ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ของฝ่ายธรรมคุปต์

แบ่งปันในสังคมออนไลน์
 
 
จาก พระไตรปิฎกอักษรจีน ฉบับไทโช ในส่วนคัมภีร์พระวินัยปิฎกฝ่ายนิกายธรรมคุปต์ ชื่อ จาตุรวรรคียวินัย (四分律) หมายเลข ๑๔๒๘ ผูกที่ ๓๒ อุปสมบทสกันธกะ (受戒犍度) ตรงกับ มหาขันธกะ มหาวรรค ในพระวินัยปิฎกเถรวาท
จาตุรวรรคียวินัย แปลเป็นจีน โดยพระพุทธยศ (佛陀耶舍) ชาวอินเดียเหนือ แคว้นกัศมีระ-คันธาระ และพระผู้ช่วยนามว่า พระจุ๊ฝอเนี่ยน(竺佛念) โดยแปลจาก ภาษาต้นฉบับ ซึ่งอาจจะเป็น ภาษาปรากฤตคานธารี หรือภาษาสันสกฤต แปลราวปี ค.ศ. ๔๐๘-๔๑๓ หรือราว ๑๖๐๐ ปีที่ผ่านมา จาตุรวรรคียวินัยนี้ต่อมาฝ่ายมหายานได้เอาเป็นพระวินัยหลักของตน
 
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือ ธรรมจักรประวรรตนะสูตร เป็นพระสูตรที่สำคัญ ปรากฎหลักฐานอยู่ในหลายคัมภีร์หลายนิกาย และนับได้ว่าเป็นพระสูตร ที่เป็นทั้งพระธรรมและพระวินัย เพราะปรากฏทั้งในพระวินัยปิฏก(มหาวรรค) และพระสุตตันตปิฎก(สังยุตตนิกาย) เนื่องจากเป็นเหตุแห่งการบัญญัติการอุปสมบท ในครั้งแรกคือเอหิภิกขุอุปสัมปทา และยังเป็นพระธรรมคำสอนเรื่องแรกที่กล่าวถึงการประพฤติของพระภิกษุและที่สำคัญคือ อริยสัจ ๔
 
การแปลเป็นไทยนี้ได้แปลอย่างเร่งรีบ โดยแปลศัพท์จากอักษรจีนผ่านพจนานุกรม จีน-อังกฤษ-สันสกฤตออนไลน์ เป็นหลัก และสอบเทียบกับฉบับแปลภาษาอังกฤษ ดังนั้นศัพท์บางตัวประโยคอาจแปลไม่ตรงกันกับฉบับภาษาอังกฤษ และหากมีข้อผิดพลาดใดๆ ผู้รู้โปรดสอบทานและแนะนำด้วย เพื่อความถูกต้องอันจะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
 
การเทศนาของพระพุทธเจ้ากับพวกปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ศิลปะจีนร่วมสมัย
—————————————-

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ในอุปสมบทสกันธกะ จาตุรวรรคียวินัย

เรื่องการเทศนาของพระพุทธเจ้ากับพวกปัญจวัคคีย์
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

——————————————
หมายเหตุ ส. = ภาษาสันสกฤต
佛言:「汝等來!我今已獲甘露,當教授汝等。汝等能承受我言者,如是不久必有所得。所以族姓子,以信牢固從家捨家,為道修無上梵行者,於現法中自身作證,而自娛樂。生分已盡,梵行已立,所作已辦,更不受有。
พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่าฯ พวกเธอทั้งหลายจงเข้ามาเถิดฯ บัดนี้เราได้รับน้ำอมฤตแล้วฯ[1] เราจักสั่งสอนพวกเธอฯ หากว่าพวกเธอสามารถรับเอาในสิ่งที่เราสั่งสอนได้ฯ ด้วยวิธีการนี้ มิช้านานนัก ก็จักทำให้รู้แจ้งเป็นแน่แท้ ๚
ดูก่อนกุลบุตร ผู้มีศรัทธามั่นคงออกจากบ้านเป็นผู้สละเรือน(บรรพชิต)ฯ การประพฤติปฏิบัติในทางอันยอดเยี่ยมแห่งพรหมจรรย์นี้ฯ เป็นธรรมที่ถึงได้ในปัจจุบันสามารถรู้แจ้งได้ด้วยตนเองฯ และยังให้มีความร่าเริงขึ้นแก่ตนว่า๚
องค์ประกอบแห่งการเกิดได้หมดสิ้นแล้วฯ การประพฤติพรหมจรรย์จบแล้วฯ กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วฯ ไม่มีความยึดมั่นในภพอีกต่อไป ๚
********************************
[1] น้ำอมฤต 甘露 ศัพท์ดั้งเดิม หมายถึง น้ำค้างหวาน ที่เล่าจื๊อ ใช้เรียกน้ำค้างอันอร่อยที่แผ่ซ่านไปทั่วอาณาจักรในรัชสมัยของราชาปราชญ์( Sage King) ส่วนศัพท์ในพุทธศาสนา ใช้สื่อถึง น้ำโสม หรือ น้ำอมฤต คือ น้ำแห่งความไม่ตาย ในเทวปกรณัมของพวกอารยัน ซึ่งในความหมายของพุทธศาสนา หมายถึง ความอมตะ ความไม่ตาย อมตธรรม คือพระพุทธธรรมที่นำไปสู่ความไม่ตายหรือพระนิพพาน
——————————————
比丘出家者,不得親近二邊,樂習愛欲,或自苦行,非賢聖法,勞疲形神不能有所辦。比丘除此二邊已,更有中道,眼明智明永寂休息,成神通得等覺,成沙門涅槃行。
ภิกษุผู้สละเรือนฯ พึงอย่าเข้าไปใกล้ทางสุดโต่ง ๒ ประการฯ คือ ๑.การหมกมุ่นอยู่ด้วยการประพฤติในกามตัณหาฯ ๒.การประพฤติให้เกิดความทุกข์ลำบากแก่ตนฯ นี้ไม่ใช่ธรรมของอริยบุคคลฯ รังแต่จะทำให้เกิดความเหนื่อยยากแก่กายและใจจนไม่สามารถกระทำกิจที่มีอยู่ให้สำเร็จได้๚
ภิกษุเว้นแนวทางสุดโต่งทั้ง ๒ ประการนี้เสียแล้วฯ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางก็จักมีขึ้นมาได้ฯ ที่จะก่อให้เกิด ดวงตาอันแจ่มแจ้ง ญานอันแจ่มแจ้ง ความสงบสันติที่จะพึงมีได้ตลอดกาล ฯ การสำเร็จอภิญญาและการบรรลุถึงการตรัสรู้ฯ เป็นข้อปฏิบัติที่จะนำเหล่าสมณะไปสู่การบรรลุพระนิพพานได้๚
——————————————
云何名中道?眼明智明永寂休息,成神通得等覺,成沙門涅槃行,此賢聖八正道:正見、正業、正語、正行、正命、正方便、正念、正定,是謂中道。眼明智明永寂休息,成神通等正覺,成沙門涅槃行。
ก็อะไรคือ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ฯ ที่จะก่อให้เกิด ดวงตาอันแจ่มแจ้ง ญานอันแจ่มแจ้ง ความสงบสันติที่จะพึงมีได้ตลอดกาล ฯ การสำเร็จอภิญญาและการบรรลุถึงการตรัสรู้ฯ เป็นข้อปฏิบัติที่จะนำเหล่าสมณะไปสู่การบรรลุพระนิพพานได้ นี้เป็นอย่างไรเล่า ?
แนวทางอันถูกต้องของพระอริยะ ๘ ประการนี้ ฯ
(อริยมรรคมีองค์ ๘, ส. อารฺยาษฺฏางฺคมารฺค)
อันได้แก่
๑.ความเห็นที่ถูกต้องฯ
(สัมมาทิฏฐิ ส. สมฺยคฺทฤษฺฏิ)
๒.การปฏิบัติที่ถูกต้องฯ
(สัมมากัมมันตะ, ส. สมฺยกฺกรฺมานฺต)
๓.วาจาที่ถูกต้องฯ
(สัมมาวาจา, สมฺยคฺวาจฺ)
๔.ความคิดที่ถูกต้องฯ [2]
(สัมมาสังกัปปะ, ส. สมฺยกฺสํกลฺป)
๕.การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง ฯ
(สัมมาอาชีวะ, ส. สมฺยคาชีว)
๖.ความพยายามที่ถูกต้อง ฯ [3]
(สัมมาวายามะ, ส. สมฺยคฺวฺยายาม)
๗.การมีสติที่ถูกต้อง ฯ
(สัมมาสติ , ส. สมฺยกฺสฺมฤติ)
๘.การมีสมาธิที่ถูกต้อง ฯ
(สัมมาสมาธิ , ส. สมฺยกฺสมาธิ)
ก็แนวทางเหล่านี้แหละคือ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ฯ ที่จะก่อให้เกิด ดวงตาอันแจ่มแจ้ง ญานอันแจ่มแจ้ง ความสงบสันติที่จะพึงมีได้ตลอดกาล ฯ การสำเร็จอภิญญาและการบรรลุถึงการตรัสรู้ฯ เป็นข้อปฏิบัติที่จะนำเหล่าสมณะไปสู่การบรรลุพระนิพพานได้
********************************
*หัวข้ออริยมรรค ฝ่ายธรรมคุปต์ มีการเรียงหัวข้อสลับกันบ้าง
[2] ความคิดที่ถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ, ส. สมฺยกฺสํกลฺป)
ในฉบับนี้ใช้ 正行 (โดยมากแปลว่า การปฏิบัติที่ถูกต้อง) เป็นรูปไม่ปกติ ซึ่งต่างจากคัมภีร์อื่นมักใช้ 正思惟 ซึ่งจะมีความหมายตรงตัว
โดยคำว่า 行 ในส่วนอื่นๆ ของคัมภีร์นี้ยังหมายความถึง สังขารขันธ์ ( 行蘊 ส.สํสการ สกนฺธ) ซึ่งเป็น ขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ ซึ่งก็มีความหมายหลายนัย หนึ่งในนั้นคือความคิด ความดำริ เจตนา ปรากฏการใช้ 正行 กล่าวถึงหัวข้อ สัมมาสังกัปปะ อริยมรรค ในคัมภีร์เอโกตตราคมด้วย
[3] ความพยายามที่ถูกต้อง (สัมมาวายามะ, ส. สมฺยคฺวฺยายาม)
ในฉบับนี้ใช้ 正方便 (โดยมากแปลว่า มีอุบายที่ถูกต้อง) เป็นรูปไม่ปกติ ซึ่งต่างจากคัมภีร์อื่นมักใช้ 正精進 ซึ่งจะมีความหมายตรงตัว
方便 ในคัมภีร์อื่นๆนั้นให้ความหมายว่า อุบาย แต่คำว่า 方便 ในคัมภีร์พระวินัยเช่นคัมภีร์นี้มักจะใช้ในความหมายว่า ความพยายาม แต่มักใช้ในความหมายทางลบเช่น การวางแผน การออกอุบาย ที่จะพยายามล่วงพระวินัย ซึ่งเป็นการทับศัพท์ บาลีสันสกฤตคำว่า อารมฺภ ที่แปลว่า ความเพียรพยายาม
——————————————
四聖諦。何謂為聖諦?苦聖諦、苦集聖諦、苦盡聖諦、苦出要聖諦。
ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ๚
(อริยสัจ ๔, ส. จตุรารฺยสตฺย)
ความจริงอันประเสริฐ คืออะไรเล่า ?
๑.ความจริงอันประเสริฐ คือ ความทุกข์ ฯ
(ทุกข์, ส.ทุะข)
๒. ความจริงอันประเสริฐ คือ สาเหตุของการเกิดทุกข์ ฯ
(ทุกขสมุทัย , ส.ทุะขสมุทย)
๓. ความจริงอันประเสริฐ คือ การดับลงของทุกข์ฯ
(ทุกขนิโรธ, ส. ทุะขนิโรธ)
๔. ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางออกจากทุกข์ ๚
(ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา , ส. ทุะขนิโรธคามินี ปฺรติปทฺ)
——————————————
何等為苦聖諦 ? 生苦、老苦、病苦、死苦、怨憎會苦、愛別離苦、所欲不得苦、取要言之五盛陰苦,是謂苦聖諦。復次當知苦聖諦,我已知此,當修八正道:正見、正業、正語、正行、正命、正方便、正念、正定。
ก็อะไรคือ ความจริงอันประเสริฐแห่งความทุกข์เล่า ?
ก็คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ฯ ความผูกพันกับสิ่งที่รังเกียจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักใคร่ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วยังไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ฯ กล่าวโดยสรุปใจความสำคัญว่า การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ฯ
เหล่านี้แหละเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐแห่งความทุกข์๚
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พึงเข้าใจความจริงอันประเสริฐ คือ ความทุกข์นี้ ส่วนเราเข้าใจแล้วในข้อเหล่านี้ พึงดำเนินอยู่ในแนวทางอันถูกต้องของพระอริยะ ๘ ประการนี้ ความเห็นที่ถูกต้อง การปฏิบัติที่ถูกต้อง วาจาที่ถูกต้อง ความคิดที่ถูกต้อง การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง ความพยายามที่ถูกต้อง การมีสติที่ถูกต้อง การมีสมาธิที่ถูกต้อง ๚
——————————————
何等為苦集聖諦,緣愛本所生,與欲相應愛樂,是謂苦集聖諦。復次當滅此苦集聖諦,我已滅作證,當修八正道,正見乃至正定。
ความจริงอันประเสริฐแห่งสาเหตุของการเกิดทุกข์ คืออะไรเล่า ?
ก็คือ ตัณหา(ความทะยานอยาก)อันเป็นมูลรากของการเกิด นำมาซึ่งความยินดีพอใจประกอบพร้อมด้วยความเพลิดเพลินในตัณหานั้น
เหล่านี้แหละเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐแห่งสาเหตุของการเกิดทุกข์๚
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ควรละเสียซึ่งความจริงอันประเสริฐ คือ สาเหตุของการเกิดทุกข์นี้ ส่วนเราละเสียสิ้นในข้อเหล่านี้แล้ว ด้วยรู้แจ้งด้วยตนมาแล้ว
เธอพึงดำเนินอยู่ในแนวทางอันถูกต้องของพระอริยะ ๘ ประการ คือตั้งแต่ ความเห็นที่ถูกต้อง จนถึง การมีสมาธิที่ถูกต้อง ๚
——————————————
云何名苦盡聖諦?彼愛永盡、無欲滅捨、出要解脫永盡、休息無有樔窟,是謂苦盡聖諦。復次當以苦盡聖諦為證,我已作證,當修八正道,正見乃至正定。
ความจริงอันประเสริฐแห่งการดับลงของทุกข์ คืออะไรเล่า ?
ก็คือ ตัณหาดับลงอย่างถาวร ไม่เหลือราคะด้วยการสิ้นสุด การสละ การละทิ้ง การหลุดพ้น การดับลงถาวร การสงบรำงับ ไม่มีที่มั่นอันจะยึดได้อีก
เหล่านี้แหละเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐแห่งการดับลงของทุกข์๚
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พึงกระทำซึ่งความจริงอันประเสริฐ คือ การดับลงของทุกข์นี้ ส่วนเราได้กระทำแล้วรู้แจ้งด้วยตนมาแล้ว เธอพึงดำเนินอยู่ในแนวทางอันถูกต้องของพระอริยะ ๘ ประการ คือตั้งแต่ ความเห็นที่ถูกต้อง จนถึง การมีสมาธิที่ถูกต้อง ๚
——————————————
何等是苦出要聖諦?此賢聖八正道,正見乃至正定,是謂苦出要聖諦。復次當修此苦出要聖諦,此苦出要聖諦,我已修。
ความจริงอันประเสริฐ แห่ง ทางออกจากทุกข์ คืออะไรเล่า ?
ก็แนวทางอันถูกต้องของพระอริยะ ๘ ประการ คือตั้งแต่ ความเห็นที่ถูกต้อง จนถึง การมีสมาธิที่ถูกต้องฯ
เหล่านี้แหละเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐแห่งทางออกจากทุกข์๚
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พึงปฏิบัติในความจริงอันประเสริฐ คือ ทางออกจากทุกข์นี้ความจริงอันประเสริฐแห่งทางออกจากทุกข์นี้ เราได้ปฏิบัติสำเร็จแล้ว๚
——————————————
此苦聖諦本未聞法,智生、眼生、覺生、明生、通生、慧生得證。復次當知,此苦聖諦本所未聞法,智生乃至慧生。復次我已知苦聖諦本未聞法,智生、眼生、覺生、明生、通生、慧生,是謂苦聖諦。
[อาการที่ ๑ สัจจะที่ ๑ รอบที่ ๑]
นี้คือ หลักความจริงอันประเสริฐแห่งความทุกข์ เป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้นฯ ดวงตามองเห็นเกิดขึ้นฯ การรู้แจ้งเกิดขึ้นฯ ความสว่างเกิดขึ้นฯ อภิญญาความรู้ยิ่งเกิดขึ้นฯ ปัญญาเกิดขึ้นฯ ย่อมถึงการบรรลุ๚
[อาการที่ ๒ สัจจะที่ ๑ รอบที่ ๒]
ควรกำหนดรู้ฯ ในหลักความจริงอันประเสริฐ คือ ความทุกข์นี้ อันเป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚
[อาการที่ ๓ สัจจะที่ ๑ รอบที่ ๓]
ส่วนเราได้กำหนดรู้แล้ว ในหลักความจริงอันประเสริฐแห่งความทุกข์ อันเป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้นฯ ดวงตามองเห็นเกิดขึ้นฯ การรู้แจ้งเกิดขึ้นฯ ความสว่างเกิดขึ้นฯ อภิญญาความรู้ยิ่งเกิดขึ้นฯ ปัญญาเกิดขึ้นฯ นี้เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐแห่งความทุกข์๚
——————————————
此苦集聖諦本未聞法,智生、眼生、覺生、明生、通生、慧生。復次當滅,此苦集聖諦本未聞法,智生乃至慧生。復次我已滅,此苦集聖諦本未聞法,智生乃至慧生,是謂苦集聖諦。
[อาการที่ ๔ สัจจะที่ ๒ รอบที่ ๑]
นี้คือ ความจริงอันประเสริฐแห่งสาเหตุของการเกิดทุกข์ เป็นหลักธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้นฯ ดวงตามองเห็นเกิดขึ้นฯ การรู้แจ้งเกิดขึ้นฯ ความสว่างเกิดขึ้นฯ อภิญญาความรู้ยิ่งเกิดขึ้นฯ ปัญญาเกิดขึ้น๚
[อาการที่ ๕ สัจจะที่ ๒ รอบที่ ๒]
ควรละเสียฯ ในหลักความจริงอันประเสริฐ คือ สาเหตุของการเกิดทุกข์นี้ อันเป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚
[อาการที่ ๖ สัจจะที่ ๒ รอบที่ ๓]
ส่วนเราได้ละเสียแล้ว ในหลักความจริงอันประเสริฐ คือ สาเหตุของการเกิดทุกข์นี้ อันเป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้นฯ นี้เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐแห่งสาเหตุของการเกิดทุกข์๚
——————————————
此苦盡聖諦本所未聞法,智生乃至慧生。復次此苦盡聖諦, 應作證本未聞法,智生乃至慧生。復次此苦盡聖諦,我已作證本未聞法,智生乃至慧生。
[อาการที่ ๗ สัจจะที่ ๓ รอบที่ ๑]
นี้คือ ความจริงอันประเสริฐแห่งการดับลงของทุกข์ อันเป็นหลักธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚
[อาการที่ ๘ สัจจะที่ ๓ รอบที่ ๒]
ควรทำให้สำเร็จฯ ในความจริงอันประเสริฐ คือ การดับลงของทุกข์นี้ อันเป็นหลักธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚
[อาการที่ ๙ สัจจะที่ ๓ รอบที่ ๓]
ส่วนความจริงอันประเสริฐแห่งการดับลงของทุกข์นี้ เราทำให้สำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚*
[* ต้นฉบับมีการเรียงประโยคแตกต่างจากเดิม]
——————————————
此苦出要聖諦本未聞法,智生乃至慧生。復次當修苦出要聖諦本未聞法,智生乃至慧生。復次我已修此苦出要聖諦本未聞法,智生乃至慧生。是謂四聖諦。
[อาการที่ ๑๐ สัจจะที่ ๔ รอบที่ ๑]
นี้คือ ความจริงอันประเสริฐแห่งทางออกจากทุกข์ อันเป็นหลักธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ยังให้ ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚
[อาการที่ ๑๑ สัจจะที่ ๔ รอบที่ ๒]
ควรประพฤติปฏิบัติฯ ในความจริงอันประเสริฐ คือ ทางออกจากทุกข์นี้ อันเป็นหลักธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ ทำให้ญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚
[อาการที่ ๑๒ สัจจะที่ ๔ รอบที่ ๓]
ส่วนเราได้ประพฤติปฏิบัติแล้ว ในหลักความจริงอันประเสริฐ คือ ทางออกจากทุกข์นี้ อันเป็นธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนฯ มีญาณหยั่งรู้เกิดขึ้น จนถึง ปัญญาเกิดขึ้น๚
นี้เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ๚
——————————————
若我不修此四聖諦三轉十二行,如實而不知者,我今不成無上正真道。然我於四聖諦三轉十二行,如實而知,我今成無上正真道而無疑滯。
หากเราไม่ได้ปฎิบัติในความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ มีการวน ๓ รอบ ได้ ๑๒ อาการนี้ฯ ก็เป็นผู้ไม่รู้ตามความเป็นจริงฯ ถึงแม้ในบัดนี้เราก็ยังจะมิได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม๚
แต่ด้วยเราแน่วแน่ด้วยกับความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ มีการวน ๓ รอบ ได้ ๑๒ อาการแล้วฯ เป็นผู้รู้ตามความเป็นจริงฯ ในบัดนี้เราได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมและไม่มีความลังเลสงสัยอีกต่อไป ๚
——————————————
如來說此四聖諦,眾中無有覺悟者,如來則為不轉法輪。若如來說四聖諦,眾中有覺悟者,如來則為轉法輪。沙門、婆羅門、魔若魔天、天及世間人所不能轉,是故當勤方便修四聖諦:苦聖諦、苦集聖諦、苦滅聖諦、苦出要聖諦,當如是學。
เมื่อตถาคตแสดงความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการนี้แล้วฯ ในบรรดาหมู่พวกท่านยังไม่มีผู้ใดตื่นรู้ขึ้นแล้วไซร้ฯ ก็เป็นว่าตถาคตยังมิได้หมุนวงล้อแห่งพระธรรม (ธรรมจักร)๚
แต่หากตถาคตแสดงความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการนี้แล้วฯ ในบรรดาหมู่พวกท่านมีผู้ตื่นรู้ขึ้นแล้วไซร้ฯ ก็เป็นว่าตถาคตได้หมุนวงล้อแห่งพระธรรมแล้ว๚
ซึ่งสมณะฯ พราหมณ์ฯ มารเช่นมารเทวบุตรฯ เทวดา หรือมนุษย์ใดในโลก ก็ไม่สามารถหมุนได้ฯ
เพราะเหตุนี้ พึงวิริยะพยายาม ปฎิบัติในความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ : คือ ความจริงอันประเสริฐ คือ ความทุกข์ ฯ ความจริงอันประเสริฐ คือ สาเหตุของการเกิดทุกข์ ฯ ความจริงอันประเสริฐ คือ การดับลงของทุกข์ฯ ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางออกจากทุกข์ฯ นี้แหละคือสิ่งที่ควรศึกษา ๚
——————————————
爾時世尊,說此法時,五比丘阿若憍陳如,諸塵垢盡得法眼生。爾時世尊,已知阿若憍陳如心中所得,便以此言而讚曰:「阿若憍陳如已知!阿若憍陳如已知!」從是已來名阿若憍陳如。
ในสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าฯ เมื่อเวลาแสดงธรรมนี้แล้วฯ ในหมู่ภิกษุทั้ง ๕ รูปนี้ มีท่านอาชญาตเกาณฑินยะฯ ได้หลุดจากมลทินทั้งปวง ดวงตาเห็นธรรมก็ปรากฎขึ้นในตนฯ
ในสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าฯ ทรงทราบแล้วว่า จิตของท่านอาชญาตเกาณฑินยะได้บรรลุแล้วฯ ในบัดนั้นพระองค์จึงกล่าวสรรเสริญขึ้นว่า : ท่านอาชญาตเกาณฑินยะ ได้รู้แล้ว ! ท่านอาชญาตเกาณฑินยะ ได้รู้แล้ว ! นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนบัดนี้ ท่านจึงถูกเรียกว่า อาชญาตเกาณฑินยะ๚ [4]
[4] เดิมนามท่านสันสกฤตเรียกว่า เกาณฑินยะ (บ.โกณฑัญญะ) เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว หากจะกล่าวถึงท่าน จะต้องเรียกเพื่อเป็นการให้เกียรติท่านว่า อาชญาตเกาณฑินยะ (บ.อัญญาโกณฑัญญะ)
——————————————
時地神聞如來所說,便即相告語:「今如來至真等正覺,於波羅㮈仙人鹿苑所,轉無上法輪本所未轉。沙門、婆羅門、魔若魔天、天及人,不能轉者。」
ครานั้นพวกภุมมเทวดา [5] ได้ยินการเทศนาของพระตถาคตเจ้าแล้วฯ ทันใดนั้นก็บอกกล่าวต่อ ๆ กันไปว่า :
บัดนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ ทรงประทับอยู่ที่เมืองพาราณสีในป่าฤๅษีอันเป็นสวนของหมู่กวาง [6]ฯ ทรงหมุนวงล้อพระธรรมอันยอดเยี่ยมแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่ใครเคยหมุนฯ อันสมณะฯ พราหมณ์ฯ มารเช่นมารเทวบุตรฯ เทวดา หรือมนุษย์ใดในโลก ก็ไม่สามารถหมุนได้๚
********************************
[5] เทวดาชั้นภาคพื้นดิน หรือปฤถวีเทวดา ก็เรียก
[6] 波羅㮈 Bō luó nài เมืองพาราณสี
[7] ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ส.ฤษิปตนมฤคทาว เป็นป่าชานเมืองพาราณสีเป็นสถานที่สงบ เป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤๅษีและนักพรต มีกวางอาศัยอยู่มาก
——————————————
地神唱聲,聞四天王、忉利天、焰天、兜術天、化樂天、他化天,展轉相告語言:「今如來、至真、等正覺,於波羅㮈仙人鹿苑中,轉無上法輪。沙門、婆羅門、魔若魔天、天及人所不能轉。」爾時一念頃須臾間,展轉相告語聲乃徹梵天。
เสียงภุมมเทวดาชั้นภาคพื้นดินที่ประกาศออกไปฯ ได้ยินถึง สวรรค์ชั้นจาตุรมหาราชฯ สวรรค์ชั้นตรายัสตรึงศ์ฯ สวรรค์ชั้นยามาฯ[8] สวรรค์ชั้นดุษิตฯ สวรรค์ชั้นนิรมาณรติฯ สวรรค์ชั้นปรนิรมิตวศวรรตินฯ[9] ต่างป่าวประกาศเวียนต่อ สะพัดออกไปว่า :
บัดนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ ทรงประทับอยู่ที่เมืองพาราณสีในป่าฤๅษีอันเป็นสวนของหมู่กวางฯ ทรงหมุนวงล้อพระธรรมอันยอดเยี่ยมแล้วฯ ซึ่งสมณะฯ พราหมณ์ฯ มารเช่นมารเทวบุตรฯ เทวดา หรือมนุษย์ใดในโลก ก็ไม่สามารถหมุนได้๚
เพียงเวลาชั่วครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศเวียนต่อกัน สะพัดไปจนลุถึงพรหมโลก๚
********************************
[8] 焰天 ต้นฉบับดังเดิม ไม่มี 摩 ในฉบับชำระตั้งแต่ราชวงศ์ซ่ง แก้เป็น 焰摩 คือ สวรรค์ชั้นยามา
[9]สวรรค์มี ๖ ทับศัพท์แบบไทยบาลี ได้แก่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตตี
——————————————
爾時尊者阿若憍陳如,見法得法成辦諸法已獲果實,前白佛言:「我今欲於如來所修梵行。」佛言:「來,比丘!於我法中快自娛樂,修梵行盡苦原。」
ในสมัยนั้นพระอริยเจ้าคือ ท่านอาชญาตเกาณฑินยะฯ ได้เห็นธรรม บรรลุธรรม สำเร็จธรรมทั้งปวงอันบังเกิดผลแล้วฯ ได้ทูลต่อเบื้องหน้าพระพุทธเจ้าว่า :
บัดนี้ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ตามอย่างพระตถาคต๚
พระพุทธองค์ทรงตอบว่า : มาเถิด ภิกษุ ! ในธรรมของเรานี้ย่อมให้อาจหาญร่าเริงขึ้นแก่ตน จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อดับทุกข์ให้สิ้นไป๚
——————————————
時尊者憍陳如。即名出家受具足戒。是謂比丘中初受具足戒。阿若憍陳如為首。
เวลานั้นพระอริยเจ้าคือ เกาณฑินยะฯ ทันทีที่ถูกเรียกขานก็เป็นว่าได้รับการบรรพชาอุปสมบทแล้วฯ การถูกเรียกว่าเป็นภิกษุในการอุปสมบทตั้งแต่แรกเริ่มมาฯ พระอาชญาตเกาณฑินยะนี้เป็นปฐมฯ
——————————————
จบ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ในอุปสมบทสกันธกะ จาตุรวรรคียวินัย

Loading

Be the first to comment on "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ของฝ่ายธรรมคุปต์"

Leave a comment