การปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ฝ่ายสันสกฤต ที่ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยนิกายมูลสรรวาสติวาท

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

การปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ฝ่ายสันสกฤต ที่ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยนิกายมูลสรรวาสติวาท มี ๓ ขั้นตอน ๑ การรับไตรสรณคมน์ ๒ ประกาศตนเป็นอุบาสก ๓ การสมาทานศีล ๕ โดยมีเนื้อหาต่อไปนี้

ภาพ พระเจ้ามธุระอวันตีบุตร ขอพระมหากัจจานะเป็นสรณะ พระเถระเจ้าได้ห้าม แล้วให้พระราชาถึงพระผู้มีพระภาคแม้ทรงเสด็จปรินิพพานแล้ว และ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ พระเจ้ามธุระอวันตีบุตร รับสรณะและประกาศตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
ภาพจาก : http://threegems.org/

การปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ฝ่ายสันสกฤต ของนิกายมูลสรรวาสติวาท
ตอนที่ ๑ การรับไตรสรณคมน์ และประกาศตนเป็นอุบาสก

การปฏิญาณตนเป็นอุบาสกนี้ อาจถือได้ว่าพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะก็ว่าได้ ในส่วนที่ยกมากล่าวถึงในคัมภีร์ที่เกียวข้องในการอุปสมบท กล่าวคือ ในนิกายมูลสรรวาสติวาท ผู้ขออุปสมบท(อุปสํปตฺเปฺรกฺษ) ต้องประกาศตนเป็นอุบาสก แล้วจึงบรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่อไปตามลำดับ และในการปฏิญาณตนเป็นอุบาสก มีขั้นตอน 3 ขั้นตอนคือ การรับไตรสรณคมน์(ตฺริศรณคมน) ประกาศตนเป็นอุบาสก(อุปาสก) สมาทานศีล ๕ (ปญฺจศิกฺษาปท)


รับไตรสรณคมน์ และ ศีล ๕ ฝ่ายสันสกฤต ของนิกายมูลสรรวาสติวาท


ผู้ปฏิญาณเข้าไปหาพระภิกษุ แล้วทำความเคารพ ด้วยการกราบ[ปรฺณาม] เมื่อกราบแล้ว นั่งคุกเข่า [ชานุมณฺฑลํ ปฺรติษฺฐาปฺย] ต่อหน้าพระอาจารย์ ยกมือประณมมือ [อญฺชลิํ ปฺราณมฺย] แล้วกล่าวว่า :


समन्वाहर भदन्त अहमेवंनामा
samanvāhara bhadanta ahamevaṃnāmā
बुद्धं शरणं गच्छामि द्विपदानामग्र्यम् ।
buddhaṃ śaraṇaṃ gacchāmi dvipadānāmagryam ।
धर्मं शरणं गच्छामि विरागाणामग्र्यम् ।
dharmaṃ śaraṇaṃ gacchāmi virāgāṇāmagryam ।
संघं शरणं गच्छामि गणानामग्र्यम् ।
saṃghaṃ śaraṇaṃ gacchāmi gaṇānāmagryam ।
उपासकं मां भदन्तो धारयतु यावज्जीवम् ।
upāsakaṃ māṃ bhadanto dhārayatu yāvajjīvam ।
एवं द्विरपि त्रिरपि वाच्यम् ॥
evaṃ dvirapi trirapi vācyam ॥

—————————-
ปริวรรตอักษรไทย
—————————-

สมนฺวาหร ภทนฺต อหเมวํนามา
(สะมันวาหะระ ภะทันตะ อะหะเมวันนามา)

-ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงโปรดทราบ ข้าพเจ้าผู้มีนามว่า [ชื่อผู้ปฏิญาณ]

พุทฺธํ ศรณํ คจฺฉามิ ทฺวิปทานามคฺรฺยมฺ ฯ
(พุทธัม ศะระณัม คัจฉามิ ทวิปะทานามัครยัม ฯ)

-ขอถึง พระพุทธ ผู้เป็นเลิศในบรรดาสัตว์สองเท้าทั้งปวง เป็นที่พึ่งที่ระลึก

ธรฺมํ ศรณํ คจฺฉามิ วิราคาณามคฺรฺยมฺ ฯ
(ธรรมัม ศะระณัม คัจฉามิ วิราคาณามัครยัม ฯ)

-ขอถึง พระธรรม อันเป็นเลิศในบรรดาธรรมที่ปราศจากราคะทั้งปวง เป็นที่พึ่งที่ระลึก

สํฆํ ศรณํ คจฺฉามิ คณานามคฺรฺยมฺ ฯ
(สังฆัม ศะระณัม คัจฉามิ คะณานามัครยัม ฯ)

-ขอถึง พระสงฆ์ คณะอันเป็นเลิศในบรรดาคณะทั้งปวง เป็นที่พึ่งที่ระลึก

อุปาสกํ มํา ภทนฺโต ธารยตุ ยาวชฺชีวมฺ ฯ
(อุปาสะกัม มาม ภะทันโต ธาระยะตุ ยาวัชชีวัม ฯ)

-ขอท่านผู้เจริญจงโปรดรับข้าพเจ้าเป็นอุบาสกตลอดชีวิต

เอวํ ทฺวิรปิ ตฺริรปิ วาจฺยมฺ ๚
(เอวัม ทวิระปิ ตริระปิ วาจยัม ๚)

-ให้กล่าวซ้ำอีก เป็นครั้งที่สอง และครั้งที่สาม


เมื่อกล่าว ปฏิญาณเสร็จ พระภิกษุจะกล่าวว่า

औपयिकं (aupayikaṃ)
เอาปยิกํ (เอาปะยิกัม)

-ชอบดีแล้ว

ผู้ปฏิญาณ กล่าวรับว่า

साधु (sādhu)
– สาธุ

[จบไตรสรณคมน์ จากนั้น สมาทานศีล ๕ ต่อ]


 

การปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ฝ่ายสันสกฤต ของนิกายมูลสรรวาสติวาท
ตอนที่ ๒ การสมาทานศีล ๕


ภาพนางปฏาจาราเสียสติ
จากภาพหน้าปกหนังสือ พุทธจริต ผลงานท่าน อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต

นางกลับได้สติด้วยพุทธานุภาพ ถวายบังคม ทูลว่า ขอพระองค์จึงทรงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสแก่นางปฏาจารา ในพระธรรมบทว่า

“บุคคลเมื่อถึงคราวจะตาย
บุตรทั้งหลายก็ต้านทานไว้ไม่ได้
บิดาก็ต้านทานไว้ไม่ได้
พวกพ้องก็ต้านทานไว้ไม่ได้
แม้ญาติพี่น้องก็ต้านทานไว้ไม่ได้

บัณฑิตผู้สำรวมในศีล รู้ความจริงนี้แล้ว
พึงรีบเร่งชำระทางอันจะนำไปสู่นิพพาน”


การปฏิญาณตนเป็นอุบาสก นิกายมูลสรรวาสติวาท อาจถือได้ว่าพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะก็ว่าได้ ในส่วนที่ยกมากล่าวถึงในคัมภีร์ที่เกียวข้องในการอุปสมบท กล่าวคือ ผู้ขออุปสมบท(อุปสํปตฺเปฺรกฺษ) ต้องประกาศตนเป็นอุบาสก แล้วจึงบรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่อไปตามลำดับ และในการประกาศตนเป็นอุบาสก มีขั้นตอน 3 ขั้นตอนคือ การรับไตรสรณคมน์(ตฺริศรณคมน) ประกาศตนเป็นอุบาสก(อุปาสก) สมาทานศีล ๕ (ปญฺจศิกฺษาปท)

การสมาทานศีล๕

หลังจากผู้ปฏิญาณรับไตรสรณคมน์ การประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว ให้เรียกพระภิกษุจากท่านผู้เจริญ เป็นพระอาจารย์ และต่อไปให้ให้กล่าวว่า

————————–——-
ต้นฉบับอักษรเทวนาครีและโรมัน
ปริวรรตอักษรไทย คงรูปและปรับรูป(อ่านแบบง่าย) แปลไทย
————————–——-

समन्वाहर आचार्य यथा ते आर्या अर्हन्तो यावज्जीवं प्राणातिपातं प्रहाय प्राणातिपातात् प्रतिविरताः

(samanvāhara ācārya yathā te āryā arhanto yāvajjīvaṃ prāṇātipātaṃ prahāya prāṇātipātāt prativiratāḥ)

—————

สมนฺวาหร อาจารฺย ยถา เต อารฺยา อรฺหนฺโต ยาวชฺชีวํ ปฺราณาติปาตํ ปฺรหาย ปฺราณาติปาตาตฺ ปฺรติวิรตาะ

[อ่านว่า]

[สะมันวาหะระ อาจารยะ ยะถา เต อารยา อรรหันโต ยาวัชชีวัม ปราณาติปาตัม ประหายะ ปราณาติปาตาต ประติวิระตาห์]

************

[แปล]

—- ข้าแต่พระอาจารย์ ขอจงโปรดทราบ จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอริยะ พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น ท่านละเว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว




एवम् एवाहम् एवंनामा यावज्जीवं प्राणातिपातं प्रहाय प्राणातिपातात् प्रतिविरमाम्यनेनाहं प्रथमेनाङ्गेन तेषाम् आर्याणाम् अर्हतां शिक्षायाम् अनुशिक्षे अनुविधीये अनुकरोमि

(evam evāham evaṃnāmā yāvajjīvaṃ prāṇātipātaṃ prahāya prāṇātipātāt prativiramāmyanenāhaṃ prathamenāṅgena teṣām āryāṇām arhatāṃ śikṣāyām anuśikṣe anuvidhīye anukaromi)

—————

เอวมฺ เอวาหมฺ เอวํนามา ยาวชฺชีวํ ปฺราณาติปาตํ ปฺรหาย ปฺราณาติปาตาตฺ ปฺรติวิรมามฺยเนนาหํ ปฺรถเมนางฺเคน เตษามฺ อารฺยาณามฺ อรฺหตํา ศิกฺษายามฺ อนุศิเกฺษ อนุวิธีเย อนุกโรมิ

[อ่านว่า]

[เอวัม เอวาหัม เอวันนามา ยาวัชชีวัม ปราณาติปาตัม ประหายะ ปราณาติปาตาต ประติวิระมามยะเนนาหัม ประถะเมนางเคนะ เตษาม อารยาณาม อรรหะตาม ศิกษายาม อะนุศิกเษ อะนุวิธีเย อะนุกะโรมิ]

************

[แปล]

—- แม้น ข้าพเจ้าผู้มีนามว่า …… ก็จักละการฆ่าสัตว์มีชีวิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต

ด้วยองค์คุณอันเป็นเบื้องต้นนี้ ข้าพเจ้าจักศึกษาฝึกฝนตาม ประพฤติตาม และจักเจริญตามรอยพระอริยะ พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้




यथा ते आर्या अर्हन्तो यावज्जीवम् अदत्तादानं काममिथ्याचारं मृषावादं सुरामैरेयमद्यप्रमादस्थानं प्रहाय सुरामैरेयमद्यप्रमादस्थानात् प्रतिविरताः

(yathā te āryā arhanto yāvajjīvam adattādānaṃ kāmamithyācāraṃ mṛṣāvādaṃ surāmaireyamadyapramādasthānaṃ prahāya surāmaireyamadyapramādasthānāt prativiratāḥ)

—————

ยถา เต อารฺยา อรฺหนฺโต ยาวชฺชีวมฺ อทตฺตาทานํ กามมิถฺยาจารํ มฤษาวาทํ สุราไมเรยมทฺยปฺรมาทสฺถานํ ปฺรหาย สุราไมเรยมทฺยปฺรมาทสฺถานาตฺ ปฺรติวิรตาะ

[อ่านว่า]

[ยะถา เต อารยา อรรหันโต ยาวัชชีวัม อะทัตตาทานัม กามะมิถยาจารัม มฤษาวาทัม สุราไมเรยะมัทยะประมาทัสถานัม ประหายะ สุราไมเรยะมัทยะประมาทัสถานาต ประติวิระตาห์]

************

[แปล]

—- จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิต พระอริยะ พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้น ท่านได้ :

ละการลักขโมยแล้ว
ละการประพฤติผิดในกามแล้ว
ละการพูดเท็จแล้ว
ละการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว

ท่าน เว้นขาดจากสิ่งเหล่านั้นแล้ว มีการละเว้นการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นอาทิ




एवम् एवाहम् एवंनामा यावज्जीवम् अदत्तादानं काममिथ्याचारं मृषावादं सुरामैरेयमद्यप्रमादस्थानं प्रहाय सुरामैरेयमद्यप्रमादस्थानात् प्रतिविरमाम्यनेनाहं पञ्चमेनाङ्गेन तेषाम् आर्याणाम् अर्हतां शिक्षायाम् अनुशिक्षे अनुविधीये अनुकरोमि

(evam evāham evaṃnāmā yāvajjīvam adattādānaṃ kāmamithyācāraṃ mṛṣāvādaṃ surāmaireyamadyapramādasthānaṃ prahāya surāmaireyamadyapramādasthānāt prativiramāmyanenāhaṃ pañcamenāṅgena teṣām āryāṇām arhatāṃ śikṣāyām anuśikṣe anuvidhīye anukaromi)

—————

เอวมฺ เอวาหมฺ เอวํนามา ยาวชฺชีวมฺ อทตฺตาทานํ กามมิถฺยาจารํ มฤษาวาทํ สุราไมเรยมทฺยปฺรมาทสฺถานํ ปฺรหาย สุราไมเรยมทฺยปฺรมาทสฺถานาตฺ ปฺรติวิรมามฺยเนนาหํ ปญฺจเมนางฺเคน เตษามฺ อารฺยาณามฺ อรฺหตํา ศิกฺษายามฺ อนุศิเกฺษ อนุวิธีเย อนุกโรมิ

[อ่านว่า]

[เอวัม เอวาหัม เอวันนามา ยาวัชชีวัม อะทัตตาทานัม กามะมิถยาจารัม มฤษาวาทัม สุราไมเรยะมัทยะประมาทัสถานัม ประหายะ สุราไมเรยะมัทยะประมาทัสถานาต ประติวิระมามยะเนนาหัม ปัญจะเมนางเคนะ เตษาม อารยาณาม อรรหะตาม ศิกษายาม อะนุศิกเษ อะนุวิธีเย อะนุกะโรมิ]

************

[แปล]

—- แม้น ข้าพเจ้าผู้มีนามว่า …… ก็จัก
ละการลักขโมย
ละการประพฤติผิดในกาม
ละการพูดเท็จ
ละการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

จักเว้นขาดจากสิ่งเหล่านั้นแล้ว มีการละเว้นการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นอาทิ นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต

ด้วยองค์คุณทั้ง ๕ นี้ ข้าพเจ้าจักศึกษาฝึกฝนตาม ประพฤติตาม และจักเจริญตามรอยพระอริยะ พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้



เมื่อกล่าว สมาทานศีลเสร็จแล้ว พระภิกษุจะกล่าวว่า

औपयिकं (aupayikaṃ)
เอาปยิกํ (เอาปะยิกัม)

-ชอบดีแล้ว

ผู้ปฏิญาณ กล่าวรับว่า

साधु (sādhu)
– สาธุ

เมื่อกล่าวเสร็จ เป็นอันเสร็จพิธีปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ผู้ปฏิญาณเป็นอุบาสกโดยสมบูรณ์


 

หมายเหตุ 

त्रिशरणगमन (triśaraṇagamana)
ตฺริศรณคมน (ตริศะระณะคะมะนะ)

ภาษาไทยใช้คำว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ที่พึ่งหรือสรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสิ่งที่พุทธศาสนาทุกนิกายต้องนับถือเป็นเบื้องต้น


उपासक (upāsaka)
อุปาสก(อุปาสะกะ)

ภาษาไทยใช้คำว่า อุบาสก แปล ผู้อยู่ใกล้ ใกล้ในที่นี้หมายถึง ใกล้พระรัตนตรัย ส่วนผู้หญิงเรียกว่า อุบาสิกา ในความหมายทั่วๆไป อาจหมายถึง คฤหัสถ์หรือผู้ครองเรือนที่นับถือพุทธศาสนาก็ได้


पञ्चशिक्षापद (pañcaśikṣāpada)
ปญฺจศิกฺษาปท (ปัญจะศิกษาปะทะ)

ภาษาไทยใช้คำว่า ศีล ๕ บทบัญญัติเบื้องต้นที่พุทธศาสนิกพึงศึกษาเพื่อจะฝึกและปฏิบัติ เป็นข้อที่ควรงดเว้น ๕ ประการ


หมายเหตุ : ไตรสรณคมน์ในฝ่ายบาลีนั้นมักไม่ขยายความต่อ แต่ก็ปรากฏสำนวนดังกล่าวในฝ่ายบาลีเช่นกัน ตัวอย่าง

วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ :
บรรดาธรรม วิราคธรรมประเสริฐที่สุด

ทิปทานญฺจ จกฺขุมา :
บรรดาสัตว์สองเท้า ตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐที่สุด

สงฺเฆ คณวรุตฺตเม :
พระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด



บรรดาสัตว์สองเท้า อรรถฝ่ายบาลีว่า ได้ แก่ มนุษย์และเทวดา
วิราคธรรม หรือธรรมอันปราศจากราคะ อรรถว่า ได้แก่ พระนิพพาน


 

อ้างอิง




คัมภีร์อุปสัมปทัชนัปติ ภาษาสันสกฤต
http://buddhist-db.de/sanskrit-html/gretil-original/upsmpjnu.htm
คัมภีร์ภิกษุกรรมวากยะ ภาษาสันสกฤต
http://buddhist-db.de/sanskrit-html/bsa068_u.html
คัมภีร์ภิกฺษุณีกรรมวาจนา ภาษาสันสกฤต
http://buddhist-db.de/sanskrit-html/gretil-original/bhikavau.htm
คัมภีร์ประวรัชยาวัสตุ วินยวัสตุ ภาษาธิเบตแปลอังกฤษ
http://read.84000.co/
http://gretil.sub.uni-goettingen.de/gretil/1_sanskr/4_rellit/buddh/vinv01_u.htm

Loading

Be the first to comment on "การปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ฝ่ายสันสกฤต ที่ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยนิกายมูลสรรวาสติวาท"

Leave a comment