ปราติโมกษ์สุภาษิต (โอวาทปาฏิโมกข์) ของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ แบบนิกายมหาสังฆิกะ

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

ปราติโมกษ์สุภาษิต (โอวาทปาฏิโมกข์) ของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ แบบนิกายมหาสังฆิกะ สำนักโลโกตตรวาท ภาษาสันสกฤตแบบผสมปรากฤต จากตอนท้ายใน คัมภีร์มหาสังฆิกะโลโกตตรวาทปราติโมกษ์สูตร

ปราติโมกษ์สุภาษิต คือ โอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นแนวทางปฏิบัติหลัก ก่อนมีการบัญญัติสิกขาบท

ปราติโมกษ์สุภาษิต จากตอนท้ายใน คัมภีร์มหาสังฆิกะโลโกตตรวาทปราติโมกษ์สูตร เป็นคัมภีร์พระวินัย ว่าด้วยสิกขาบทของพระภิกษุ(เรียกตามภาษาปากว่า ศีลพระ) ของสายนิกายมหาสังฆิกะ ใช้ที่สวดทบทวนในที่ประชุมสงฆ์ ทุกระยะครึ่งเดือน ในนิกายอื่นๆ ยกเว้น เถรวาทนิกายเดียว เมื่อสวดสิกขาบทในปราติโมกษ์จบ จะสวดปราติโมกษ์สุภาษิต หรือโอวาทปาฏิโมกข์ ของพระพุทธเจ้าต่อ

คัมภีร์มหาสังฆิกะโลโกตตรวาทปราติโมกษ์สูตร เมื่อสวด บุพพกรณ์บุพพกิจ แล้ว สวดตัวสิกขาบทมี 219 สิกขาบท ได้แก่
1.ปาราชิก 4 สิกขาบท
2.สังฆาทิเสส(สํฆาติเศษา) 13 สิกขาบท
3.อนิยตะ 2 สิกขาบท
4.นิสสัคคิยปาจิตตีย์(นิสฺสรฺคิกปาจตฺติกา) 30 สิกขาบท
5.ปาจิตตีย์(ศุทฺธปาจตฺติกา) 92 สิกขาบท
6.ปาฏิเทสนียะ(ปฺราติเทศนิกา) 4 สิกขาบท
7.เสขิยวัตร(ไศกฺษา) 67 สิกขาบท
8.อธิกรณสมถะ(อธิกรณศมถา) 7 สิกขาบท
จบด้วย ปราติโมกษ์สุภาษิต (โอวาทปาฏิโมกข์) ของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์

ภาพพระพุทธรูป พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ณ ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฏร์ อินเดีย



๑.พระวิปัสสีพุทธเจ้า (วิปัศยิ)

กฺษานฺติะ ปรมํ ตโป ติติกฺษา นิรฺวาณํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธาะ ฯ
น หิ ปฺรวฺรชิตะ ปโรปตาปี ศฺรวโณ โภติ ปรานฺ วิเหฐยานะ ๚
อิทํ ตสฺย ภควโต วิปศฺยิสฺย ตถาคตสฺยารฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธสฺย อจิราภิสํพุทฺธสฺย นิรรฺพุเท ภิกฺษุสํเฆ สํกฺษิปฺเตน ปฺราติโมกฺษํ สุภาษิตํ ฯ


กษานติ คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งหลาย กล่าวว่านิรวาณว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ฆ่าสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นศรมณะเลย

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัศยิ ผู้เป็นพระตถาคตอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงตรัสรู้อภิสัมพุทธะไม่นานนัก ก็ทรงกล่าวสุภาษิตคือปราติโมกษ์นี้โดยสังเขปในที่ประชุมภิกษุสงฆ์

๒.พระสิขีพุทธเจ้า (ศิกษิ)

อโนปวาที อปโรปฆาตี ปฺราติโมเกฺษ จ สํวโร ฯ
มาตฺรชฺญตา จ ภกฺตสฺมิํ ปฺรานฺตํ จ ศยนาสนํ ฯ
อธิจิตฺเต จาโยโค เอตํ พุทฺธานุศาสนํ ๚
อิทํ ตสฺย ภควโต ศิกฺษิสฺย ตถาคตสฺยารฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธสฺย อจิราภิสํพุทฺธสฺย นิรรฺพุเท ภิกฺษุสํเฆ สํกฺษิปฺเตน ปฺราติโมกฺษํ สุภาษิตํ ๚

การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปราติโมกษ์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค การนอนการนั่งอันสงัด การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ศิกษิ ผู้เป็นพระตถาคตอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงตรัสรู้อภิสัมพุทธะไม่นานนัก ก็ทรงกล่าวสุภาษิตคือปราติโมกษ์นี้โดยสังเขปในที่ประชุมภิกษุสงฆ์

๓.พระเวสสภูพุทธเจ้า (วิศวภุวะ)

อธิเจตสิ มา ปฺรมาทฺยโต มุนิโน เมานปเทษุ ศิกฺษตะ ฯ
โศกา น ภวนฺติ ตายิโน อุปศานฺตสฺย สทา สฺมฤตีมตะ ๚
อิทํ ตสฺย ภควโต วิศฺวภุวสฺย ตถาคตสฺยารฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธสฺย อจิราภิสํพุทฺธสฺย นิรรฺพุเท ภิกฺษุสํเฆ สํกฺษิปฺเตน ปฺราติโมกฺษํ สุภาษิตํ ๚


ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่ง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาอยู่ในครองแห่งมุนี คงที่ สงบ มีสติทุกเมื่อ ฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิศวภุวะ ผู้เป็นพระตถาคตอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงตรัสรู้อภิสัมพุทธะไม่นานนัก ก็ทรงกล่าวสุภาษิต คือ ปราติโมกษ์นี้โดยสังเขปในที่ประชุมภิกษุสงฆ์

๔.พระกกุสันธพุทธเจ้า (กระกุจฉันทะ)

สรฺวปาปสฺยากรณํ กุศลสฺโยปสํปทา ฯ
สฺวจิตฺตปรฺโยทปนํ เอตํ พุทฺธานุศาสนมฺ ๚
อิทํ ตสฺย ภควโต กฺรกุจฺฉนฺทสฺย ตถาคตสฺยารฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธสฺย อจิราภิสํพุทฺธสฺย นิรรฺพุเท ภิกฺษุสํเฆ สํกฺษิปฺเตน ปฺราติโมกฺษํ สุภาษิตํ ๚

———————–
ความไม่ทำบาปทั้งปวง ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ความ
ชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กระกุจฉันทะ ผู้เป็นพระตถาคตอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงตรัสรู้อภิสัมพุทธะไม่นานนัก ก็ทรงกล่าวสุภาษิต คือ ปราติโมกษ์นี้โดยสังเขปในที่ประชุมภิกษุสงฆ์

๕.พระโกนาคมนพุทธเจ้า (โกนากมุนี)


ยถา หิ ภฺรมโร ปุณฺยํ[ปุษฺปํ] วรฺณคนฺธมฺ อเหฐยํ ฯ
ปไรติ รสมฺ อาทาย เอวํ คฺราเม มุนิศฺ จเรตฺ ๚
น ปเรษํา วิโลมานิ น ปเรษํา กฤตากฤตํ ฯ
อาตฺมโน ตุ สมีเกฺษต กฤตานฺยฺ อกฤตานิ จ ๚
อิทํ ตสฺย ภควโต โกนากมุนิสฺย ตถาคตสฺยารฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธสฺย อจิราภิสํพุทฺธสฺย นิรรฺพุเท ภิกฺษุสํเฆ สํกฺษิปฺเตน ปฺราติโมกฺษํ สุภาษิตมฺ ฯ

ภมรภู่ผึ้งไม่ทำลายดอกไม้ สีและกลิ่นให้ชอกช้ำ นำเอารสแล้วก็โบยบินไป ฉันใด มุนีก็พึงเที่ยวไปในบ้าน ฉันนั้น.
ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น ที่เขาทำแล้วและยังไม่ได้ทำควรพิจารณาดูแต่การงานของตนที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนากมุนี ผู้เป็นพระตถาคตอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงตรัสรู้อภิสัมพุทธะไม่นานนัก ก็ทรงกล่าวสุภาษิต คือ ปราติโมกษ์นี้โดยสังเขปในที่ประชุมภิกษุสงฆ์

๖.พระกัสสปพุทธเจ้า (กาศยปะ)

นาสฺติ ธฺยานมฺ อปฺรชฺญสฺย ปฺรชฺญา นาสฺติ อธฺยายโต ฯ
ยสฺย ธฺยานํ จ ปฺรชฺญา จ ส ไว นิรฺวาณสฺย อนฺติเก ๚
ตตฺรายมฺ อาทิ ภวติ อิหปฺรชฺญสฺย ภิกฺษุโณ ฯ
อินฺทฺริไย คุปฺติะ สํตุษฺฏิะ ปฺราติโมเกฺษ จ สํวโร ๚
มิตฺรํ ภเชต กลฺยาณํ ศุทฺธาชีวีมฺ อตนฺทฺริตํ ฯ
ปฺรติสํสฺตรวรฺตี จ อาจารกุศโล สิยา ฯ
ตตะ ปฺราโมทฺย พหุโล ภิกฺษุ นิรฺวาณสฺไยว อนฺติเก ๚
อิทํ ตสฺย ภควตะ กาศฺยปสฺย ตถาคตสฺยารฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธสฺย อจิราภิสํพุทฺธสฺย นิรรฺพุเท ภิกฺษุสํเฆ สํกฺษิปฺเตน ปฺราติโมกฺษํ สุภาษิตมฺ ๚


ธยานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปรัชญา ปรัชญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีธยาน ผู้มีทั้งธยานและปรัชญานั่นแล จึงนับว่าอยู่ใกล้นิรวาณ
ธรรมเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญาคือความสำรวมอินทรีย์ ความสันโดษ และความสำรวมในปราติโมกษ์
เธอจงคบกัลยาณมิตร ที่เลี้ยงชีพโดยบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน ควรทำการปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในเรื่องมารยาทด้วยเหตุนั้น ภิกษุก็จักมากด้วยความปราโมทย์ จักทำให้ถึงนิรวาณได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กาศยปะ ผู้เป็นพระตถาคตอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงตรัสรู้อภิสัมพุทธะไม่นานนัก ก็ทรงกล่าวสุภาษิต คือ ปราติโมกษ์นี้โดยสังเขปในที่ประชุมภิกษุสงฆ์

#พระโคตมพุทธเจ้า (ศากยมุนี)

จกฺษุษา สํวระ สาธุะ สาธุะ โศฺรเตฺรณ สํวระ ฯ
ฆฺราเณน สํวระ สาธุะ สาธุะ ชิหฺวาย สํวระ ๚
กาเยน สํวระ สาธุะ มนสา สาธุ สํวระ ฯ
สรฺวตฺร สํวฤโต ภิกฺษุะ สรฺวทุะขาตฺ ปฺรมุจฺยเต ๚
อิทํ ตสฺย ภควตะ ศากฺยมุเนะ ศากฺยาธิราชสฺย ตถาคตสฺยารฺหตะ สมฺยกฺสมฺพุทฺธสฺย อจิราภิสํพุทฺธสฺย นิรรฺพุเท ภิกฺษุสํเฆ สํกฺษิปฺเตน ปฺราติโมกฺษํ สุภาษิตมฺ ฯ

การสำรวมตา เป็นการดี การสำรวมหู เป็นการดี
การสำรวมจมูก เป็นการดี การสำรวมลิ้น เป็นการดี
การสำรวมกาย เป็นการดี การสำรวมใจ เป็นการดี
ภิกษุผู้สำรวมทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ศากยมุนี ราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งศากยวงศ์ ผู้เป็นพระตถาคตอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากทรงตรัสรู้อภิสัมพุทธะไม่นานนัก ก็ทรงกล่าวสุภาษิต คือ ปราติโมกษ์นี้โดยสังเขปในที่ประชุมภิกษุสงฆ์
———————–

Loading

Be the first to comment on "ปราติโมกษ์สุภาษิต (โอวาทปาฏิโมกข์) ของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ แบบนิกายมหาสังฆิกะ"

Leave a comment