| na.ma.Arya.a.ba.lo.ki.te.shwa.rA.ya| bo.dhi.satwA.ya| ma.hA.satwA.ya| ma.hA.kA.ru.Ni.kA.ya|
tadya.thA| oṂ.dha.ra.dha.ra| dhi.ri.dhi.ri| dhu.ru.dhu.ru| iTTe.bTTe| tsa.le.tsa.le| pra.tsa.le.pra.tsa.le| ku.su.me| ku.su.ma| ba.re| i.li.mi.li| tsi.ti.dzwa.la.ma.pa.na.ya.swA.hA|

—————-
นโม รตฺนตฺรยายฯ
นม อารย ชฺญาน สาคร ไพโรจน พฺยุห [1] ราชยฯ ตถาคตายฯ อรฺหเต ฯ สมฺยกฺสํพุทฺธาย ฯ
นมะ สรฺพ ตถาคเตภฺยะ ฯ อรฺหตภฺยะ สมฺยกฺสมฺพุทฺเธภฺยะ ฯ
นม อารฺย อพโลกิเตศฺวราย ฯ โพธิสตฺวาย ฯ มหาสตฺวาย ฯ มหาการุณิกาย ฯ

ตทฺยถา ฯ โอํ ธร ธร ฯ ธิริ ธิริ ฯ ธุรุ ธุรุ ฯ อิฏฺเฏ พฺฏเฏ [2] ฯ จเล จเล ฯ ปฺรจเล ปฺรจเล ฯ กุสุเม กุสุม ฯ พเร ฯ อิลิ มิลิ ฯ [3] จิติชฺวลมปนย สฺวาหา ๚


หมายเหตุ :
[1] [2] ต้นฉบับบางแหล่งเป็น [1]พฺยูห [2] พิฏฺเฏ
[3]ฉบับทิเบต Toh 694 แปลโดย Chödrup จบด้วยคล้ายๆ ฉบับพระอโมฆวัชระ คือ จิติ จิติ ชฺวลมปนย | ศุทธ ตา สฺวาหา | มหาการุณกาย สฺวาหา
—————-

 

Loading

Be the first to comment on "เอกาทศมุขธารณี ภาษาสันสกฤต ฉบับชำระที่ใช้ในการขับร้อง"

Leave a comment