สวัสตยยนคาถา คาถาแห่งความสุขสวัสดี หรือ รัตนปริตร ฉบับภาษาสันสกฤต

แบ่งปันในสังคมออนไลน์

สวัสตยยนคาถา คาถาแห่งความสุขสวัสดี
หรือ รัตนปริตร ฉบับภาษาสันสกฤต

พวกเจ้าลิจฉวี นิมนต์พระพุทธเจ้ามา เพื่อโปรดชาวเมืองเวสาลี (ไวศาลี)


รัตนสูตร หรือ สวัสตยยนคาถา เป็นบทร้อยกรองกล่าวอย่าง สัจจกิริยา คือพรรณนาคุณความจริง โดยมีเนื้อหากล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยและคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยะบุคคล และอาศัยอานุภาพของสัจจะความจริงนี้ ก่อให้เกิดความสุขสวัสดี


จุดประสงค์ของการประกาศพระสูตรนี้ ตามความในหลักฐานบาลีและสันสกฤต กล่าวตรงกันว่าว่า ก็เพื่อโปรดชาวเมืองเวสาลี (ไวศาลี) ให้รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงที่กำลังรุมเร้าโดยเฉพาะโรคระบาด ภัยแล้ง และการกันดารอาหาร โดยเป็นการให้กำลังใจชาวเมืองทั้งหลาย ในตัวเนื้อความเป็นบทเทศนาให้ชาวเมือง มีสรณะอันมั่นคงในพระรัตนตรัย เพื่อมีกำลังใจต่อสู้กับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และส่วนหนึ่งยังเป็นเทศนาให้ภิกษุ เป็นวิธีการปฏิบัติธรรมให้ถึงความเป็นอริยบุคคล


รัตนปริตร จัดเป็นหนึ่งในพระปริตรที่มีมาจาก รัตนสูตร เป็นพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ และยังปรากฏในหมวดสุตตนิบาต เป็นพระคาถาจำนวน 17 บท ยังมีอรรถกถาอธิบาย ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรกถาขุททกนิกาย


รัตนปริตร นี้ปรากฏในพากย์ภาษาสันสกฤต ปรากฏในคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน และ คัมภีร์มหาสาหัสรประมรรทนี ฝ่ายมนตรยาน และมีอ้างอิงถึงใน คัมภีร์ทิวยาวทานของฝ่ายนิกายสรรวาสติวาท ยังปรากฎฉบับแปลภาษาทิเบต สวัสตยยนคาถา (བདེ་ལེགས་སུ་འགྱུར་བའི་ཚིགས་སུ་བཅད་པ། · bde legs su ‘gyur ba’i tshigs su bcad pa) ฉบับแปลภาษาจีนในเอโกตตริกาคม

โดยเฉพาะในคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน เรียกรัตนปริตร ว่า สวัสตยยนคาถา เช่นกัน แปลว่า “คาถาแห่งความสุขสวัสดี” แต่มีสำนวนบางส่วนแตกต่างจาก รัตนปริตร บ้างเล็กน้อย


ในฝ่ายเถรวาทแบบลังกา รัตนสูตร จัดเป็นหนึ่งในพระปริตร หรือพระคาถาพรรณนาอานุภาพของพระรัตนตรัย โดยได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในคาถาหลักใน คัมภีร์จตุภารณวารปาฬี ซึ่งเป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ในศาสนาพุทธในลังกา รวบรวมขึ้นในช่วงยุคที่พระพุทธศาสนากำลังรุ่งเรืองในลังกา และแพร่เข้ามาในอุษาคเนย์รวมในไทยอีกด้วย


รัตนปริตร ภาษาสันสกฤตที่จะนำเสนอในที่นี้ จะเสนอ สวัสตยยนคาถา ในคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน ในฉบับชำระ ซึ่งต้นฉบับคัมภีร์มหาวัสตุอวทานในส่วนคาถาที่ ๔ ชำรุดไป นักวิชาการใด้เติมเข้ามาโดยอาศัยเทียบจาก ฉบับจีน ทิเบต บาลีและสันสกฤตอื่นๆ

คัมภีร์ศรีมหาวัสตุอวทาน นี้เป็นส่วนหนึ่งในพระวินัยปิฏกที่ท่องจำสืบต่อกันมาในเหล่าภิกษุนิกายอารยมหาสังฆิกะ สำนักโลโกตตรวาท บันทึกโดยใช้ ภาษาสันสกฤตแบบผสมในพุทธศาสนา สวัสตยยนคาถา ปรากฏใน มหาวัสตุอวทาน ประถมขัณฑ์ เรื่องพระพุทธเจ้าประทับในเมืองไวศาลี (มหาวสฺตุอวทานมฺ ปฺรถมะ ขณฺฑะ : สมฺยกฺสํพุทฺธสฺย ไวศาลฺยามุปสฺถิติะ)

บทแปลไทย โดย รศ.ดร. สำเนียง เลื่อมใส จากหนังสือมหาวัสตุอวทาน ๑ ฉบับแปลไทย
สวัสตยยนคาถา


อถ ภควานนุปูรฺเวณ ไวศาลีมนุปฺราปฺตะ ๚ ภควํา ทานิ ไวศาลีเย สาภฺยนฺตรพาหิราเย สฺวสฺตฺยยนํ กโรติ ฯ สฺวสฺตฺยยนคาถํา ภาษติ ๚

อะถะ ภะคะวานะนุปูรเวณะ ไวศาลีมะนุปราปตะห์ ๚ ภะคะวาม ทานิ ไวศาลีเย สาภยันตะระพาหิราเย สวัสตยะยะนัม กะโรติ ฯ สวัสตยะยะนะคาถาม ภาษะติ ๚

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จถึงเมืองไวศาลีตามลําดับ ครั้งนั้น พระองค์ทรงทําความ สุขสวัสดีให้เกิดขึ้นทั้งภายในเมืองและภายนอกเมืองไวศาลีแล้ว ได้ตรัสแสดงคาถาว่าด้วยความสุขสวัสดี


#คาถาที่๑

นโม’สฺตุ พุทฺธาย นโม’สฺตุ โพธเย นโม วิมุกฺตาย นโม วิมุกฺตเย
นโม’สฺตุ ชฺญานสฺย นโม’สฺตุ ชฺญานิโน โลกาคฺรเศฺรษฺฐาย นโม กโรถ ๚๑๚


นะโมสตุ พุทธายะ นะโมสตุ โพธะเย นะโม วิมุกตายะ นะโม วิมุกตะเย
นะโมสตุ ชญานัสยะ นะโมสตุ ชญานิโน โลกาคระเศรษฐายะ นะโม กะโรถะ ๚๑๚

ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่การตรัสรู้ ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ผู้หลุดพ้นแล้ว ขอความนอบน้อมจงมีแด่ความหลุดพ้น ขอความนอบน้อมจงมีแด่ความรู้แจ้ง ขอความนอบน้อมจงมีแด่ ผู้มีความรู้แจ้ง ท่านทั้งหลาย จงทําความนอบน้อมแด่ พระผู้เลิศและประเสริฐที่สุดในโลก

#คาถาที่๒

ยานีห ภูตนิ สมาคตานิ ภูมฺยานิ วา ยานิ ว อนฺตรีกฺเษ ฯ
สรฺวาณิ วา อาตฺตมนานิ ภูตฺวา ศฤณฺวนฺตุ สฺวสฺตฺยยนํ ชิเนน ภาษิตํ ๚๒๚


ยานีหะ ภูตะนิ สะมาคะตานิ ภูมยานิ วา ยานิ วะ อันตะรีกเษ
สรรวาณิ วา อาตตะมะนานิ ภูตวา ศฤณวันตุ สวัสตยะยะนัม ชิเนนะ ภาษิตัม ๚๒๚

ภูตเหล่าใดมาประชุมกันในที่นี้ หรือภูมมเทวดาและอากาศเทวดาเหล่าใดมาประชุมกันในที่นี้ ขอภูตและเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดจงมีจิตใจดีงาม และจงฟังความสุขสวัสดีที่พระชินเจ้าทรงประกาศ

#คาถาที่๓

อิมสฺมิํ วา โลเก ปรสฺมิํ วา ปุนะ สฺวรฺเคษุ วา ยํ รตนํ ปฺรณีตํ
น ตํ สมํ อสฺติ ตถาคเตน เทวาติเทเวน นโรตฺตเมน
อิมํ ปิ พุทฺเธ รตนํ ปฺรณีตํ เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๓๚


อิมัสมิม วา โลเก ปะรัสมิม วา ปุนะห์ สวรรเคษุ วา ยัม ระตะนัม ประณีตัม
นะ ตัม สะมัม อัสติ ตะถาคะเตนะ เทวาติเทเวนะ นะโรตตะเมนะ
อิมัม ปิ พุทเธ ระตะนัม ประณีตัม เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๓๚

รัตนะใดเป็นรัตนะอันประณีตในโลกนี้ ในโลกหน้า หรือในสวรรค์ทั้งหลาย รัตนะนั้นยังไม่เสมอเหมือนกับพระตถาตค ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้ประเสริฐสูงสุดยิ่งกว่านระ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีทั้งจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๔

[กฺษยํ วิราคํ อมฤตํ ปฺรณีตํ ยทธฺยคาตฺ ศากฺยมุนิะ สมาหิตะ ฯ
น เตน ธรฺเมณ สมมสฺติ กิญฺจิตฺ ] อิทํ ปิ ธรฺเม รตนํ ปฺรณีตํ
เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๔๚


[กษะยัม วิราคัม อะมฤตัม ประณีตัม ยะทัธยะคาต ศากยะมุนิห์ สะมาหิตะห์ ฯ
นะ เตนะ ธรรเมณะ สะมะมัสติ กิญจิต ] อิทัม ปิ ธรรเม ระตะนัม ประณีตัม
เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๔๚

พระศากยมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่นได้ทรงบรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นกิเลส ปราศจากราคะ เป็น อมตะและประณีต ธรรมชาติใดๆ ที่เสมอด้วยธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๕

ยํ พุทฺธเศฺรษฺโฐ ปริวรฺณเย ศุจิํ ยมาหุ อานนฺตริยํ สมาธิํ
สมาธิโน ตสฺย สโม น วิทฺยเต ฯ อิทํ ปิ ธรฺเม รตนํ ปฺรณีตํ
เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๕๚

ยัม พุทธะเศรษโฐ ปะริวรรณะเย ศุจิม ยะมาหุ อานันตะริยัม สะมาธิม
สะมาธิโน ตัสยะ สะโม นะ วิทยะเต อิทัม ปิ ธรรเม ระตะนัม ประณีตัม
เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๕๚

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสูงสุดทรงสรรเสริญสมาธิใดว่าเป็นธรรมอันสะอาด และบัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงสมาธิใดว่าให้ผลในเร็วพลัน สมาธิอื่นที่เสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๖

เย ปุทฺคลา อษฺฏ สทา ปฺรศสฺตา จตฺวาริ เอตานิ ยุคานิ โภนฺติ
เต ทกฺษิณียา สุคเตน อุกฺตาะ เอตานิ ทินฺนานิ มหตฺผลานิ
อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๖๚

เย ปุทคะลา อัษฏะ สะทา ประศัสตา จัตวาริ เอตานิ ยุคานิ โภนติ
เต ทักษิณียา สุคะเตนะ อุกตาห์ เอตานิ ทินนานิ มะหัตผะลานิ
อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๖๚

บุคคล ๔ พวก และ ๔ คู่เหล่าใดเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญยกย่องตลอดเวลา บุคคลเหล่านั้น พระสุคตตรัสว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน ทานที่ให้แก่ท่านเหล่านั้นย่อมผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์


#คาถาที่๗

สรฺไวว ยสฺย ทรฺศนสํปทาโย ตฺรโย’สฺย ธรฺมา ชหิตา ภวนฺติ
สตฺกายทฤษฺฏี วิจิกิตฺสิตํ จ ศีลวฺรตํ จาปิ ยทสฺติ กิํจิตฺ
อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๗๚

สรรไววะ ยัสยะ ทรรศะนะสัมปะทาโย ตระโยสยะ ธรรมา ชะหิตา ภะวันติ
สัตกายะทฤษฏี วิจิกิตสิตัม จะ ศีละวระตัม จาปิ ยะทัสติ กิญจิต
อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๗๚

ผู้ใดถึงพร้อมด้วยความเห็นชอบทั้งหมด ผู้นั้นย่อมละธรรม (สังโยชน์) ๓ ได้ คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) และ สีลัพพตปรามาส (การยึดถือศีลพรตโดยสักว่าทําตามกันไปอย่างงมงาย)
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๘

กิํ จาปิ ไศกฺโษ ปฺรกโรติ ปาปํ กาเยน วาจา ยถ เจตสาปิ
อภวฺโย โส ตสฺย นิคูหนาย อภวฺยตา ทฤษฺฏปเถษุ อุกฺตา
อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๘๚

กิม จาปิ ไศกโษ ประกะโรติ ปาปัม กาเยนะ วาจา ยะถะ เจตะสาปิ
อะภะวโย โส ตัสยะ นิคูหะนายะ อะภะวยะตา ทฤษฏะปะเถษุ อุกตา
อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๘๚

เมื่อพระเสขบุคคลทําบาปกรรมใดๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ เขาไม่ควรปกปิด บาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในหนทางที่ชัดเจน สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๙

ยถา อินฺทฺรกีโล ปฤถิวีสนฺนิศฺริโต สฺยา จตูรฺภิ วาเตหิ อสํปฺรกมฺปิ
ตโถปมํ สตฺปุรุษํ วเทมิ โย อารฺยสตฺยานิ สุเทศิตานิ
คมฺภีร -อรฺถานิ อเวตฺย ปศฺยติ ฯ อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ
เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๙๚

ยะถา อินทระกีโล ปฤถิวีสันนิศริโต สยา จะตูรภิ วาเตหิ อะสัมประกัมปิ
ตะโถปะมัม สัตปุรุษัม วะเทมิ โย อารยะสัตยานิ สุเทศิตานิ
คัมภีระ -อรรถานิ อะเวตยะ ปัศยะติ อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม
เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๙๚

เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะลมจากทิศทั้ง ๔ ฉันใด ผู้ที่พิจารณาเห็นอริยสัจ ซึ่งมีเนื้อหาลึกซึ้งอันตถาคตแสดงไว้ดีแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่าผู้ไม่หวั่นไหวฉันนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๑๐

เย อารฺยสตฺยานิ วิภาวยนฺติ คมฺภีรปฺรชฺเญน สุเทศิตานิ
กิํ จาปิ เต โภนฺติ ภฤศํ ปฺรมตฺตา น เต ภวํา อษฺฏ อุปาทิยนฺติ
อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๐๚

เย อารยะสัตยานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปรัชเญนะ สุเทศิตานิ
กิม จาปิ เต โภนติ ภฤศัม ประมัตตา นะ เต ภะวาม อัษฏะ อุปาทิยันติ
อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๐๚

พระอริยบุคคลเหล่าใดทําให้แจ่มแจ้งในอริยสัจที่พระศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วด้วย ปัญญาอันลึกซึ้ง แม้ว่าพระอริยบุคคลเหล่านั้นจะประมาทอย่างแรงกล้า แต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่ยึดถือเอาภพทั้งแปด สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๑๑

เย ยุกฺตโยคี มนสา สุจฺฉนฺทสา ไนษฺกฺรมฺยิโณ เคาตมศาสนสฺมิํ
เต ปฺราปฺติปฺราปฺตา อมฤตํ วิคาหฺย วิมุกฺตจิตฺตา นิรฺวฤติํ ภุํชมานา
อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๑๚

เย ยุกตะโยคี มะนะสา สุจฉันทะสา ไนษกรัมยิโณ เคาตะมะศาสะนัสมิม
เต ปราปติปราปตา อะมฤตัม วิคาหยะ วิมุกตะจิตตา นิรวฤติม ภุญชะมานา
อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๑๚

พระอริยบุคคลเหล่าใดเป็นผู้หมั่นประกอบความเพียร มีจิตมุ่งมั่นแต่ในความดี เป็นผู้ สละโลกออกบวชในศาสนาของพระเคาตมะ ท่านเหล่านั้นเมื่อได้บรรลุเป้าหมายสูงสุด บรรลุถึงอมตธรรมและมีจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมได้รับความดับทุกข์ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๑๒

กฺษีณํ ปุราณํ นโว นาสฺติ สํจโย วิมุกฺตา อายติเก ภวสฺมิํ
เต กฺษีณพีชา อวิรูฒิธรฺมา นิรฺวานฺติ ธีรา ยถ ไตลทีปา
อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๒๚

กษีณัม ปุราณัม นะโว นาสติ สัญจะโย วิมุกตา อายะติเก ภะวัสมิม
เต กษีณะพีชา อะวิรูฒิธรรมา นิรวานติ ธีรา ยะถะ ไตละทีปา
อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๒๚

พระอริยบุคคลเหล่าใดมีกรรมเก่าหมดสิ้นแล้ว ไม่สั่งสมกรรมใหม่อีก ทั้งเป็นผู้หลุดพ้นแล้วในภพต่อไป ท่านเหล่านั้นเมื่อมีพีชหมดสิ้นแล้ว ไม่มีธรรมที่ทําให้งอกงาม เป็นผู้มีปัญญา ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปที่หมดน้ำมันเชื้อเพลิง สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ อันประเสริฐด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๑๓

อคฺนิรฺ ยถา ปฺรชฺวลิโต นิษีเท อินฺธนกฺษยา ศามฺยติ เวคชาโต
เอวํวิธํ ธฺยายิโน พุทฺธปุตฺราะ ปฺรชฺญาย ราคานุศยํ คฺรเหตฺวา
อทรฺศนํ มฤตฺยุราชสฺย ยานฺติ อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๓๚

อัคนิร ยะถา ปรัชวะลิโต นิษีเท อินธะนักษะยา ศามยะติ เวคะชาโต
เอวัมวิธัม ธยายิโน พุทธะปุตราห์ ปรัชญายะ ราคานุศะยัม คระเหตวา
อะทรรศะนัม มฤตยุราชัสยะ ยานติ อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๓๚

ไฟที่ลุกโชติช่วงในเวลากลางคืน เมื่อลุกไหม้อย่างหนักแล้วย่อมดับลงเพราะหมดสิ้น เชื้อเพลิงฉันใด พุทธบุตรทั้งหลายผู้มีความเพียรเพ่ง (มีฌาน) ครั้นย่ำยีที่อยู่อาศัย ของราคะด้วยปัญญาแล้วย่อมบรรลุถึงการไม่ต้องพบกับพญามัจจุราชอีก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์ และอมนุษย์

#คาถาที่๑๔

คฺรีษฺมาณมาเส ปฺรถเม ไจตฺรสฺมิํ วเน ปฺรคุลฺมา ยถ ปุษฺปิตาคฺรา
วาเตริตา เต สุรภิํ ปฺรวานฺติ เอวํวิธํ ธฺยายิโน พุทฺธปูตฺราะ
ศีเลนุเปตา สุรภิํ ปฺรวานฺติ อิทํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ
เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๔๚

ครีษมาณะมาเส ประถะเม ไจตรัสมิม วะเน ประคุลมา ยะถะ ปุษปิตาครา
วาเตริตา เต สุระภิม ประวานติ เอวัมวิธัม ธยายิโน พุทธะปูตราห์
ศีเลนุเปตา สุระภิม ประวานติ อิทัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม
เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๔๚

พุ่มไม้ในป่ามียอด (ดอก) ผลิบานในเดือนไจตระซึ่งเป็นดือนแรกของฤดูร้อน เมื่อถูกลมพัดย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายฉันใด พุทธบุตรทั้งหลายผู้มีความเพียรเพ่ง (มีฌาน) และประกอบด้วยศีลย่อมส่งกลิ่นหอมฉันนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๑๕

ยานีห ภูตานิ สมาคตานิ ภูมฺยานิ วา ยานิ ว อนฺตรีกฺเษ
ไมตฺรีกโรนฺตุ สท มนุษฺยกา ปฺรชา ทิวํ จ ราตฺริํ จ หรนฺติ โว พลิํ
ตสฺมาทฺธิ ตํ รกฺษถ อปฺรมตฺตา มาตา ว ปุตฺรํ อนุกมฺปมานา
เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๕๚

ยานีหะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภูมยานิ วา ยานิ วะ อันตะรีกเษ
ไมตรีกะโรนตุ สะทะ มะนุษยะกา ประชา ทิวัม จะ ราตริม จะ หะรันติ โว พะลิม
ตัสมาทธิ ตัม รักษะถะ อะประมัตตา มาตา วะ ปุตรัม อะนุกัมปะมานา
เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๕๚

ภูต ภูมมเทวดา และอากาศเทวดาเหล่าใดมาประชุมกันในที่นี้ ขอภูตและเทวดา เหล่านั้นจงทําความเมตตาต่อปวงประชาทั้งหลาย พวกเขาจะนําเครื่องพลีไปให้พวกท่านทั้งกลางวันและกลางคืน ฉะนั้น พวกท่านจงรักษามนุษย์ด้วยความไม่ประมาท เหมือนมารดาให้ความอนุเคราะห์บุตรด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๑๖

วิปศฺยิสฺมิํ วิศฺวภุวิ กฺรกุจฺฉนฺเท ภามกนกมุนิสฺมิํ กาศฺยเป
มหายเศ ศากฺยมุนิสฺมิํ เคาตเม เอเตหิ พุทฺเธหิ มหรฺทฺธิเกหิ
ยา เทวตา สนฺติ อภิปฺรสนฺนา วาฒํ ปิ ตํ รกฺษยนฺตุ จ กโรนฺตุ
สฺวสฺตฺยยนํ มานุษิกปฺรชาเย ตสฺมา หิ ตํ รกฺษถ อปฺรมตฺตา
มาตา ว ปุตฺรํ อนุกมฺปมานา [เอตํ ปิ สํเฆ รตนํ ปฺรณีตํ]
เอเตน สตฺเยน สุสฺวสฺติ โภตุ มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๖๚

วิปัศยิสมิม วิศวะภุวิ กระกุจฉันเท ภามะกะนะกะมุนิสมิม กาศยะเป
มะหายะเศ ศากยะมุนิสมิม เคาตะเม เอเตหิ พุทเธหิ มะหรรทธิเกหิ
ยา เทวะตา สันติ อะภิประสันนา วาฒัม ปิ ตัม รักษะยันตุ จะ กะโรนตุ
สวัสตยะยะนัม มานุษิกะประชาเย ตัสมา หิ ตัม รักษะถะ อะประมัตตา
มาตา วะ ปุตรัม อะนุกัมปะมานา [เอตัม ปิ สังเฆ ระตะนัม ประณีตัม]
เอเตนะ สัตเยนะ สุสวัสติ โภตุ มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๖๚

ขอให้เทวดาทั้งหลายผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าผู้มีอํานาจยิ่งใหญ่เหล่านี้ คือ พระวิปัสยิน พระวิศวภูวิ พระกระกุจฉันทะ พระภามกนกมุนี พระกาศยปะ และพระเคาตมศากยมุนี ผู้มียศยิ่งใหญ่ จงเฝ้ารักษามนุษย์อย่างเข้มแข็ง จงทําความสุขสวัสดีให้แก่มนุษย์และหมู่สัตว์ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงรักษามนุษย์ด้วย ความไม่ประมาท เหมือนมารดาให้ความอนุเคราะห์บุตร (สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต) ด้วยความจริงนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีจากมนุษย์และอมนุษย์

#คาถาที่๑๗

โย ธรฺมจกฺรํ อภิภูย โลกํ ปฺรวรฺตยติ สรฺวภูตนุกมฺปิตํ
เอตาทฤศํ เทวมนุษฺยเศฺรษฺฐํ พุทฺธํ นมสฺยามิ สุสฺวสฺติ โภตุ
ธรฺมํ นมสฺยามิ สุสฺวสฺติ โภตุ สํฆํ นมสฺยามิ สุสฺวสฺติ โภตุ
มนุษฺยโต วา อมนุษฺยโต วา ๚๑๗๚

โย ธรรมะจะกรัม อะภิภูยะ โลกัม ประวรรตะยะติ สรรวะภูตะนุกัมปิตัม
เอตาทฤศัม เทวะมะนุษยะเศรษฐัม พุทธัม นะมัสยามิ สุสวัสติ โภตุ
ธรรมัม นะมัสยามิ สุสวัสติ โภตุ สังฆัม นะมัสยามิ สุสวัสติ โภตุ
มะนุษยะโต วา อะมะนุษยะโต วา ๚๑๗๚

ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ ผู้ทรงชนะโลก แล้วหมุนวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปเพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวงเช่นนั้น ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดจากมนุษย์และอมนุษย์

จบ สวัสตยยนคาถา



หากผู้ที่สนใจ “มหาวัสตุอวทาน” ฉบับแปลไทย เล่ม ๑ เล่ม ๒ และเล่ม ๓ (ประกอบด้วย บทแปล และบทปริวรรตภาษาสันสกฤต อักษรไทย) ติดต่อ รศ.ดร.สำเนียง เลื่อมใส ได้โดยตรงที่ https://www.facebook.com/samniang.leurmsai.3

Loading

Be the first to comment on "สวัสตยยนคาถา คาถาแห่งความสุขสวัสดี หรือ รัตนปริตร ฉบับภาษาสันสกฤต"

Leave a comment