คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต

Shantideva

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต
ในปริเฉทที่ ๑ ท่านศานติเทวะอธิบายความหมายของโพธิจิตและอานิสงส์ของโพธิจิต

โพธิจรรยาวตารเป็นบทประพันธ์อันมีชื่อเสียงของท่านศานติเทวะ ผู้เป็นพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อประมาณคริสตศตวรรษที่ 8 เนื้อหาประกอบด้วยข้อเสนอแนะในการปฏิบัติธรรมของพระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งตั้งปณิธานจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้อย่างเต็มที่ เนื้อหาประกอบด้วย ๑๐ ปริเฉท

 

ต้นฉบับจากโครงการ DSBC เสียงจากโครงการ Bodhisvara
แปลโดย พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์

[คลิกเพื่อเปิดเสียง]

 

ปริวรรตเป็นไทยคงรูป

ศานฺติเทววิรจิตะ โพธิจรฺยาวตาระฯ

โพธิจิตฺตานุศํโส นาม ปฺรถมะ ปริจฺเฉทะฯ

 

๚โอํ นโม พุทฺธาย๚

สุคตานฺ สสุตานฺ สธรฺมกายานฺ
ปฺรณิปตฺยาทรโต’ขิลําศฺจ วนฺทฺยานฺฯ
สุคตาตฺมชสํวราวตารํ
กถยิษฺยามิ ยถาคมํ สมาสาตฺ
๚๑๚
น หิ กิํจิทปูรฺวมตฺร วาจฺยํ
น จ สํคฺรถนเกาศลํ มมาสฺติฯ
อต เอว น เม ปรารฺถจินฺตา
สฺวมโน วาสยิตุํ กฤตํ มเยทมฺ
๚๒๚
มม ตาวทเนน ยาติ วฤทฺธิํ
กุศลํ ภาวยิตุํ ปฺรสาทเวคะฯ
อถ มตฺสมธาตุเรว ปศฺเย-
ทปโร’ปฺเยนมโต’ปิ สารฺถโก’ยมฺ
๚๓๚
กฺษณสํปทิยํ สุทุรฺลภา
ปฺรติลพฺธา ปุรุษารฺถสาธนีฯ
ยทิ นาตฺร วิจินฺตฺยเต หิตํ
ปุนรปฺเยษ สมาคมะ กุตะ
๚๔๚
ราเตฺรา ยถา เมฆฆนานฺธกาเร
วิทฺยุตฺ กฺษณํ ทรฺศยติ ปฺรกาศมฺฯ
พุทฺธานุภาเวน ตถา กทาจิ-
ลฺโลกสฺย ปุณฺเยษุ มติะ กฺษณํ สฺยาตฺ
๚๕๚
ตสฺมาจฺฉุภํ ทุรฺพลเมว นิตฺยํ
พลํ ตุ ปาปสฺย มหตฺสุโฆรมฺฯ
ตชฺชียเต’นฺเยน ศุเภน เกน
สํโพธิจิตฺตํ ยทิ นาม น สฺยาตฺ
๚๖๚
กลฺปานนลฺปานฺ ปฺรวิจินฺตยทฺภิ-
รฺทฤษฺฏํ มุนีนฺไทฺรรฺหิตเมตเทวฯ
ยตะ สุเขไนว สุขํ ปฺรวฤทฺธ-
มุตฺปฺลาวยตฺยปฺรมิตาญฺชเนาฆานฺ
๚๗๚
ภวทุะขศตานิ ตรฺตุกาไม-
รปิ สตฺตฺววฺยสนานิ หรฺตุกาไมะฯ
พหุเสาขฺยศตานิ โภกฺตุกาไม-
รฺน วิโมจฺยํ หิ สไทว โพธิจิตฺตมฺ
๚๘๚
ภวจารกพนฺธโน วรากะ
สุคตานํา สุต อุจฺยเต กฺษเณนฯ
สนรามรโลกวนฺทนีโย
ภวติ สฺโมทิต เอว โพธิจิตฺเต
๚๙๚
อศุจิปฺรติมามิมํา คฤหีตฺวา
ชินรตฺนปฺรติมํา กโรตฺยนรฺฆามฺฯ
รสชาตมตีว เวธนียํ
สุทฤฒํ คฤหฺณต โพธิจิตฺตสํชฺญมฺ
๚๑๐๚
สุปรีกฺษิตมปฺรเมยธีภิ-
รฺพหุมูลฺยํ ชคเทกสารฺถวาไหะฯ
คติปตฺตนวิปฺรวาสศีลาะ
สุทฤฒํ คฤหฺณต โพธิจิตฺตรตฺนมฺ
๚๑๑๚
กทลีว ผลํ วิหาย ยาติ
กฺษยมนฺยตฺ กุศลํ หิ สรฺวเมวฯ
สตตํ ผลติ กฺษยํ น ยาติ
ปฺรสวตฺเยว ตุ โพธิจิตฺตวฤกฺษะ
๚๑๒๚
กฤตฺวาปิ ปาปานิ สุทารุณานิ
ยทาศฺรยาทุตฺตรติ กฺษเณนฯ
ศูราศฺรเยเณว มหาภยานิ
นาศฺรียเต ตตฺกถมชฺญสตฺตฺไวะ
๚๑๓๚
ยุคานฺตกาลานลวนฺมหานฺติ
ปาปานิ ยนฺนิรฺทหติ กฺษเณนฯ
ยสฺยานุศํสานมิตานุวาจ
ไมเตฺรยนาถะ สุธนาย ธีมานฺ
๚๑๔๚
ตทฺโพธิจิตฺตํ ทฺวิวิธํ วิชฺญาตวฺยํ สมาสตะฯ
โพธิปฺรณิธิจิตฺตํ จ โพธิปฺรสฺถานเมว จ
๚๑๕๚
คนฺตุกามสฺย คนฺตุศฺจ ยถา เภทะ ปฺรตียเตฯ
ตถา เภโท’นโยรฺชฺเญโย ยาถาสํขฺเยน ปณฺฑิไตะ
๚๑๖๚
โพธิปฺรณิธิจิตฺตสฺย สํสาเร’ปิ ผลํ มหตฺฯ
น ตฺววิจฺฉินฺนปุณฺยตฺวํ ยถา ปฺรสฺถานเจตสะ
๚๑๗๚
ยตะ ปฺรภฤตฺยปรฺยนฺตสตฺตฺวธาตุปฺรโมกฺษเณฯ
สมาททาติ ตจฺจิตฺตมนิวรฺตฺเยน เจตสา
๚๑๘๚
ตตะปฺรภฤติ สุปฺตสฺย ปฺรมตฺตสฺยาปฺยเนกศะฯ
อวิจฺฉินฺนาะ ปุณฺยธาราะ ปฺรวรฺตนฺเต นภะสมาะ
๚๑๙๚
อิทํ สุพาหุปฤจฺฉายํา โสปปตฺติกมุกฺตวานฺฯ
หีนาธิมุกฺติสตฺตฺวารฺถํ สฺวยเมว ตถาคตะ
๚๒๐๚
ศิระศูลานิ สตฺตฺวานํา นาศยามีติ จินฺตยนฺฯ
อปฺรเมเยณ ปุณฺเยน คฤหฺยเต สฺม หิตาศยะ
๚๒๑๚
กิมุตาปฺรติมํ ศูลเมไกกสฺย ชิหีรฺษตะฯ
อปฺรเมยคุณํ สตฺตฺวเมไกกํ จ จิกีรฺษตะ
๚๒๒๚
กสฺย มาตุะ ปิตุรฺวาปิ หิตาศํเสยมีทฤศีฯ
เทวตานามฤษีณํา วา พฺรหฺมณํา วา ภวิษฺยติ
๚๒๓๚
เตษาเมว จ สตฺตฺวานํา สฺวารฺเถ’ปฺเยษ มโนรถะฯ
โนตฺปนฺนปูรฺวะ สฺวปฺเน’ปิ ปรารฺเถ สํภวะ กุตะ
๚๒๔๚
สตฺตฺวรตฺนวิเศโษ’ยมปูรฺโว ชายเต กถมฺฯ
ยตฺปรารฺถาศโย’นฺเยษํา น สฺวารฺเถ’ปฺยุปชายเต
๚๒๕๚
ชคทานนฺทพีชสฺย ชคทฺทุะเขาษธสฺย จฯ
จิตฺตรตฺนสฺย ยตฺปุณฺยํ ตตฺกถํ หิ ปฺรมียตามฺ
๚๒๖๚
หิตาศํสนมาเตฺรณ พุทฺธปูชา วิศิษฺยเตฯ
กิํ ปุนะ สรฺวสตฺตฺวานํา สรฺวเสาขฺยารฺถมุทฺยมาตฺ
๚๒๗๚
ทุะขเมวาภิธาวนฺติ ทุะขนิะสรณาศยาฯ
สุเขจฺฉไยว สํโมหาตฺ สฺวสุขํ ฆฺนนฺติ ศตฺรุวตฺ
๚๒๘๚
ยสฺเตษํา สุขรงฺกาณํา ปีฑิตานามเนกศะฯ
ตฤปฺติํ สรฺวสุไขะ กุรฺยาตฺสรฺวาะ ปีฑาศฺฉินตฺติ จ
๚๒๙๚
นาศยตฺยปิ สํโมหํ สาธุสฺเตน สมะ กุตะฯ
กุโต วา ตาทฤศํ มิตฺรํ ปุณฺยํ วา ตาทฤศํ กุตะ
๚๓๐๚
กฤเต ยะ ปฺรติกุรฺวีต โส’ปิ ตาวตฺปฺรศสฺยเตฯ
อวฺยาปาริตสาธุสฺตุ โพธิสตฺตฺวะ กิมุจฺยตามฺ
๚๓๑๚
กติปยชนสตฺตฺรทายกะ
กุศลกฤทิตฺยภิปูชฺยเต ชไนะฯ
กฺษณมศนกมาตฺรทานตะ
สปริภวํ ทิวสารฺธยาปนาตฺ
๚๓๒๚
กิมุ นิรวธิสตฺตฺวสํขฺยยา
นิรวธิกาลมนุปฺรยจฺฉตะฯ
คคนชนปริกฺษยากฺษยํ
สกลมโนรถสํปฺรปูรณมฺ
๚๓๓๚
อิติ สตฺตฺรปเตา ชินสฺย ปุเตฺร
กลุษํ สฺเว หฤทเย กโรติ ยศฺจฯ
กลุโษทยสํขฺยยา ส กลฺปานฺ
นรเกษฺวาวสตีติ นาถ อาห
๚๓๔๚
อถ ยสฺย มนะ ปฺรสาทเมติ
ปฺรสเวตฺตสฺย ตโต’ธิกํ ผลมฺฯ
มหตา หิ พเลน ปาปกํ
ชินปุเตฺรษุ ศุภํ ตฺวยตฺนตะ
๚๓๕๚
เตษํา ศรีราณิ นมสฺกโรมิ
ยโตฺรทิตํ ตทฺวรจิตฺตรตฺนมฺฯ
ยตฺราปกาโร’ปิ สุขานุพนฺธี
สุขากรําสฺตานฺ ศรณํ ปฺรยามิ
๚๓๖๚

 

อิติ โพธิจิตฺตานุศํสาวิวรณํ นาม

ปฺรถมะ ปริจฺเฉทะ๚ะ๛

ปริวรรตเป็นไทยปรับรูป(สำหรับบุคคลทั่วไป)

ศานติเทวะวิระจิตะห์ โพธิจรรยาวะตาระห์ฯ

โพธิจิตตานุศัมโส นามะ ประถะมะห์ ปะริจเฉทะห์ฯ

 

๚โอม นะโม พุทธายะ๚

สุคะตาน สะสุตาน สะธรรมะกายาน
ประณิปัตยาทะระโตขิลามศจะ วันทยานฯ
สุคะตาตมะชะสัมวะราวะตารัม
กะถะยิษยามิ ยะถาคะมัม สะมาสาต
๚๑๚
นะ หิ กิญจิทะปูรวะมะตระ วาจยัม
นะ จะ สังคระถะนะเกาศะลัม มะมาสติฯ
อะตะ เอวะ นะ เม ปะรารถะจินตา
สวะมะโน วาสะยิตุม กฤตัม มะเยทัม
๚๒๚
มะมะ ตาวะทะเนนะ ยาติ วฤทธิม
กุศะลัม ภาวะยิตุม ประสาทะเวคะห์ฯ
อะถะ มัตสะมะธาตุเรวะ ปัศเย-
ทะปะโรปเยนะมะโตปิ สารถะโกยัม
๚๓๚
กษะณะสัมปะทิยัม สุทุรละภา
ประติลัพธา ปุรุษารถะสาธะนีฯ
ยะทิ นาตระ วิจินตยะเต หิตัม
ปุนะรัปเยษะ สะมาคะมะห์ กุตะห์
๚๔๚
ราเตรา ยะถา เมฆะฆะนานธะกาเร
วิทยุต กษะณัม ทรรศะยะติ ประกาศัมฯ
พุทธานุภาเวนะ ตะถา กะทาจิ-
ลโลกัสยะ ปุณเยษุ มะติห์ กษะณัม สยาต
๚๕๚
ตัสมาจฉุภัม ทุรพะละเมวะ นิตยัม
พะลัม ตุ ปาปัสยะ มะหัตสุโฆรัมฯ
ตัชชียะเตนเยนะ ศุเภนะ เกนะ
สัมโพธิจิตตัม ยะทิ นามะ นะ สยาต
๚๖๚
กัลปานะนัลปาน ประวิจินตะยัทภิ-
รทฤษฏัม มุนีนไทรรหิตะเมตะเทวะฯ
ยะตะห์ สุเขไนวะ สุขัม ประวฤทธะ-
มุตปลาวะยัตยะประมิตาญชะเนาฆาน
๚๗๚
ภะวะทุห์ขะศะตานิ ตรรตุกาไม-
ระปิ สัตตวะวยะสะนานิ หรรตุกาไมห์ฯ
พะหุเสาขยะศะตานิ โภกตุกาไม-
รนะ วิโมจยัม หิ สะไทวะ โพธิจิตตัม
๚๘๚
ภะวะจาระกะพันธะโน วะรากะห์
สุคะตานาม สุตะ อุจยะเต กษะเณนะฯ
สะนะรามะระโลกะวันทะนีโย
ภะวะติ สโมทิตะ เอวะ โพธิจิตเต
๚๙๚
อะศุจิประติมามิมาม คฤหีตวา
ชินะรัตนะประติมาม กะโรตยะนรรฆามฯ
ระสะชาตะมะตีวะ เวธะนียัม
สุทฤฒัม คฤหณะตะ โพธิจิตตะสัญชญัม
๚๑๐๚
สุปะรีกษิตะมะประเมยะธีภิ-
รพะหุมูลยัม ชะคะเทกะสารถะวาไหห์ฯ
คะติปัตตะนะวิประวาสะศีลาห์
สุทฤฒัม คฤหณะตะ โพธิจิตตะรัตนัม
๚๑๑๚
กะทะลีวะ ผะลัม วิหายะ ยาติ
กษะยะมันยัต กุศะลัม หิ สรรวะเมวะฯ
สะตะตัม ผะละติ กษะยัม นะ ยาติ
ประสะวัตเยวะ ตุ โพธิจิตตะวฤกษะห์
๚๑๒๚
กฤตวาปิ ปาปานิ สุทารุณานิ
ยะทาศระยาทุตตะระติ กษะเณนะฯ
ศูราศระเยเณวะ มะหาภะยานิ
นาศรียะเต ตัตกะถะมัชญะสัตตไวห์
๚๑๓๚
ยุคานตะกาลานะละวันมะหานติ
ปาปานิ ยันนิรทะหะติ กษะเณนะฯ
ยัสยานุศัมสานะมิตานุวาจะ
ไมเตรยะนาถะห์ สุธะนายะ ธีมาน
๚๑๔๚
ตัทโพธิจิตตัม ทวิวิธัม วิชญาตะวยัม สะมาสะตะห์ฯ
โพธิประณิธิจิตตัม จะ โพธิปรัสถานะเมวะ จะ
๚๑๕๚
คันตุกามัสยะ คันตุศจะ ยะถา เภทะห์ ประตียะเตฯ
ตะถา เภโทนะโยรชเญโย ยาถาสังขเยนะ ปัณฑิไตห์
๚๑๖๚
โพธิประณิธิจิตตัสยะ สัมสาเรปิ ผะลัม มะหัตฯ
นะ ตวะวิจฉินนะปุณยัตวัม ยะถา ปรัสถานะเจตะสะห์
๚๑๗๚
ยะตะห์ ประภฤตยะปรรยันตะสัตตวะธาตุประโมกษะเณฯ
สะมาทะทาติ ตัจจิตตะมะนิวรรตเยนะ เจตะสา
๚๑๘๚
ตะตะห์ประภฤติ สุปตัสยะ ประมัตตัสยาปยะเนกะศะห์ฯ
อะวิจฉินนาห์ ปุณยะธาราห์ ประวรรตันเต นะภะห์สะมาห์๚๑๙๚
อิทัม สุพาหุปฤจฉายาม โสปะปัตติกะมุกตะวานฯ
หีนาธิมุกติสัตตวารถัม สวะยะเมวะ ตะถาคะตะห์
๚๒๐๚
ศิระห์ศูลานิ สัตตวานาม นาศะยามีติ จินตะยันฯ
อะประเมเยณะ ปุณเยนะ คฤหยะเต สมะ หิตาศะยะห์
๚๒๑๚
กิมุตาประติมัม ศูละเมไกกัสยะ ชิหีรษะตะห์ฯ
อะประเมยะคุณัม สัตตวะเมไกกัม จะ จิกีรษะตะห์
๚๒๒๚
กัสยะ มาตุห์ ปิตุรวาปิ หิตาศัมเสยะมีทฤศีฯ
เทวะตานามฤษีณาม วา พรหมะณาม วา ภะวิษยะติ
๚๒๓๚
เตษาเมวะ จะ สัตตวานาม สวารเถปเยษะ มะโนระถะห์ฯ
โนตปันนะปูรวะห์ สวัปเนปิ ปะรารเถ สัมภะวะห์ กุตะห์
๚๒๔๚
สัตตวะรัตนะวิเศโษยะมะปูรโว ชายะเต กะถัมฯ
ยัตปะรารถาศะโยนเยษาม นะ สวารเถปยุปะชายะเต
๚๒๕๚
ชะคะทานันทะพีชัสยะ ชะคัททุห์เขาษะธัสยะ จะฯ
จิตตะรัตนัสยะ ยัตปุณยัม ตัตกะถัม หิ ประมียะตาม
๚๒๖๚
หิตาศัมสะนะมาเตรณะ พุทธะปูชา วิศิษยะเตฯ
กิม ปุนะห์ สรรวะสัตตวานาม สรรวะเสาขยารถะมุทยะมาต
๚๒๗๚
ทุห์ขะเมวาภิธาวันติ ทุห์ขะนิห์สะระณาศะยาฯ
สุเขจฉะไยวะ สัมโมหาต สวะสุขัม ฆนันติ ศะตรุวัต
๚๒๘๚
ยัสเตษาม สุขะรังกาณาม ปีฑิตานามะเนกะศะห์ฯ
ตฤปติม สรรวะสุไขห์ กุรยาตสรรวาห์ ปีฑาศฉินัตติ จะ
๚๒๙๚
นาศะยัตยะปิ สัมโมหัม สาธุสเตนะ สะมะห์ กุตะห์ฯ
กุโต วา ตาทฤศัม มิตรัม ปุณยัม วา ตาทฤศัม กุตะห์
๚๓๐๚
กฤเต ยะห์ ประติกุรวีตะ โสปิ ตาวัตประศัสยะเตฯ
อะวยาปาริตะสาธุสตุ โพธิสัตตวะห์ กิมุจยะตาม
๚๓๑๚
กะติปะยะชะนะสัตตระทายะกะห์
กุศะละกฤทิตยะภิปูชยะเต ชะไนห์ฯ
กษะณะมะศะนะกะมาตระทานะตะห์
สะปะริภะวัม ทิวะสารธะยาปะนาต
๚๓๒๚
กิมุ นิระวะธิสัตตวะสังขยะยา
นิระวะธิกาละมะนุประยัจฉะตะห์ฯ
คะคะนะชะนะปะริกษะยากษะยัม
สะกะละมะโนระถะสัมประปูระณัม
๚๓๓๚
อิติ สัตตระปะเตา ชินัสยะ ปุเตร
กะลุษัม สเว หฤทะเย กะโรติ ยัศจะฯ
กะลุโษทะยะสังขยะยา สะ กัลปาน
นะระเกษวาวะสะตีติ นาถะ อาหะ
๚๓๔๚
อะถะ ยัสยะ มะนะห์ ประสาทะเมติ
ประสะเวตตัสยะ ตะโตธิกัม ผะลัมฯ
มะหะตา หิ พะเลนะ ปาปะกัม
ชินะปุเตรษุ ศุภัม ตวะยัตนะตะห์
๚๓๕๚
เตษาม ศะรีราณิ นะมัสกะโรมิ
ยะโตรทิตัม ตัทวะระจิตตะรัตนัมฯ
ยะตราปะกาโรปิ สุขานุพันธี
สุขากะรามสตาน ศะระณัม ประยามิ
๚๓๖๚

 

อิติ โพธิจิตตานุศัมสาวิวะระณัม นามะ

ประถะมะห์ ปะริจเฉทะห์๚ะ๛

[แปล]

โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ

ปริเฉทที่ ๑ อานิสงส์ของโพธิจิต

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

๑. ข้าพเจ้าครั้นน้อมนมัสการพระสุคตเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมกาย พร้อมทั้งพระสาวกทั้งมวลด้วยความเคารพแล้ว จะขอกล่าวถึงความตั้งมั่นแห่งการเป็นบุตรของพระสุคตเจ้าตามเนื้อความที่นํามาจากคัมภีร์อันได้รวบรวมไว้
๒. ด้วยว่าไม่มีเนื้อความใดๆในงานประพันธ์นี้ที่ไม่เคยกล่าวมาก่อนเลยและข้าพเจ้าเองก็ไม่มีความชํานาญในการร้อยกรองภาษา เหตุนั้น ข้าพเจ้าไม่มีความตั้งใจเพื่อประโยชน์ผู้อื่น(หากแต่)ข้าพเจ้าประพันธ์งานนี้ขึ้นเพื่อให้ความทรงจําตั้งมั่นด้วยดีอยู่ในใจตนเท่านั้น
๓. พลังความเลื่อมใสเพื่อให้กุศลเจริญขึ้น ย่อมสําเร็จแก่ข้าพเจ้าด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าหากผู้อื่นใดมีพื้นฐานความรู้เหมือนข้าพเจ้าได้พบเห็นบทประพันธ์นี้ไซร้ บทประพันธ์นี้ก็ย่อมเกิดประโยชน์แก่เขาบ้าง
๔. โอกาสและบารมีนี้เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ยาก ทั้งยังเป็นเครื่องให้สําเร็จประโยชน์แก่มนุษย์ที่บุคคลได้ยากยิ่งนัก ถ้าข้าพเจ้าไม่คํานึงถึงประโยชน์ในงานประพันธ์นี้ไซร้ การมาบรรจบกันแห่งโอกาสและบารมีนั้นจักมีแต่ที่ไหนได้อีกเล่า
๕. บางครั้งเพราะพุทธานุภาพ ความคิดคํานึงถึงบุญกุศลทั้งหลายย่อมเกิดแก่สรรพสัตว์เพียงชั่วขณะหนึ่งดั่งสายฟ้าแลบในคืนเดือนมืดที่ถูกบดบังไปด้วยเมฆทึบย่อมส่องแสงให้สว่างได้เพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
๖. ด้วยเหตุนั้น บุญกุศลจึงมีพลังอ่อนแอเป็นนิตย์ ส่วนพลังบาปนั้นยิ่งใหญ่และน่ากลัวเสมอหากไม่พึงมีสัมโพธิจิตแล้วไซร้คุณความดีอะไรอื่นจะเอาชนะพลังบาปนั้นได้อีกเล่า
๗. เพราะพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนีทั้งหลาย ผู้ทรงบําเพ็ญสมาธิบารมีมาหลายกัลป์ ได้ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์นี้เองที่เป็นเหตุยังหมู่ชนให้บรรลุถึงความสุขอันประเสริฐได้โดยง่าย
๘. แม้หมู่ชนทั้งหลายผู้ต้องการจะข้ามสภาวทุกข์หลายร้อยชนิด ประสงค์จะทําลายความพินาศของสรรพสัตว์ให้หมดไป และปรารถนาจะประสบกับความสุขทั้งมวล จึงไม่ควรละโพธิจิตนี้ตลอดกาลทุกเมื่อ
๙. ขณะเมื่อโพธิจิตบังเกิดขึ้นแล้วนี่เองผู้อ่อนแอที่ติดข้องอยู่ในข่ายแห่งภพย่อมถูกร้องเรียกว่าเป็นบุตรของพระสุคตเจ้าทั้งหลาย เขาย่อมถูกมนุษยโลกและเทวโลกเคารพนบน้อมอยู่โดยแท้
๑๐. ท่านทั้งหลายจงยึดเอาสิ่งซึ่งควรค่าอย่างยิ่ง อันชื่อว่าโพธิจิตให้มั่งคง เพราะโพธิจิตนี้สามารถเปลี่ยนร่างที่ไม่สะอาดทั้งหลายให้เป็นร่างแห่งพระพุทธรัตนะอันประมาณค่ามิได้
๑๑. ท่านทั้งหลายผู้ไม่อยู่ปราศจากโลกิยวิสัยเป็นปกติ พึงยึดมั่นในรัตนะคือ โพธิจิต อันพระผู้ทรงเป็นสารถีเอกของโลก ผู้มีปัญญาอันหาประมาณมิได้ ทรงพิจารณาเห็นแล้วว่า มีคุณค่ามากยิ่ง
๑๒. อนึ่งกุศลทั้งปวงอื่นเมื่อให้ผลแล้วก็ย่อมถึงความสิ้นไป เหมือนต้นกล้วยเมื่อให้ผลแล้วย่อมตายไป ฉะนั้น แต่ต้นโพธิจิตนี้ย่อมผลิผลอยู่เนือง ๆ หาถึงความสิ้นไปไม่ และย่อมหลั่งผลอยู่ตลอดเวลา
๑๓. ทําไมสัตว์ผู้ไม่รู้ทั้งหลายจึงไม่อาศัยโพธิจิต อันเป็นเหตุที่แม้ใคร ๆ ได้สร้างบาปอันทารุณไว้จํานวนมากแล้ว ยังสามารถข้ามมหาภัยทั้งปวงได้โดยเร็วพลัน เพราะอาศัยอํานาจความกล้าหาญนั่นเอง
๑๔. โพธิจิตใด ย่อมเผาผลาญบาปจํานวนมากได้โดยพลัน ดั่งไฟในกาลสิ้นยุค พระเมตตรัยผู้ทรงปัญญาได้พร่ำสอนโพธิจิตอันประเสริฐล้ำเหล่านั้นไว้แก่พระสุธนแล้ว
๑๕. กล่าวโดยย่อ โพธิจิตนั้นบุคคลพึงรู้ว่า มีอยู่ ๒ ประการ คือ โพธิประณิธิจิต และโพธิปรัสถานจิตเท่านั้น
๑๖. บัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ถึงความแตกต่างของโพธิประณิธิจิตและโพธิปรัสถานจิตทั้งสองนั้นตามความต้องการเถิด เหมือนบุคคลเข้าใจถึงความต่างกันแห่งผู้ที่ปรารถนาจะไปและผู้ไปฉะนั้น
๑๗. โพธิประณิธิจิตมีผลยิ่งใหญ่แม้ในสังสารวัฎ (ก็จริง) แต่ความมีบุญไม่ขาดสูญไปแห่งโพธิประณิธิจิตนั้นย่อมไม่มีเหมือนโพธิปรัสถานจิตเลย
๑๘. เพราะจิตที่ไม่หวนกลับ จิตนั้นจึงตั้งมั่นด้วยดีอยู่ในความปรารถนาจะหลุดพ้นจากสัตวธาตุอันไม่มีที่สิ้นสุดจําเดิมแต่กาลใด
๑๙. นับแต่กาลนั้นมา ขณะเมื่อสัตว์หลับอยู่บ้าง ประมาทอยู่บ้าง สายธารแห่งบุญอันไม่สูญสลายทั้งมวลซึ่งเป็นเหมือนท้องฟ้าย่อมเป็นไปโดยประการต่างๆ
๒๐. พระตถาคตเจ้าได้ตรัสถึงโพธิจิต พร้อมทั้งเหตุเกิดโพธิจิตนั้นไว้ในสุพาหุปฤจฉาสูตรแล้วเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ผู้มีจิตอันน้อมไปในทางเลวทรามด้วยพระองค์เอง
๒๑. ผู้ที่คิดอยู่ว่า ข้าพเจ้าจะทําลายความเจ็บปวดที่ศีรษะของสัตว์ทั้งหลายให้ย่อยยับไป แล้วยึดมั่นอยู่กับการสั่งสมประโยชน์เกื้อกูลด้วยบุญอันหาประมาณมิได้
๒๒. จะป่วยกล่าวไปใยถึงความต้องการที่จะกําจัดทุกข์จํานวนมากมายแห่งคนๆหนึ่งและความต้องการจะช่วยเหลือสัตว์ตัวหนึ่งๆให้บรรลุถึงคุณธรรมอันหาประมาณมิได้เล่า
๒๓. ใครจักมีความปรารถนาถึงประโยชน์เช่นนี้เล่า จะเป็นมารดาบิดาหรือ หรือว่าเป็นหมู่เทวดาและฤษีทั้งหลายหรือจะเป็นพระพรหมทั้งหลายเล่า
๒๔. นั่นเป็นเพียงความปรารถนาภายในใจเพื่อประโยชน์ตนของสรรพสัตว์เท่านั้น และความปรารถนาเช่นนี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแม้ในความฝัน การเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจักมีแต่ที่ใดได้เล่า
๒๕. เพราะเหตุที่ความมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ผู้อื่นของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้เพื่อประโยชน์ตนเอง รัตนะอันพิเศษแห่งความบริสุทธิ์นี้ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
๒๖. จักมีบุญแห่งจิตตรัตนะใดอันเป็นเชื้อแห่งความเพลิดเพลินของสัตวโลก และเป็นยาบรรเทาทุกข์ของสัตวโลกก็บุคคลจะกําหนดค่าบุญนั้นได้อย่างไร
๒๗. การบูชาพระพุทธเจ้าย่อมสําเร็จได้เพียงเพราะความปรารถนาถึงประโยชน์ (ตน) จะป่วยกล่าวไปใยถึงความเพียรพยายามเพื่อประโยชน์สุขทั้งมวลของสรรพสัตว์ทั้งหลายอีกเล่า
๒๘. ด้วยความหวังจะสลัดออกจากทุกข์แต่สัตว์ทั้งหลายกลับวิ่งเข้าไปหาความทุกข์ เพราะความหลงด้วยปรารถนาสุขเกินไป พวกเขาจึงได้ทําลายความสุขของตนเสีย ประหนึ่งว่า (ถูก)ศัตรูทําลายอยู่ฉะนั้น
๒๙. เมื่อบุคคลกระหายอยากอยู่ในความสุขถูกความทุกข์เบียดเบียนแล้วโดยประการต่าง ๆ เขาพึงทําความยินดีต่อความสุขทั้งปวงและตัดเสียซึ่งทุกข์ทั้งมวลจากการถูกบีบคั้นนั้น
๓๐. บุคคลที่ได้กําจัดความหลงให้หมดไปแล้ว จักหาผู้ที่เสมอกับคนดีนี้ได้จากไหน จักหามิตรเช่นนี้ได้จากที่ใดหรือจะมีบุญเช่นนี้แต่ที่ไหนได้อีกเล่า
๓๑. ผู้ใดตอบแทนคุณความดีซึ่งบุคคลอื่นได้ทําไว้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมได้รับการสรรเสริญก่อนจะป่วยกล่าวไปใยถึงพระโพธิสัตว์อีกเล่าผู้ซึ่งถูกใครๆกล่าวขานอยู่ว่า เป็นผู้บําเพ็ญความดีโดยไม่มีผู้ร้องขอ
๓๒. ผู้ให้การเลี้ยงดูแก่คน ๒ – ๓ คน ยังถูกชนทั้งหลายบูชาอยู่ว่า ได้บําเพ็ญกุศลแล้ว แม้ว่าจะเลี้ยงดูด้วยอาหารธรรมดาเพียงเล็กน้อยที่พอจะยังชีวิตให้ดําเนินอยู่ได้เพียงชั่วครึ่งวันก็ตาม
๓๓. จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ปรารถนาความเสื่อมและความเจริญแห่งพระตถาคตเจ้า ผู้ซึ่งได้บําเพ็ญมโนรถทั้งปวงให้บริบูรณ์แล้วแก่สรรพสัตว์อันหาประมาณมิได้ตลอดกาลเป็นนิตย์
๓๔. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ก็ผู้ใดได้สร้างความชั่วไว้ภายในใจตนแก่บุตรของพระชินเจ้า ผู้ซึ่งเป็นเจ้าแห่งการสักการบูชา เขาผู้นั้นย่อมตกนรกนานหลายกัลป์ นับเท่าจํานวนที่ เกิดความคิดชั่วขึ้นนั่นแล
๓๕. เมื่อใจของผู้ใดเกิดความเลื่อมใสขึ้น ลําดับนั้นผลอันยิ่งยวดก็ย่อมสงเคราะห์ผู้นั้น แม้การทําบาปจะมีพลังมากก็จริงแต่ (การบําเพ็ญ) คุณความดีไว้ในพระชินบุตรทั้งหลายก็ย่อมไม่ไร้ผล (เช่นกัน)
๓๖. ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสรีระทั้งหลายของเหล่าพระชินบุตร ผู้มีจิตตรัตนะอันประเสริฐได้บังเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าภัยอันตรายซึ่งเกี่ยวพันอยู่กับความสุข จักมีในพระชินบุตรเหล่าใดข้าพเจ้าขอถึงพระชินบุตรผู้เป็นแหล่งเกิดแห่งความสุขเหล่านั้นว่าเป็นที่พึ่งที่อาศัย

 


Audio Source: 

http://www.bodhisvara.com/

Text Source: 

http://www.dsbcproject.org/node/4807

Text Version: 

Devanāgarī

Input Personnel: 

DSBC Staff

Input Date: 

2005

Proof Reader: 

Miroj Shakya

Supplier: 

Nagarjuna Institute of Exact Methods

Sponsor: 

University of the West

อ้างอิง

1. Digital Sanskrit Buddhist Canon, 2013, Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.dsbcproject.org[2016, May 26].

2. BODHISVARA, 2013, Śāntideva’s Bodhicaryāvatāra [Online], Available: http://www.bodhisvara.com/[2016, May 26].

3.พระมหาวิชาญ กำเหนิดกลับ, 2549, การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร , วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า ภาคผนวก ข คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร ฉบับแปล
อ่านเอกสารตัวเต็มจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/PhramahaVichan_Kamnerdklab/Fulltext.pdf

เพื่อการศึกษาภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
แสดงที่มาข้อมูลที่มาของแหล่งเอกสาร-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0  (CC BY-NC-ND 4.0)

Loading

2 Comments on "คัมภีร์โพธิจรรยาวตารของศานติเทวะ ปริเฉทที่ ๑"

  1. ๓๔. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ก็ผู้ใดได้สร้างความชั่วไว้ภายในใจตนแก่บุตรของพระชินเจ้า ผู้ซึ่งเป็น……..

    ข้อนี้เหมือนแปลไม่จบครับ

    สาธุครับ

Leave a comment