อาทิตตปริยายสูตร ฝ่ายสันสกฤต คำเทศนาบนภูเขาคยาศีรษะของพระพุทธเจ้า

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

ภูเขาคยาศีรษะ หรือพรหมโยนิ ในระยะไกล

ในคัมภีร์สังฆเภทวัสตุ มูลสรรวาสติวาทวินัย ภาษาสันสกฤต กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้แก่ ชฎิลผู้บูชาไฟ 3 พี่น้องและศิษย์ ๑๐๐๐ รูป ที่ตำบลอุรุพิลวา (บาลี : อุรุเวลา) โดยมี

๑. อุรุพิลวากาศยปะ (อุรุพิลฺวากาศฺยป : उरुबिल्वाकाश्यप, บาลี : อุรุเวลกัสสปะ) พี่ชายใหญ่ มีชฎิล มีศิษย์ ๕๐๐ รูป
๒. นทีกาศยปะ (นทีกาศฺยป : नदीकाश्यप, บาลี : นทีกัสสปะ) น้องคนกลางมีศิษย์ ๓๐๐ รูป
๓. คยากาศยปะ (คยากาศฺยป : गयाकाश्यप, บาลี : คยากัสสปะ) น้องคนเล็กมีศิษย์ ๒๐๐ รูป

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ที่เป็นชฎิลเดิม(ปุราณชฏิล) ๑๐๐๐ รูป ได้เดินทางมาที่ตำบล คยาศีรษะ (บาลี : คยาสีสะ) เป็นภูเขาอยู่ในเขตเมืองคยา จากนั้นทรงเทศนาสอนภิกษุสงฆ์เหล่านั้นจนบรรลุพระอรหันต์

เนื้อหาคำเทศนาใกล้เคียงกับ อาทิตตปริยายสูตร ในพระวินัย มหาวรรค ฝ่ายบาลี ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ (อินทรีย์ ๕) ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร

แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน แต่ทว่าความสุขหรือความทุกข์ร้อนจากกิเลสทั้งปวงล้วนนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง คือตั้งอยู่ไม่ได้ตลอดไป ไม่มีอะไรที่ควรยึดถือ น่าเบื่อหน่ายในความผันแปร พระสูตรนี้จึงเป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนา

คำเทศนาบนภูเขาคยาศีรษะ ภาษาสันสกฤต ในคัมภีร์สังฆเภทวัสตุ ปริวรรตอักษรเทวนาครี เป็น อักษรไทยแบบแผน และไทยแบบอ่านง่าย

सर्वं भिक्षवः आदीप्तं|
สรฺวํ ภิกฺษวะ อาทีปฺตํฯ

– สรรวัม ภิกษะวะห์ อาทีปตัมฯ
———-

किं च सर्वमादीप्तं|
กิํ จ สรฺวมาทีปฺตํฯ

– กิม จะ สรรวะมาทีปตัมฯ
———-

चक्षुरादीप्तं रूपं चक्षुर्विज्ञानं चक्षुःसंस्पर्शः|
จกฺษุราทีปฺตํ รูปํ จกฺษุรฺวิชฺญานํ จกฺษุะสํสฺปรฺศะฯ

– จักษุราทีปตัม รูปัม จักษุรวิชญานัม จักษุห์สัมสปรรศะห์ฯ
———-

यदपि चक्षुःसंस्पर्शप्रत्ययमाध्यात्ममुत्पद्यते वेदयितं सुखं वा दुःखं वा अदुःखमसुखं वा तदप्यादीप्तं|
ยทปิ จกฺษุะสํสฺปรฺศปฺรตฺยยมาธฺยาตฺมมุตฺปทฺยเต เวทยิตํ สุขํ วา ทุะขํ วา อทุะขมสุขํ วา ตทปฺยาทีปฺตํฯ

– ยะทะปิ จักษุห์สัมสปรรศะปรัตยะยะมาธยาตมะมุตปัทยะเต เวทะยิตัม สุขัม วา ทุห์ขัม วา อะทุห์ขะมะสุขัม วา ตะทัปยาทีปตัมฯ
———-


एवं श्रोत्रं घ्राणं जिह्वा कायो मन आदीप्तम्|
เอวํ โศฺรตฺรํ ฆฺราณํ ชิหฺวา กาโย มน อาทีปฺตมฺฯ

– เอวัม โศรตรัม ฆราณัม ชิหวา กาโย มะนะ อาทีปตัมฯ
———-


आदीप्तं मनोविज्ञानं मनःसंस्पर्शः|
อาทีปฺตํ มโนวิชฺญานํ มนะสํสฺปรฺศะฯ

– อาทีปตัม มะโนวิชญานัม มะนะห์สัมสปรรศะห์ฯ
———-


यदपि मनःसंस्पर्शप्रत्ययमध्यात्ममुत्पद्यते वेदयितं सुखं वा दुःखं वा अदुःखमसुखं वा तदप्यादीप्तं|
ยทปิ มนะสํสฺปรฺศปฺรตฺยยมธฺยาตฺมมุตฺปทฺยเต เวทยิตํ สุขํ วา ทุะขํ วา อทุะขมสุขํ วา ตทปฺยาทีปฺตํฯ

– ยะทะปิ มะนะห์สัมสปรรศะปรัตยะยะมัธยาตมะมุตปัทยะเต เวทะยิตัม สุขัม วา ทุห์ขัม วา อะทุห์ขะมะสุขัม วา ตะทัปยาทีปตัมฯ
———-


केनादीप्तं|
เกนาทีปฺตํฯ

– เกนาทีปตัมฯ
———-

रागाग्निना द्वेषाग्निना मोहाग्निना|
ราคาคฺนินา ทฺเวษาคฺนินา โมหาคฺนินาฯ

– ราคาคนินา ทเวษาคนินา โมหาคนินาฯ
———-

आदीप्तं जातिजराव्याधिमरणपरिदेवदुःखदौर्मनस्योपायासैः|
อาทีปฺตํ ชาติชราวฺยาธิมรณปริเทวทุะขเทารฺมนสฺโยปายาไสะฯ

– อาทีปตัม ชาติชะราวยาธิมะระณะปะริเทวะทุห์ขะเทารมะนัสโยปายาไสห์ฯ
———-

आदिप्तं दुःखेनेति|
อาทิปฺตํ ทุะเขเนติฯ

– อาทิปตัม ทุห์เขเนติฯ
———-


#แปลภาษาไทย

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ! ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ?

ก็ จักษุ(ตา) รูป(สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา) จักษุวิชญาน(การรู้รูปด้วยตา) จักษุสัมสปรัศ( ความกระทบทางตา) เป็นของร้อน

ก็เพราะ จักษุสัมสปรัศ เป็นปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นในตน ทั้งที่เป็น สุข หรือ ทุกข์ หรือ มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ความรู้สึกเหล่านี้ก็เป็นของร้อน

เช่นเดียวกัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของร้อน [จนถึง] มโนวิชญาน(การรู้อารมณ์ที่เกิดทางใจด้วยใจ) มนะสัมสปรัศ( ความกระทบทางใจ) ก็เป็นของร้อน

ก็เพราะ มนะสัมสปรัศ เป็นปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นในตน ทั้งที่เป็น สุข หรือ ทุกข์ หรือ มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ความรู้สึกเหล่านี้ก็เป็นของร้อน

ร้อนเพราะอะไร ?

ร้อนเพราะไฟคือความพอใจติดใจ(ราคะ)
เพราะไฟคือความโกรธ(ทเวษะ )
เพราะไฟคือความความหลงไม่รู้ตามที่เป็นจริง (โมหะ)
ร้อนเพราะความเกิด(ชาติ)
เพราะความแก่(ชรา)
เพราะความเจ็บป่วย(วยาธิ)
เพราะความตาย(มรณะ)
เพราะความคร่ำครวญ(ปริเทวะ)
เพราะทุกข์(ทุห์ขะ)
เพราะโทมนัส(เทารฺมนัส)
เพราะความคับแค้นใจ(อุปายาส)
ร้อนด้วยกับทุกข์ดังนี้


———-
#เชิงอรรถ
1.การบูชาไฟ อัคคิหุตตะ (อคฺคิหุตฺต) ในภาษาบาลี หรือ พิธีอัคนิโหตระ (อคฺนิโหตฺร : अग्निहोत्र ) ภาษาสันสกฤต คือพิธีกรรมในพระเวทอย่างหนึ่ง


2.ชฎิล คือผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา เป็นนักพรตพวกหนึ่งที่เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงชฎา (जटा : Jaṭā) เป็นการไว้ผมที่ปัจจุบันเรียกผมเดรดล็อค ( Dreadlocks หรือ twisted locks)แล้วเกล้าสูง


3.คยาศีรษะ ในภาษาสันสกฤต หรือ คยาสีสะ ในภาษาบาลี ปรากฏในมหาภารตะ วนบรรพ (บรรพแห่งป่า) เรียกว่า พรหมโยนิ (พฺรหฺมโยนิ : ब्रह्मयोनि) เป็นเนินเขาศักสิทธิ์ในเมืองคยา ปัจจุบันก็ยังเรียกว่า เนินเขาพรหมโยนิ (Brahmayoni Hill) ภาพอีกด้านของภูเขา

Loading

Be the first to comment on "อาทิตตปริยายสูตร ฝ่ายสันสกฤต คำเทศนาบนภูเขาคยาศีรษะของพระพุทธเจ้า"

Leave a comment